คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม

 

การแต่งงาน เป็นช่วงเวลาสำคัญของคนสองคนที่จะเริ่มต้นชีวิตคู่ร่วมกัน เปรียบเหมือนเป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ซึ่งมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายมากมายที่ต้องเตรียมการอย่างดี การวางแผนการเงินก่อนแต่งงานจึงมีความสำคัญ เพราะช่วยให้คู่รักสามารถควบคุมงบประมาณ และหลีกเลี่ยงปัญหาทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต การแต่งงานใช้เงินเท่าไหร่ การวางแผนการเงินทั้งก่อนและหลังแต่งงานควรทำอย่างไรมาดูกัน

 

ทำไมต้องวางแผนการเงินก่อนแต่งงาน

การแต่งงาน ไม่ว่าจะงานเล็กหรืองานใหญ่ การวางแผนการเงินก่อนแต่งงานเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้คู่รักเริ่มต้นชีวิตคู่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

 

1. ค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแต่งงาน

  • สถานที่จัดงาน : ไม่ว่าจะเป็นโรงแรม ร้านอาหาร หรือสถานที่จัดเลี้ยงนอกสถานที่ ราคาจะแตกต่างกันตามขนาด จำนวนแขก และสถานที่จัดงานที่คุณเลือก

  • ชุดแต่งงานและเครื่องประดับ : ค่าใช้จ่ายสำหรับชุดเจ้าสาวและเจ้าบ่าวรวมถึงเครื่องประดับ ราคาจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสไตล์ การออกแบบ

  • การถ่ายภาพและวิดีโอ : เพื่อเก็บบันทึกความทรงจำที่สำคัญเอาไว้ การบันทึกภาพและวิดีโอเป็นสิ่งที่หลายคู่ให้ความสำคัญ โดยค่าใช้จ่ายสำหรับช่างภาพและวิดีโอมืออาชีพจะแตกต่างกันไปตามแพ็กเกจและความชำนาญ

  • อาหารจัดเลี้ยง : ราคาจะขึ้นอยู่กับจำนวนแขก ประเภทของอาหาร และสไตล์การจัดเลี้ยง เช่น โต๊ะจีน บุฟเฟต์ หรือค็อกเทล

นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น การ์ดเชิญและของชำร่วย, ดอกไม้สำหรับตกแต่งงานแต่งงานให้สวยงามตามธีมที่ต้องการ เป็นต้น

 

2. ตั้งงบประมาณสำหรับการแต่งงาน

การแต่งงานขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็น งบประมาณ รูปแบบการจัดงาน จำนวนแขกของทั้งสองฝ่าย ฯลฯ การแต่งงานเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่สำคัญที่สุดในชีวิตคู่ แต่การจัดงานแต่งงานนั้นมีรายละเอียดมากมาย โดยเฉพาะเรื่อง ค่าใช้จ่าย โดยการจัดงานแต่งจะแบ่งรูปแบบเป็น 3 ประเภท ดังนี้

 

2.1 การจัดงานแต่งงานขนาดเล็ก

จำนวนแขก : 20-50 คน

ค่าใช้จ่าย : 30,000 - 50,000 บาท

งานแต่งงานขนาดเล็ก เหมาะสำหรับคู่รักที่ต้องการงานแต่งงานที่เรียบง่าย อบอุ่น เป็นกันเอง รูปแบบงานมักจัดในสถานที่ที่มีบรรยากาศส่วนตัว เช่น สวน ร้านอาหาร หรือที่บ้านของฝ่ายเจ้าบ่าว หรือเจ้าสาว ค่าใช้จ่ายโดยรวมจะไม่สูงมาก เหมาะกับคู่รักที่มีงบประมาณจำกัด

 

2.2 การจัดงานแต่งงานขนาดกลาง

จำนวนแขก: 50-100 คน

ค่าใช้จ่าย: 50,000 - 200,000 บาท

งานแต่งงานขนาดกลาง เหมาะสำหรับคู่รักที่ต้องการงานแต่งงานที่มีทั้งความเรียบง่ายและความพิเศษ รูปแบบงานมักจัดในสถานที่ที่มีขนาดใหญ่กว่างานแต่งงานขนาดเล็ก เช่น โรงแรม รีสรอร์ท หรือหอประชุม 

 

2.3 การจัดงานแต่งงานขนาดใหญ่

จำนวนแขก: 100 คนขึ้นไป

ค่าใช้จ่าย: 200,000 บาทขึ้นไป

 

สำหรับคู่บ่าวสาวที่มีงบประมาณเพียงพอต่อการจัดงานแต่งงานขนาดใหญ่ รวมถึงจำนวนแขกที่มากกว่า 100 คน ถือเป็นรูปแบบที่เหมาะสม โดยรูปแบบงานมักจัดในสถานที่ที่มีขนาดใหญ่ เช่น โรงแรม หอประชุมขนาดใหญ่ หรือสนามกีฬา ค่าใช้จ่ายก็จะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น สถานที่จัดงาน ค่าจ้างวงดนตรี ค่าอาหารจัดเลี้ยง ฯลฯ

 

ทั้งนี้ งบประมาณจะบานปลายหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดงาน สถานที่ รวมถึงจำนวนแขก ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือ การวางแผนร่วมกัน เลือกรูปแบบงานที่เหมาะกับทั้งคู่ และอย่าลืมเผื่อค่าใช้จ่ายฉุกเฉินไว้ด้วย

 

 

การวางแผนการเงินระยะยาวหลังแต่งงาน

จบงานแต่งงานอันแสนชื่นมื่น ก็ได้เวลาที่บ่าวสาวจะเริ่มต้นใช้ชีวิตคู่จริงจังแล้ว การวางแผนการเงินสำหรับใช้ชีวิตหลังแต่งจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อให้คุณทั้งคู่สามารถสร้างความมั่นคงทางการเงินและพร้อมรับมือกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาการเงิน

 

1. การกำหนดเป้าหมายทางการเงินร่วมกัน

ควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายทางการเงินร่วมกัน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เช่น การออมเงินสำหรับซื้อบ้าน การวางแผนการมีบุตร หรือการเกษียณ เป้าหมายที่ชัดเจนจะช่วยให้คุณทั้งคู่สามารถวางแผนและใช้จ่ายได้อย่างเป็นระบบ

  • ระยะสั้น : เช่น การออมเงินสำหรับการเดินทางท่องเที่ยว การซื้อรถ หรือการชำระหนี้สินที่มีอยู่

  • ระยะยาว : การลงทุนเพื่อการเกษียณ การซื้อบ้าน หรือการเตรียมเงินสำหรับการศึกษาของบุตร

 

2. การจัดการบัญชีและการเงินร่วมกัน

คู่รักสามารถเลือกจัดการบัญชีการเงินได้หลายวิธี บางคู่เลือกเปิดบัญชีร่วม ในขณะที่บางคู่ยังคงแยกบัญชีส่วนตัวแล้วแบ่งค่าใช้จ่ายกันอย่างชัดเจน วิธีที่คุณเลือกควรสอดคล้องกับความต้องการและสไตล์การใช้จ่ายของแต่ละคน

  • บัญชีร่วม: ช่วยให้การจัดการค่าใช้จ่ายภายในบ้านเป็นไปอย่างสะดวก และสามารถแบ่งปันความรับผิดชอบทางการเงินร่วมกันได้

  • บัญชีแยก: การรักษาความเป็นอิสระทางการเงินสามารถช่วยให้ทั้งสองฝ่ายรู้สึกว่ามีพื้นที่ส่วนตัวในการใช้จ่าย แต่ควรมีข้อตกลงชัดเจนในการแบ่งค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายในบ้าน ค่าผ่อนบ้าน หรือค่าบุตร

 

3. ควรมีเงินสำรองยามฉุกเฉิน

การมีเงินสำรองหรือกองทุนฉุกเฉินเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคู่รัก เพื่อรองรับสถานการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น การเจ็บป่วย การตกงาน หรือเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ ควรมีเงินเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายอย่างน้อย 3-6 เดือน เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างไม่ต้องกังวล

 

4. การจัดการหนี้สิน

หนี้สินเป็นส่วนหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในชีวิตคู่ ไม่ว่าจะเป็นหนี้สินเชื่อบุคคล สินเชื่อบ้าน รถยนต์ หรือ การใช้บัตรเครดิต เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางการเงินในระยะยาว ควรมีแผนการชำระหนี้ที่ชัดเจน รวมถึงการหลีกเลี่ยงการสร้างหนี้สินเพิ่มเติมโดยไม่จำเป็น

 

5. การลงทุนและการวางแผนการออม

การวางแผนการเงินระยะยาวไม่ใช่แค่การออมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการลงทุนเพื่อเพิ่มมูลค่าของเงิน เช่น การลงทุนในหุ้น พันธบัตร หรือกองทุนรวม ซึ่งช่วยให้เงินออมของคุณเติบโตได้ในระยะยาว การวางแผนการออมและการลงทุนควรสอดคล้องกับเป้าหมายและระดับความเสี่ยงที่คุณทั้งสองยอมรับได้

  • การออมเงิน: การตั้งเป้าหมายการออมเงินเดือนละจำนวนหนึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางการเงิน

  • การลงทุน: การศึกษาการลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ต้องการ เช่น การซื้อหุ้น ตราสารหนี้ หรือกองทุนรวม

     

 

สำหรับใครก็ตามที่กำลังวางแผนการเงินสำหรับใช้เพื่อการแต่งงาน แต่งงานใช้เงินเท่าไหร่ ลองนำข้อมูลจากบทความนี้ไปปรับใช้กันดูนะ อย่างไรก็ตาม การวางแผนการเงินระยะยาวหลังแต่งงาน ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การจัดการบัญชีและหนี้สิน การออมเงินและการลงทุน จะช่วยให้คุณทั้งคู่สามารถสร้างความมั่นคงทางการเงินได้อย่างมั่นใจ

 

ให้งานแต่งงานของคุณเป็นไปได้อย่างราบรื่นไม่สะดุด ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ขอแนะนำ สินเชื่อบุคคล เพอร์ซันนัลแคช เงินก้อนพร้อมใช้ ให้ทุกความฝันได้เป็นจริง ยอดผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือน แบบลดต้นลดดอก กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว สมัครได้ผ่านแอป CIMB THAI อนุมัติไว ได้เงินเร็ว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง CIMB Thai Care Center 02 626 7777 หรือ คลิกที่นี่

 


คุณอาจสนใจ