คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม

 

การมีบ้าน ถือเป็นความใฝ่ฝันของใครหลายคน ไม่เพียงแต่เป็นการมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง แต่ยังเป็นการลงทุนให้กับตัวคุณเองรวมถึงครอบครัว แต่การซื้อบ้านอาจไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องใช้เงินจำนวนมาก การขอสินเชื่อธนาคาร จึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดที่จะช่วยสานฝันให้คุณได้มีบ้านดังที่ใจหวัง แน่นอนว่าหลายคนคงมีคำถามว่า ผ่อนบ้านลดภาษีได้ไหม ลดได้เท่าไหร่ ผ่อนบ้านอย่างไรให้คุ้มค่าที่สุด วันนี้เราจะมาแนะนำเทคนิคการลดภาษีโดยใช้ดอกเบี้ยบ้านเป็นค่าลดหย่อน ที่สามารถทำได้จริง 

 

ดอกเบี้ยบ้าน คืออะไร ลดหย่อนภาษีได้ไหม?

ก่อนที่เราจะไปแนะนำเทคนิคลดหย่อนภาษีผ่อนบ้าน เรามาพูดถึง ดอกเบี้ยบ้าน กันสักเล็กน้อย ดอกเบี้ยบ้าน คือค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการกู้เงินซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัย ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์โฮม รวมถึง ที่ดิน ซึ่งสามารถใช้เป็นค่าลดหย่อนภาษีเงินได้ตามจริง โดยต้องเป็นการกู้เงินจากสถาบันทางการเงินในประเทศ ซึ่งการลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยบ้านมีเงื่อนไขและข้อจำกัดที่ควรรู้เช่น

  • ต้องเป็นการกู้ซื้อบ้านจากสถาบันทางการเงิน 

  • การกู้ซื้อบ้าน ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่ออยู่อาศัย หรือสร้างบ้านบนที่ดินของตนเองเท่านั้น กล่าวคือ ที่ดินที่มีสิทธิครอบครอง

  • จะต้องใช้บ้านที่ซื้อเป็นหลักประกันการกู้ยืมเงิน หากมีผู้กู้ร่วม การลดหย่อนจะต้องแบ่งสัดส่วนตามสัดส่วนการผ่อนชำระ

  • ต้องใช้บ้านเป็นที่อยู่อาศัยในปีที่ขอหักลดหย่อน

     

ดอกเบี้ยบ้านคิดอย่างไร คิดกี่เปอร์เซ็นต์ต่อปี

โดยทั่วไปแล้ว ดอกเบี้ยบ้านที่แต่ละสถาบันทางการเงินให้กู้มักจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น เงินดาวน์ ประเภทของบ้าน ระยะเวลาผ่อนชำระ สถานะทางการเงินของผู้กู้ และประเภทสินเชื่อ ซึ่งสถาบันการเงินจะมีวิธีการคิด ดอกเบี้ยบ้าน อยู่สองแบบ คือ

 

1. ดอกเบี้ยคงที่ (Fixed Rate)

เป็นอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดแบบตายตัว ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดสัญญาหรือในช่วงเวลาที่กำหนด เช่นช่วง 3 ปีแรก 5 ปีแรก เป็นต้น

 

2. ดอกเบี้ยลอยตัว (Floating Rate)

เป็นอัตราดอกเบี้ยที่มีการปรับขึ้นลงตามต้นทุนของสถาบันการเงินหรือสถานการณ์ตลาดการเงิน ซึ่งจะอ้างอิงจากระดับของ MRR หรือ MLR ที่เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บจากลูกค้ากล่าวคือ

  • MRR (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายย่อยชั้นดี ไม่มีประวัติเสียทางด้านการเงิน

  • MLR (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำที่ธนาคารเรียกเก็บจากลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ในที่นี้หมายถึง มีประวัติการเงินดี หลักทรัพย์ค้ำประกันเพียงพอ โดยมักจะใช้กับเงินกู้ระยะยาวที่กำหนดระยะเวลาแน่นอน

     

 

ลดภาษีบ้านหลังแรก คืออะไร ลดได้เท่าไหร่? 

สำหรับใครก็ตามที่ขอสินเชื่อเพื่อกู้ซื้อบ้านหลังแรก และต้องการใช้สิทธิลดหย่อนภาษี การลดภาษีบ้านหลังแรก คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษีที่รัฐบาลมอบให้กับใครก็ตามที่ขอสินเชื่อซื้อบ้านหลังแรก ไม่ว่าจะเป็นบ้านพร้อมที่ดิน ทาวน์โฮม บ้านเดี่ยว บ้านแฝด นอกจากจะได้เป็นเจ้าของบ้านตามที่ใจต้องการแล้ว ยังสามารถลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในแต่ละปีได้อีกด้วย โดยสามารถนำดอกเบี้ยบ้านมาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี เรียกได้ว่าการลดภาษีบ้านหลังแรกช่วยแบ่งเบาภาระได้อย่างมาก มาดูกันว่าการลดภาษีบ้านหลังแรก ทำได้อย่างไร ลดหย่อนภาษีได้เท่าไหร่ 

 

กรณีกู้ซื้อบ้านคนเดียว 

สมมุติว่าถ้าเราต้องจ่ายดอกเบี้ยบ้านเดือนละ 10,000 บาทต่อเนื่อง 12 เดือน จะเป็นเงิน 120,000 บาท แต่จ่ายจริงหลังลดหย่อน จะอยู่ที่สูงสุด 100,000 บาท เป็นต้น ซึ่งวิธีการคิดการหักลดหย่อน จะคิดเฉพาะส่วนดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเท่านั้น เงินต้นไม่คิด

 

กรณีกู้ร่วม

จะต้องแบ่งค่าลดหย่อนให้กับผู้ยื่นกู้ร่วมเท่ากัน และไม่เกิน 100,000 บาท เช่น สามี ภรรยา ยื่นกู้ซื้อบ้านร่วมกัน โดยมีการจ่ายดอกเบี้ยบ้านตลอด 12 เดือนเป็นเงิน 120,000 บาท โดยจะได้ลดหย่อนรวมสูงสุด 100,000 บาท ทั้งสามี และ ภรรยา จะได้ลดหย่อนคนละครึ่งคือ 50,000 บาท เป็นต้น

 

เทคนิคการลดหย่อนภาษีด้วยดอกเบี้ยบ้าน มีอะไรบ้าง

การลดหย่อนภาษีจากดอกเบี้ยผ่อนบ้าน เป็นหนึ่งในวิธีที่จะช่วยประหยัดเงินไม่มากก็น้อย หากใครที่กำลังจะใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี นี่คือเทคนิคดี ๆ ที่เราขอแนะนำ

 

1. เลือกประเภทของสินเชื่อที่เหมาะสม

การเลือกประเภทของสินเชื่อที่เหมาะสม มีผลอย่างมากต่อการผ่อนชำระ และการลดหย่อนภาษี โดยทั่วไปประเภทของสินเชื่อบ้านที่ผู้ให้กู้มักจะให้เลือก จะมีทั้ง ดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่ และ ดอกเบี้ยบ้านแบบลอยตัว 

โดยแต่ละประเภทจะมีข้อดี ข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนี้

  • ดอกเบี้ยคงที่ : ข้อดีคือมีความแน่นอนในการผ่อนชำระ คุณสามารถจ่ายค่าผ่อนและดอกเบี้ยไปตามจำนวนที่ตกลงไว้ ไม่ต้องกังวลว่าดอกเบี้ยจะขึ้นหรือลง แต่ข้อเสียคือ คุณจะไม่ได้ประโยชน์จากราคาดอกเบี้ยในตลาดที่ถูกลง

  • ดอกเบี้ยลอยตัว : คุณจะได้ประโยชน์จากราคาดอกเบี้ยในตลาดที่ถูกลง ข้อดีคือจ่ายค่าผ่อนและดอกเบี้ยไปตามการปรับขึ้นลงของผู้ให้กู้ แต่ข้อเสียคือ คุณจะไม่ได้รับความแน่นอนในการผ่อนชำระ เพราะจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ดอกเบี้ยจะขึ้นสูง

     

2. เลือกระยะเวลาผ่อนชำระที่เหมาะสม

โดยทั่วไป ทางธนาคารจะกำหนดระยะเวลาผ่อนชำระตั้งแต่ 15 ปี ไปจนถึงสูงสุดที่ 40 ปี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสินเชื่อแต่ละธนาคาร โดยระยะเวลาการกู้เมื่อรวมกับอายุผู้กู้จะต้องไม่เกิน 70 ปี เคล็ดไม่ลับผ่อนบ้านให้หมดไวทำได้โดย 

  • โปะเพิ่มช่วง 3 ปีแรก

กล่าวคือในช่วง 3 ปีแรกของการผ่อนบ้านถือเป็นช่วงโปรโมชันของหลายสถาบันทางการเงิน ที่อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่อยู่อาศัยมักจะต่ำที่สุด นับเป็นโอกาสที่ดีที่เราจะสามารถโปะเงินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพราะนอกจากจะทำให้จำนวนเงินต้นลดแล้ว ดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายในช่วงหลังจากนี้ก็จะลดลงไปด้วย

  • โปะเพิ่มปีละครั้ง

เป็นวิธีการลดเงินต้นและดอกเบี้ยด้วยการจ่ายก้อนเดียว เช่น ถ้าเราจ่ายค่างวดเดือนละ 10,000 บาท ใน 11 งวดแรก งวดที่ 12 อาจจะจ่ายเพิ่ม 50,000 บาท เป็นต้น

 

ไม่เพียงเท่านี้ ยังมีเทคนิคอื่น ๆ ที่สามารถช่วยคุณประหยัดภาษีได้มากขึ้น เช่น เลือกซื้อบ้านที่ราคาไม่แพง เพราะค่าลดหย่อนจะอยู่ในอัตราส่วนต่อราคาบ้าน หรือจะเป็นการเลือกซื้อบ้านในพื้นที่ที่มีค่าภาษีต่ำ ซึ่งจะช่วยลดภาระการชำระภาษีในระยะยาว  

 

 

และนี่คือ เทคนิคดี ๆ ในการลดหย่อนภาษีด้วยดอกเบี้ยบ้าน ซึ่งเราสามารถนำไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ใครก็ตามที่กำลังมีแพลนซื้อบ้าน ก็สามารถนำเทคนิคดังกล่าวไปใช้เพื่อประหยัดเงินในกระเป๋าของคุณเอง

 

หากคุณกำลังมองหา สินเชื่อบ้าน ดี ๆ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มีหลากหลายสินเชื่อบ้านที่น่าสนใจ อาทิ โฮมโลนฟอร์ยู สินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน หรือ สร้างบ้านบนที่ดินของตนเอง ผ่อนชำระง่าย ๆ ด้วยยอดเงินที่เท่ากันทุกเดือน หรือจะเป็น สินเชื่อบ้านรีไฟแนนซ์ สำหรับใครก็ตามที่อยากลดภาระการผ่อนจ่าย ช่วยทำให้คุณมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.cimbthai.com

 


#Financial Guru

คุณอาจสนใจ