คำนิยาม
"จรรยาบรรณ" หมายถึง แนวทางปฏิบัติที่ดีในการดำเนินธุรกิจ
"ธนาคาร" หมายถึง ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
"กรรมการ ผู้บริหาร" หมายถึง กรรมการ ผู้บริหารตามสายงานของธนาคาร
"ผู้บังคับบัญชา" หมายถึง ผู้บังคับบัญชาตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของธนาคาร
"พนักงาน" หมายถึง พนักงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของธนาคาร
"คู่ค้า" หมายถึง ผู้จัดหาสินค้าและบริการให้กับธนาคาร
"ลูกค้า" หมายถึง ผู้ใช้บริการของธนาคาร
"ผู้มีส่วนได้เสีย" หมายถึง ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ถือหุ้น พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ คู่แข่งทางการค้า ภาครัฐ ตลอดจนองค์กรอื่นๆ ในสังคม
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจถือเป็นส่วนสำคัญในการกำกับดูแลกิจการ ที่ดี ธนาคารจึงมีหลักการจรรยาบรรณ 11 ประการ เพื่อให้กรรมการธนาคาร และพนักงานทุกระดับ ยึดเป็นกรอบในการปฏิบัติร่วมกัน ดังนี้
- ลูกค้า
ธนาคารมุ่งมั่นในการปกป้องผลประโยชน์ของ ลูกค้าตลอดเวลา เอาใจใส่ รับผิดชอบ และสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าด้วยการนำเสนอบริการและผลิตภัณฑ์ที่มี คุณภาพและมีประสิทธิภาพ
- ผู้ถือหุ้น
ธนาคารมุ่งมั่นให้มีการดำเนินธุรกิจอย่าง มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โปร่งใส เกิดผลการดำเนินงานที่ สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง มั่นคงและเหมาะสมแก่ผู้ถือหุ้น ตลอดจนพยายามอย่างเต็มที่ในการรักษาไว้ซึ่งทรัพย์สิน ชื่อเสียง และภาพลักษณ์ที่ดีของธนาคาร
- พนักงาน
ธนาคารถือว่าพนักงานทุกคนเป็นทรัพยากรที่มี ค่าอย่างยิ่ง จึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถของพนักงานให้มีความก้าว หน้า มีความมั่นคงในอาชีพและให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมตามความรู้ความสามารถและผลการ ปฏิบัติงาน
- คู่ค้า/ เจ้าหนี้
ธนาคารยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจ ด้วยความซื่อสัตย์ อยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามสัญญาและภายใต้เงื่อนไขทางธุรกิจที่เป็นธรรม และเสมอภาคต่อคู่ค้า/ เจ้าหนี้
- ความซื่อสัตย์ ยุติธรรม และมีคุณธรรมในวิชาชีพ
ธนาคาร มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจรรยาบรรณในการดำเนินงาน โดยยึดหลักความเสมอภาคในการให้บริการอย่างแน่วแน่ ไม่ช่วยเหลือหรือสมยอมให้เกิดการละเมิดกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ
- ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ความรับผิดชอบ ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในนโยบายของธนาคารที่จะตอบแทนต่อสังคม ธนาคารจึงมุ่งปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด, ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนให้มีกิจกรรมเพื่อสังคมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมโดยรวม
- ความรับผิดชอบต่อคู่แข่งขันทางการค้า
ธนาคารมีนโยบาย ส่งเสริมการแข่งขันภายใต้กรอบกติกาที่เป็นธรรม โปร่งใส ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต และไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งด้วยการกล่าวร้าย หรือกระทำการใดๆ ที่ปราศจากความจริง หรือไม่เป็นธรรม
- การรักษาความลับของลูกค้า
ธนาคารสร้างความเชื่อมั่น ให้แก่ลูกค้า โดยปกป้องและรักษาข้อมูลของลูกค้าไว้เป็นความลับ โดยไม่เปิดเผยข้อมูลของลูกค้านอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก ลูกค้าหรือเป็นกรณีที่จำเป็นต้องเปิดเผยตามที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้เท่านั้น
- ความรู้ ความสามารถในการประกอบธุรกิจ
ธนาคารจะดำเนิน ธุรกิจในระดับเดียวกับผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพ โดยให้มีการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักวิชาการอย่างมีประสิทธิภาพ ผสมผสานด้วยความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการใช้ผู้เชี่ยวชาญในวิชาชีพในการให้บริการแก่ลูกค้า เพื่อบรรลุผลในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร และเกิดประโยชน์ต่อลูกค้ามากที่สุด
- ยึดถือ และปฏิบัติตามกฎข้อบังคับอย่างเคร่งครัด
ธนาคาร ยึดมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างตรงไปตรงมา โดยการดำเนินธุรกิจของธนาคารจะตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานของทางการ จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และข้อพึงปฏิบัติที่ดีของพนักงาน เพื่อประโยชน์ของลูกค้า และผู้ใช้บริการมากที่สุด
- การให้ความร่วมมือต่อองค์กรที่กำกับดูแล
ธนาคารมีนโย บายให้ความร่วมมือต่อองค์กรที่กำกับดูแลธนาคารอย่างเต็มที่ โดยธนาคารจะรายงานข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศต่อองค์กรที่กำกับดูแลอย่างถูกต้อง ครบถ้วน ทันเวลา และสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจของธนาคารเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการ ที่ดี
จรรยาบรรณต่อผู้มีส่วนได้เสีย
ธนาคารตระหนึกถึงความสำคัญของสิทธิผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น คณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ และภาครัฐ จึงได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับจรรยาบรรณต่อผู้มีส่วนได้เสีย ดังนี้
1. ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ตลอดจนตัดสินใจดำเนินการใดๆ ด้วยความเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้นโดยรวม
- บริหารจัดการให้ธนาคารมีความเจริญเติบโตอย่างมั่นคงและมีเสถียรภาพ และสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นอย่างต่อเนื่องในระยะยาว
- รายงานสถานะภาพและแนวโน้มการดำเนินธุรกิจในอนาคตของธนาคารต่อผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ ครบถ้วนตามความเป็นจริง
- ไม่แสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูลใดๆ ของธนาคาร ที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณะชน นำไปเปิดเผยต่อบุคคลภายนอก หรือดำเนินการใดๆ ในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับธนาคาร
2. ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
- มุ่งมั่นให้ลูกค้าได้รับประโยชน์และสร้างความพึงพอใจโดยการนำ เสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีอย่างมีคุณภาพ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยความรวดเร็ว ตรงต่อเวลา
- ปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลง หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่มีต่อลูกค้าอย่างเคร่งครัด หากไม่สามารถปฏิบัติได้ ต้องรีบแจ้งให้ลูกค้าทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมหาแนวทางแก้ไขไม่ให้เกิดความเสียหาย
- ให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และบริการที่ถูกต้อง เพียงพอ และทันต่อเหตุการณ์ เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจ โดยไม่กล่าวเกินความเป็นจริง อันเป็นเหตุให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับคุณภาพ หรือเงื่อนไขใดๆ ของสินค้าหรือบริการ
- ให้ความสำคัญในการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับของลูกค้า ไม่นำความลับของลูกค้าไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองและผู้ที่เกี่ยวข้อง
- จัดให้มีช่องทางและกระบวนการให้ลูกค้าร้องเรียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และการให้บริการ โดยดำเนินการตอบสนองความต้องการได้อย่างรวดเร็ว
- ไม่เรียก ไม่รับ หรือไม่ให้ผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตกับลูกค้า
3. ความรับผิดชอบต่อคู่ค้า
- ปฏิบัติต่อคู่อย่างเสมอภาคและเป็นธรรมและตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรมต่อทั้งสองฝ่าย
- ปฏิบัติตามสัญญา หรือเงื่อนไขต่างๆ ที่ตกลงกันไว้อย่างเคร่งครัด กรณีไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ต้องรีบแจ้งให้ทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมหาแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหา
- ไม่เรียก ไม่รับ หรือ ไม่ให้ผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตทางการค้ากับคู่ค้า
- จัดให้มีกระบวนการคัดเลือกคู่ค้าที่โปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ พร้อมทั้งปฏิบัติตามระเบียบ ขั้นตอนการจัดหาของธนาคารในเรื่องการคัดเลือกและการประเมินผู้ขายอย่างเคร่งครัด
4. ความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้
- ปฏิบัติตามสัญญา หรือเงื่อนไขต่างๆ ต่อเจ้าหนี้ อย่างเคร่งครัด หากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ ผูกพันในสัญญา ต้องแจ้งเจ้าหนี้ให้ทราบล่วงหน้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขปัญหา
- รายงานฐานะทางการเงินภายใต้สถานะตามเหตุการณ์อย่างครบถ้วน และถูกต้อง
- ไม่เรียก ไม่รับ หรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในการติดต่อกับเจ้าหนี้
5. ความรับผิดชอบต่อคู่แข่งทางการค้า
- ประพฤติ ปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาการแข่งขันที่ดี
- ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้า ด้วยวิธีการที่ไม่สุจริต หรือไม่เหมาะสม
- ไม่พยายามทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางร้าย โดยปราศจากซึ่งมูลความจริง
6. ความรับผิดชอบต่อพนักงาน
- ปฏิบัติตามกฎหมาย และระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพนักงานอย่างเคร่งครัด
- ปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนโดยเสมอภาคกัน ไม่แบ่งแยกพื้นฐานในเรื่องเชื้อชาติ เพศ สีผิว ศาสนา ชาติกำเนิด อายุ ความพิการทางร่างกาย หรือลักษณะส่วนบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
- การแต่งตั้งโยกย้าย การให้รางวัลและการลงโทษ รวมทั้งสวัสดิการ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ความสามารถและความเหมาะสม รวมทั้งการกระทำ หรือ ผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
- ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ และมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทาง และการแก้ไขปัญหา ร่วมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากพนักงานทุกระดับ อย่างเท่าเทียม และเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติ
- ดูแลเอาใจใส่และให้ความสำคัญต่อการพัฒนา การถ่ายทอดความรู้และความสามารถของพนักงานให้มีความก้าวหน้า และมั่นคงในอาชีพ
- ดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของพนักงานอยู่เสมอ
7. ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฎหมาย และข้อบังคับเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ดูแลด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ
- ปลูกฝังและส่งเสริมพนักงานให้มีจิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
- ให้ความสำคัญกับกิจกรรมของชุมชน และสังคม มุ่งเน้นให้เกิดการพัฒนาสังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ศาสนา และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการสนับสนุนการศึกษาแก่เยาวชน และกิจกรรมสาธารณประโยชน์แก่ชุมชุมที่ด้อยโอกาส
จรรยาบรรณของกรรมการและผู้บริหาร
ธนาคารมุ่งหวังให้กรรมการ และผู้บริหาร แสดงถึงเจตนารมณ์ในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร อย่างโปร่งใส และมีคุณธรรม ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานด้านจริยธรรมที่สูงที่สุดด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ระมัดระวัง และรอบคอบ เพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม จึงกำหนดจรรยาบรรณใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติสำหรับกรรมการ และผู้บริหาร ดังนี้
1. ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
2. ดำเนินกิจการของธนาคาร ด้วยความซื่อสัตย์ ยุติธรรม โปร่งใสและมีคุณธรรม
3. ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเต็มความสามารถ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของธนาคาร
4. มีความเป็นอิสระในด้านการตัดสินใจ และการกระทำที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง
5. ปฏิบัติหน้าที่ โดยหลีกเลี่ยงความขัดแย้งทางผลประโยชน์ส่วนตนต่อผลประโยชน์ของธนาคาร เพื่อให้การบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และโปร่งใส รวมถึง
- ไม่หาผลประโยชน์จากการเป็นกรรมการหรือผู้บริหาร หรือใช้ข้อมูลที่ได้รับจากการเป็น กรรมการหรือผู้บริหาร เพื่อผลประโยชน์ทางการเงินส่วนตน และไม่ใช้ข้อมูลนั้นเพื่อประโยชน์ทางการเงินของผู้อื่น
- ไม่ใช้ความลับของธนาคารในทางที่ผิด
- ไม่เป็นกรรมการในบริษัทที่เป็นคู่แข่งขันของธนาคาร
- ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียในการทำสัญญา
- ไม่รับสิ่งของ หรือผลประโยชน์อื่นใด อันเป็นการขัดผลประโยชน์ของธนาคารเพื่อ ประโยชน์ส่วนตนและบุคคลในครอบครัว
6. ไม่มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียในกิจการที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยว ข้องกับธนาคาร หรือในกิจการที่ มีลักษณะเป็นการแข่งขันกับธนาคาร ทั้งนี้ไม่ว่าโดยทางตรง หรือโดยทางอ้อม
7. รักษาข้อมูลที่เป็นความลับของธนาคาร และผู้มีส่วนได้เสียไม่ให้รั่วไหลไปยังบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ธนาคารหรือผู้มีส่วนได้เสีย
จรรยาบรรณพนักงาน
ธุรกิจธนาคาร เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตราสารและบริการทางการเงิน ซึ่งต้องดำเนินอยู่บนพื้นฐานของความน่าเชื่อถือและได้รับความไว้วางใจจากทาง การและประชาชนทั่วไป ดังนั้น พนักงานธนาคารควรมีจรรยาบรรณเพื่อยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้
การปฏิบัติต่อตนเอง
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรม มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
- ศึกษาหาความรู้และขยันหมั่นเพียรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
- ใช้วิชาความรู้ในการปฏิบัติงานอาชีพอย่างเต็มกำลังความสามารถ ไม่แสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ
- ยึดมั่นในคุณธรรม ละเว้นจากอบายมุขทั้งปวง ไม่ประพฤติตนในทางที่อาจทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเอง
- หลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ อันอาจกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของธนาคาร หรือเป็นปัญหาเสื่อมเสียต่อองค์กรในภายหลัง
- ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตน หรือยินยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม แสวงหาประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น
การปฏิบัติต่อลูกค้า
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต และเที่ยงธรรม มีจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ
- ศึกษาหาความรู้และขยันหมั่นเพียรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มทักษะในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
- ใช้วิชาความรู้ในการปฏิบัติงานอาชีพอย่างเต็มกำลังความสามารถ ไม่แสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบ
- ยึดมั่นในคุณธรรม ละเว้นจากอบายมุขทั้งปวง ไม่ประพฤติตนในทางที่อาจทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงของตนเอง
- หลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ อันอาจกระทบต่อชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของธนาคาร หรือเป็นปัญหาเสื่อมเสียต่อองค์กรในภายหลัง
- ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตน หรือยินยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม แสวงหาประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น
การปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน
- สนับสนุนให้เกิดความสามัคคี มีการทำงานเป็นทีม ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือเกื้อกูลในการทำงานซึ่งกันและกันในทางที่ชอบเพื่อประโยชน์ต่องาน ของธนาคาร ปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษย์สัมพันธ์อันดี และให้เกียรติต่อกัน
- มีทัศนคติที่ดีต่อผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา และผู้ร่วมงาน ไม่กล่าวร้ายหรือวิพากษ์วิจารณ์โดยปราศจากความจริงและไม่เป็นธรรม หรือกระทำอันก่อให้เกิดความแตกแยกกันในหมู่คณะ
- พึงมีสัมมาคารวะและให้เกียรติต่อผู้บังคับบัญชาและผู้มีตำแหน่งสูงกว่า ไม่กระทำการใดๆ ที่ผิดขั้นตอน หรือข้ามสายการบังคับบัญชา
- ไม่กระทำการล่วงเกิน คุกคามด้วยพฤติกรรม หรือ ด้วยวาจา ทำให้เกิด หรือ ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญทางเพศต่อพนักงาน หรือต่อผู้ใต้บังคับบัญชา
- รับฟังความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับงานในหน้าที่ของผู้ใต้บังคับบัญชาและบุคคลอื่น และพิจารณานำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่องานของธนาคาร
- ไม่ประพฤติตนไปในทางที่นำความเสื่อมเสีย หรือนำความเสียหายมาสู่หมู่คณะหรือธนาคาร
การปฏิบัติต่อองค์กร
- สนับสนุนนโยบายของธนาคาร และปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน ระเบียบงาน ประกาศ คำสั่งใดๆ ข้อกำหนด และมติคณะกรรมการ หรือหนังสือเวียนของธนาคาร โดยเคร่งครัด
- ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมในการกระทำหรือ ปกปิดการกระทำใดๆ ที่ผิดกฎหาย
- ปฏิบัติงานของธนาคารให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ หรือผลเสียหายที่จะมีต่อธนาคารเป็นสำคัญ
- มุ่งรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์สูงสุดของธนาคาร ติดตามผลงานที่ทำ และรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบโดยเร็ว ในเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน หรือชื่อเสียง หรือผลประโยชน์ของธนาคาร
- มีทัศนคติที่ดี ไม่กล่าวร้ายต่อธนาคารโดยปราศจากความจริงและไม่เป็นธรรม รักษาชื่อเสียงและเกียรติภูมิของธนาคาร ตลอดจนระมัดระวังการแสดงความเห็นต่อบุคคลภายนอกในเรื่องที่อาจกระทบกระเทือน ต่อชื่อเสียงและการดำเนินงานของธนาคาร
- ไม่ประกอบกิจการหรือลงทุนใดๆ อันเป็นการแข่งขัน หรือเป็นเหตุให้เกิดการขัดผลประโยชน์กับธนาคาร หรือเป็นพนักงานประจำหรือพนักงานชั่วคราวในองค์กรอื่นที่ดำเนินกิจการใน ลักษณะเดียวกันหรือคล้ายคลึงกัน หรือบริษัทที่เป็นคู่แข่งขัน หรือมีผลประโยชน์ขัดแย้งกับธนาคาร
- ให้ความร่วมมือ ดูแล รักษา ระมัดระวัง และใช้ทรัพย์สินของธนาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุด และไม่สิ้นเปลืองสูญเปล่าตลอดจนไม่ให้เสื่อมเสียเร็วกว่ากำหนดหรือสูญหาย
การปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- ช่วยเหลือ และสนับสนุนกิจกรรมที่ธนาคารได้จัดขึ้นเพื่อการสังคมต่างๆ อย่างต่อเนื่องทั้งโครงการระยะสั้นและโครงการระยะยาวที่สนับสนุนทั้งองค์กร ภาครัฐและภาคเอกชนในด้านการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และกีฬา
- ปฏิบัติหน้าที่ด้วยจิตสำนึกรับผิดชอบต่อสภาพแวดล้อมและสังคม คำนึงถึงผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมของธนาคารเป็นสำคัญ
การใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ของธนาคาร
- ห้ามไม่ให้พนักงานใช้ข้อมูลภายภายในอันเป็นสาระสำคัญต่อการ เปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของธนาคารที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ให้แก่ตนเอง หรือให้แก่ผู้อื่นโดยมิชอบ
- ในการได้มาหรือจำหน่ายไปหลักทรัพย์อื่นใดของธนาคาร ให้ปฏิบัติตามระเบียบงานที่ เรื่อง การกำกับดูแลการใช้ข้อมูลภายในเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ของธนาคาร
การใช้ทรัพย์สินขององค์กร
- พนักงานต้องงดเว้นการใช้ทรัพย์สิน อุปกรณ์และเวลาปฏิบัติงานของธนาคารเพื่อประโยชน์ส่วนตน ตลอดจนงดเว้นการนำตำแหน่งหน้าที่ และความเกี่ยวข้องกับธนาคารของตนไปแสดงออก เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ผลประโยชน์ทางการเมืองหรือเพื่อสนับสนุนพรรคการเมืองใดๆ
- พนักงานต้องไม่เจตนาทำลายหรือทำให้ทรัพย์สินของธนาคารเสียหาย
- พนักงานต้องไม่หาประโยชน์ส่วนตนจากทรัพย์สินของธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ของธนาคาร เพื่อกิจธุระส่วนตัว การนำทรัพย์สินไปขาย ให้ยืม จำนำ จำนอง หรือ จำหน่ายจ่ายโอนโดยไม่ได้รับอนุญาต
- ในการจัดซื้อ เก็บรักษาและจำหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สิน ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบ และวิธีปฏิบัติที่ธนาคารกำหนด
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- พนักงานต้องยึดถือประโยชน์ของธนาคาร ภายใต้ความถูกต้องตามกฎหมาย และจริยธรรม ไม่มีการเอื้อประโยชน์หรือให้สิทธิพิเศษแก่บุคคลใดเพื่อให้ตนได้รับประโยชน์ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
- ต้องไม่กระทำการใดๆ อันเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของธนาคารไม่ว่าจะเกิดจากการติดต่อกับผู้เกี่ยว ข้องทางการค้าของธนาคาร เช่น คู่ค้า คู่แข่ง หรือจากการใช้โอกาส หรือที่ได้ข้อมูลจากการเป็นพนักงานในการหาประโยชน์ส่วนตน และในเรื่องการทำธุรกิจที่แข่งกับธนาคาร หรือการทำงานอื่นนอกเหนือจากงานของธนาคาร ซึ่งส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของธนาคาร
- ต้องเปิดเผยสถานะส่วนตัวหรือธุรกรรมใด ๆ ที่อาจให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือทำให้เกิดความเข้าใจว่ามีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
การรักษาความลับของธนาคาร
- รักษาความลับของธนาคาร ดูแลและระมัดระวังมิให้เอกสารหรือข่าวสารอันเป็นความลับของธนาคารรั่วไหล รวมทั้งการไม่ให้ข่าวสารหรือเอกสารใดที่ไม่พึงเปิดเผยแก่บุคคลที่ไม่เกี่ยว ข้อง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากธนาคาร
- ไม่นำเอกสาร หรือข้อมูลของลูกค้าไปใช้เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือบุคคลอื่น
- ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นความลับของธนาคาร
- ไม่เปิดเผยค่าจ้าง เงินเดือน เงินรางวัลพิเศษ หรืออัตราการขึ้นเงินเดือนของตนเองหรือของบุคคลอื่น ให้ผู้ที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องทราบ
- กรณีที่พนักงานได้รับการร้องขอให้เปิดเผยข้อมูลความลับของ ลูกค้า ของธนาคาร ของตนเองหรือของบุคคลอื่น จะต้องรายงานให้ผู้บังคับบัญชาระดับผู้จัดการสาขา หรือผู้บังคับบัญชาตามสายงานทราบ และต้องได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว
การเรียกหรือรับผลประโยชน์อันเป็นสิ่งจูงใจ
- ไม่เรียกร้อง หรือรับของกำนัล หรือผลประโยชน์อื่นใดจากลูกค้า รวมถึงการรับสินค้า หรือการบริการในราคาพิเศษ ซึ่งเป็นราคาที่ไม่ได้ใช้กับบุคคลทั่วไป
- ไม่กู้ยืมเงินจากลูกค้า หรือบุคคลที่มีส่วนได้เสีย
- ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจการของลูกค้า ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
- ไม่รับค่าตอบแทน เงินสด หรือข้อเสนอผ่อนปรน หรือ ข้อเสนอพิเศษ (รวมทั้งหุ้น) จากลูกค้า ผู้ร่วมธุรกิจหรือจากบุคคลอื่นใดๆ
- หากได้รับเชิญจากลูกค้าหรือผู้ร่วมธุรกิจของธนาคาร ให้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ก่อน/ หลังเปิดขายต่อสาธารณะชน พนักงานจะต้องขออนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษร และต้องได้รับการอนุมัติก่อนที่จะทำการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์นั้น
การทำงานอื่นหรือกิจกรรมภายนอก/ การร่วมเป็นวิทยากรภายนอก และการเขียนบทความเผยแพร่สู่สาธารณชน
1. ไม่สนับสนุนให้รับงานอื่นที่นอกเหนือจากงานของธนาคาร รวมทั้งการรับตำแหน่งเป็นกรรมการของบริษัทภายนอก รับเป็นที่ปรึกษา หรือรับงานในกิจการภายนอกธนาคาร พนักงานที่จะประสงค์จะรับตำแหน่ง หรือรับทำงานให้กับองค์กรอื่น จะต้องได้รับการอนุมัติเป็นลายลักษณ์อักษรจากธนาคาร
2. พนักงานที่ประสงค์จะทำงานในกิจการอื่นใดนอกเหนือจากงานธนาคาร หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางธุรกิจกับองค์กรภายนอก จะต้องได้รับการอนุมัติจากธนาคารก่อน
3. การเข้าร่วมกิจกรรมในองค์กรภายนอกดังกล่าว พนักงานจะต้องยื่นขออนุมัติเป็นการล่วงหน้า และหากจำเป็นในการเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ควรยึดแนวปฏิบัติดังนี้
- การรับตำแหน่ง การร่วมกิจกรรม ต้องไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของธนาคาร
- การรับตำแหน่ง การร่วมกิจกรรม ไม่กระทบกับเวลาทำงานของพนักงาน
- ไม่ทำให้เสื่อมเสียต่อภาพพจน์ และชื่อเสียงอันดีของธนาคาร
- องค์กร หรือสถาบันที่ไปเข้าร่วม ไม่ได้เป็นคู่แข่งในเชิงธุรกิจกับธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นใน ทางตรง หรือทางอ้อมก็ตาม
4. การเข้าร่วมหรือมีส่วนร่วม หรือรับตำแหน่งในองค์กรที่เกี่ยวกับวิชาชีพ ร่วมกิจกรรมของมูลนิธิการกุศล ศูนย์ชุมชน โบสถ์ หรือสมาคมของชุมชนสามารถกระทำได้ หากการดำเนินการนั้นไม่เป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของธนาคาร และจะต้องแจ้งเพื่อให้ธนาคารทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
5. การเข้าร่วมกิจกรรมในกลุ่มองค์กรทางวิชาชีพ กลุ่มองค์กรท้องถิ่น หรือมีบทบาทโดยตรงหรือโดยอ้อมในกิจกรรมทางการเมือง จะต้องแจ้งให้องค์กรนั้นๆ ได้ทราบอย่างชัดเจนว่าการร่วมกิจกรรมเป็นเรื่องส่วนตัว มิใช่ในฐานะตัวแทนของธนาคาร
6. พนักงานผู้มีอำนาจลงนามของธนาคาร ที่เข้าร่วมกิจกรรมกับองค์กรหรือสถาบันอื่น จะต้องไม่ดำเนินการใดๆ ในการเป็นผู้ทำการอนุมัติรายการทางบัญชี รวมถึงจะต้องไม่เป็นผู้อนุมัติเกี่ยวกับสินเชื่อทุกประเภทให้แก่องค์กร หรือสถาบันนั้น
7. พนักงานที่ได้รับเชิญจากสถาบันภายนอกให้ไปเป็นวิทยากร หรือ พนักงานที่ประสงค์จะเขียนบทความเผยแพร่ต่อสาธารณชนทั่วไป พนักงานจะต้องใช้ดุลยพินิจในการรับคำเชิญนั้น
8. ในการเป็นวิทยากร หรือ การเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ พนักงานจะต้องไม่ใช้ข้อมูลที่เป็นความลับของธนาคาร นอกเสียจากว่าจะได้รับอนุญาตจากธนาคารแล้วเท่านั้น
9. พนักงานจะต้องระบุไว้อย่างชัดแจ้ง ในบทความต่างๆ ที่เขียนว่าเป็นความเห็นส่วนตัวของพนักงานเอง ไม่ใช่ความเห็นของธนาคาร และพนักงานจะต้องยื่นคำขออนุมัติพร้อมแนบเอกสารเกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่พูด ในฐานะวิทยากร หรือเนื้อเรื่องที่เขียนเพื่อเผยแพร่ และต้องได้รับการอนุมัติจากธนาคารก่อนไปเป็นวิทยากร หรือการเขียนบทความเพื่อเผยแพร่
การรับของขวัญและการเลี้ยงรับรอง
- ธนาคารไม่มีนโยบายสนับสนุนให้พนักงานรับของขวัญใดๆ จากลูกค้าและผู้ร่วมธุรกิจกับธนาคาร ซึ่งรวมถึง ผู้ขายสินค้า/ บริการ คู่สัญญาทางธุรกิจกับธนาคาร หรือจากบุคคลใดๆ เว้นกรณีที่เป็นเทศกาลสำคัญ และต้องมีมูลค่าไม่เกิน 3,000 บาท กรณีที่มูลค่าเกินต้องแจ้งให้ลูกค้าทราบว่าเป็นการผิดระเบียบของธนาคาร และคืนให้แก่ลูกค้า กรณีที่ไม่สามารถคืนได้ให้ส่งมอบให้กับผู้บังคับบัญชาตามสายงานเพื่อดำเนิน การต่อไป
- พนักงานต้องหลีกเลี่ยงการเลี้ยงรับรอง หรือการแลกเปลี่ยนของกำนัล ที่มีมูลค่าสูงเกินสมควรหรือมีความถี่เกินสมควร เว้นแต่เป็นการเลี้ยงรับรองเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ และเป็นการรักษาสัมพันธภาพทางธุรกิจโดยปกติ
- พนักงานที่ไปร่วมงานเลี้ยงรับรอง หรือร่วมกิจกรรมกีฬา หรืองานเลี้ยงอาหาร งานรื่นเริง งานเปิดตัวสินค้า พิธีเปิดงาน ฯลฯ ซึ่งจัดโดยผู้ร่วมธุรกิจ โดยผู้ร่วมงานมาจากหลากหลายองค์กร และผู้มาร่วมงานทุกคนจะได้รับของขวัญ หรือของชำร่วย หรือมีการชิงรางวัล หากพนักงานได้รับของขวัญ หรือของรางวัลในงานดังกล่าว พนักงานไม่จำเป็นต้องแจ้งต่อธนาคาร
- พนักงานต้องไม่รับของกำนัลจากผู้ใต้บังคับบัญชา หรือให้ของกำนัลกับผู้บังคับบัญชา
การติดตามดูแลให้มีการปฏิบัติตาม
- ธนาคารให้ถือเป็นภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนที่จะต้องรับทราบ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามข้อพึงปฏิบัติที่กำหนดไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจนี้อย่างเคร่งครัด หากพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือกระทำการใดๆ ที่ขัดต่อจริยธรรมธุรกิจ ธนาคารจะพิจารณาและดำเนินการตามความเหมาะสม และในกรณีที่การกระทำดังกล่าวขัดต่อระเบียบและข้อบังคับการทำงาน ธนาคารจะพิจารณาดำเนินการลงโทษตามลักษณะเหตุตามแต่ละกรณี
- ผู้บริหารทุกระดับมีหน้าที่สอดส่องดูแลและรับผิดชอบที่จะดำเนิน การให้พนักงานภายใต้บังคับบัญชาของตนปฏิบัติทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามจรรยาบรรณของธนาคารนี้อย่างจริงจัง
- เมื่อมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ สามารถสอบถามผู้บังคับบัญชา หรือ อาจขอคำปรึกษาจากสำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือทีมพนักงานสัมพันธ์ ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบชี้แจงให้ทราบถึงวิธีในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณ
- คณะทำงานกำกับดูแลกิจการที่ดี มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำจรรยาบรรณ และปรับปรุงให้เหมาะสมเป็นประจำอย่างน้อยทุก 2 ปี และนำเสนอคณะกรรมการธนาคารเพื่อขอความเห็นชอบ
การแจ้งข้อเสนอแนะ หรือข้อร้องเรียน
- กรณีพบเห็นการกระทำที่สงสัยว่าฝ่าฝืน หรือการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณ สามารถสอบถามข้อสงสัย ผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น หรือ สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือ ทีมพนักงานสัมพันธ์ ด้านบริหารทรัพยากรบุคคล
- กรณีต้องการแจ้งข้อเสนอแนะหรือข้อร้องเรียน ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมหรือการให้บริการของธนาคาร สามารถแจ้งได้ที่
- สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง
- ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน CIMB THAI Care Center
โทรศัพท์: 0 2626 7777 กด 0 (07.00 น.-19.00 น. ทุกวัน)
โทรสาร: 0 2626 7770
อีเมล: cimbthai.carecenter@cimbthai.com