คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม

คำมั่นสัญญาของเราในการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน

 

CIMB's Pledge for Sustainability

ตามกรอบและเป้าหมายเพื่อความยั่งยืนของกลุ่มซีไอเอ็มบี ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มีความมุ่งมั่นที่จะบริหารธุรกิจและขับเคลื่อนองค์กร ลูกค้า และสังคม สู่อนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคนทุกภาคส่วน โดยธนาคารได้นำประเด็นด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม (EES) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินธุรกิจ

 

ธนาคารกำหนดและดำเนินกลยุทธ์ตามแนวทางของกลุ่มซีไอเอ็มบีซึ่งครอบคลุม 2 ด้าน โดยธนาคารมุ่งใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และขับเคลื่อนเครือข่าย เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการสร้างผลกระทบเชิงบวกสุทธิ (Net Positive Impact) ผ่านกระบวนการต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจของธนาคาร

 

ความยั่งยืนถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของแนวคิดกลยุุทธ์หลัก (Strategic Themes) ในการเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยจุดมุ่งหมายที่นอกเหนือไปจากเป้าหมายทางธุรกิจ (Purpose-driven Organization) ซึ่งเป็นรากฐานอันสำคัญของโครงการปรับเปลี่ยนองค์กรเชิงกลยุทธ์ Forward23+ ของเรา

 

แผนงานและความมุ่งมั่นของเราในด้านความยั่งยืน 

 

ในการดำเนินการของธนาคารเพื่อผนวกมิติด้านความยั่งยืนเป็นส่วนหนึ่งในธุรกิจหลักและการปฏิบัติงานนั้น ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้นำแผนงานด้านความยั่งยืนของกลุ่มซีไอเอ็มบีมาปรับใช้  ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแผนงานด้านความยั่งยืนของกลุ่มซีไอเอ็มบีได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้

https://www.cimb.com/en/sustainability/sustainability-cimb.html  

 

 

 

รายงานความยั่งยืน

 

รายงานความยั่งยืน 2566

 

รายงานความยั่งยืน 2565

 

และสำหรับรายงานประจำปีของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ลิงก์นี้   https://www.cimbthai.com/th/personal/who-we-are/investor-relations/financial-information/annual-report.html   

 

มาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Thailand Taxonomy)

 

Thailand Taxonomy ระยะที่ 1

 

Thailand Taxonomy Excel Spreadsheet

 

Thailand Taxonomy แนวทางการนำไปใช้กับธุรกิจและคำถามที่พบบ่อย

นโยบายสิทธิมนุษยชน

ปรัชญาของธนาคาร

 

 ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ยึดมั่นในปรัชญาความยั่งยืนของกลุ่มซีไอเอ็มบี โดยมุ่งสู่อนาคตของธุรกิจที่ก้าวไกลนอกเหนือจากเรื่องของกำไรระยะสั้น และเป็นสถาบันการเงินที่พัฒนารุดหน้าอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงเพื่อทำตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียในปัจจุบัน แต่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนรุ่นต่อ ๆ ไปด้วย

ในการดำเนินธุรกิจธนาคารซึ่งเป็นธุรกิจหลัก ธนาคารมุ่งหวังที่จะทำตามคำมั่นสัญญาที่จะสร้างอนาคตที่ดีกว่าเดิม อนาคตที่การเติบโตทางเศรษฐกิจสามารถเสริมความแข็งแกร่งให้ผู้คนและธุรกิจ สร้างโอกาสใหม่ ๆ และลดความเสี่ยงด้านความเหลื่อมล้ำทางสังคม ด้วยการปฏิบัติตามหลักการดำเนินกิจการธนาคารอย่างยั่งยืน (Sustainable Banking) นี้ จะนำพาให้เราสามารถบรรลุการเติบโตได้ตามเป้าประสงค์และอย่างยั่งยืน สอดคล้องตามวิสัยทัศน์ของเรา

สิ่งเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นว่าเราได้ตระหนักถึงผลกระทบของธุรกิจตลอดจนบุคลากรของเราที่มีต่อโลกใบนี้และสังคมโดยรวม เราจึงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsibility) รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อผลของการกระทำของเราด้วย (Accountability) พร้อมทั้งยังมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบเชิงลบและสร้างผลกระทบเชิงบวกสุทธิ ทั้งนี้ เราให้คำมั่นสัญญาในการสร้างอนาคตที่ดีกว่า ซึ่งจะเป็นแรงบันดาลใจให้เรามุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และการขับเคลื่อนเครือข่าย เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม


คำว่า “Banking for the Future” เป็นปรัชญาของเราในการมองธุรกิจในระยะยาว โดยเรามุ่งหวังที่จะเป็นส่วนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ที่จะช่วยสร้างอนาคตที่ยั่งยืนและการเติบโตให้กับลูกค้าและพันธมิตร รวมถึงพนักงานและชุมชนของเรา

 

หลักการในการปฏิบัติของธนาคาร

 

แนวปฏิบัติด้านความยั่งยืน (รวมถึงการบริหารความเสี่ยง) ของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เป็นไปตามหลักการสำคัญของกลุ่มซีไอเอ็มบี

ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการสำคัญของกลุ่มซีไอเอ็มบีได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้ https://www.cimb.com/en/sustainability/sustainability-cimb.html

 

 

การให้ความสำคัญต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ  

 

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้ดำเนินการสอดคล้องกับกลุ่มซีไอเอ็มบี โดยนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ (UN) มาปรับใช้ในรูปแบบเดียวกัน ดังที่แสดงในรูปภาพด้านล่าง

ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของกลุ่มซีไอเอ็มบี ได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้

https://www.cimb.com/en/sustainability/sustainability-cimb.html

 

 

หลักการการธนาคารที่มีความรับผิดชอบของ UNEP FI

 

ในเดือนกันยายน 2564 ธนาคารได้ลงนามในคำประกาศเจตนารมณ์ร่วมกับธนาคารอื่น ๆ ในประเทศ ที่จะดำเนินการตามหลักการการธนาคารที่มีความรับผิดชอบ (Principles for Responsible Banking: PRB ) ของสมาคมธนาคารไทยและ United Nations Environment Program Finance Initiative (UNEP FI)

 

 

 

 

โดยก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2562 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ขอให้สมาคมธนาคารไทย และธนาคารต่าง ๆ ในประเทศ ร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินกิจการธนาคารอย่างยั่งยืนในด้านการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ พร้อมทั้งร่วมกันลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว เพื่อนำแนวทางนี้มาใช้ในการให้สินเชื่อ ทั้งนี้ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้เป็นหนึ่งใน 15 ธนาคาร ที่เป็นผู้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือนี้ด้วย

 

 

 

 

ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการการธนาคารที่มีความรับผิดชอบ (PRB) ของกลุ่มซีไอเอ็มบี ซึ่งเป็นไปตามหลักการของ UNEP FI ได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้

https://www.cimb.com/en/sustainability/sustainability-cimb.htm

 

แนวร่วมปฏิบัติการเพื่อการปกป้องสภาพภูมิอากาศ

 

ในเดือนตุลาคม 2563 กลุ่มซีไอเอ็มบีได้เข้าร่วมลงนามในความตกลงแนวร่วมปฏิบัติการเพื่อการปกป้องสภาพภูมิอากาศ (Collective Commitment on Climate Action (CCCA) Agreement) โดย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จะทำหน้าที่และสนับสนุนกลุ่มซีไอเอ็มบีอย่างแข็งขันในการดำเนินการตามความมุ่งมั่นนี้ 

 

ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวร่วมปฏิบัติการเพื่อการปกป้องสภาพภูมิอากาศของกลุ่มซีไอเอ็มบี ได้ตามลิงค์ด้านล่างนี้

https://www.cimb.com/en/sustainability/sustainability-cimb.html

 

ตารางสรุปผลการดำเนินงานของธนาคาร (Scorecard)

 

ด้วยความพยายามของเราที่จะบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้พัฒนาและนำตัวชี้วัดผลการดำเนินงานที่ครอบคลุมถึงมิติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) มาปรับใช้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าธุรกิจของเราได้ยึดมั่นในแนวทางตามแผนงานด้านความยั่งยืนของกลุ่มซีไอเอ็มบี ทั้งนี้ ตาราง Scorecard ดังกล่าว จะวัดผลการดำเนินงานครอบคลุมทุกหน่วยงานทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้มั่นใจได้ถึงความร่วมแรงร่วมใจกันในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายไปสู่ความยั่งยืน.

 

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

 

ปี 2563 เป็นปีแรกของการดำเนินการตามแผนงานด้านความยั่งยืนในระยะเวลา 2 ปีของเรา จึงถือเป็นปีแห่งการวางรากฐานที่มั่นคงเพื่อยึดมั่นตามหลักความยั่งยืน (Sustainability Pillars) 5 ประการที่เรามุ่งเน้น สำหรับวัตถุประสงค์ระยะสั้นของกลุ่มซีไอเอ็มบี คือ การสร้างความตระหนักรู้ การสร้างความรู้ความสามารถ การขับเคลื่อนการสนับสนุนจากเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา และการกระตุ้นให้เกิดการปฏิบัติ ส่วนวัตถุประสงค์ในระยะกลางถึงระยะยาว เรามุ่งหวังที่จะเป็นพลังขับเคลื่อน วางแนวปฏิบัติ และผลักดันวาระด้านความยั่งยืนให้แพร่หลายและเกิดการปฏิบัติในภูมิภาคอาเซียน

 

ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานที่สำคัญได้สรุปไว้โดยอ้างอิงตามหลักความยั่งยืน 5 ประการที่เรามุ่งเน้น (ข้อมูลทั้งหมด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564)

การดำเนินการอย่างยั่งยืน

ธุรกิจที่ยั่งยืน

ความรับผิดชอบต่อสังคม

การกำกับดูแลและความเสี่ยง

การมีส่วนร่วมและการสนับสนุนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

“ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มซีไอเอ็มบี มีความมุ่งมั่นอย่างยิ่งในการที่จะบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนของเรา ด้วยเหตุนี้ เราจึงเน้นย้ำความสำคัญของการดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่ายของธนาคารอย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงผลกระทบของธุรกิจที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นอกจากนี้ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ยังได้นำหลักการบริหารความเสี่ยงด้านความยั่งยืนและการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาปฏิบัติ ซึ่งหลักการดังกล่าวได้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ และมาตรฐานสากลอื่น ๆ เพื่อให้เราสามารถสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคนได้”

 

คุณพอล วอง ชี คิน

กรรมการ / กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร / รักษาการผู้บริหารสูงสุดธุรกิจขนาดใหญ่ / รักษาการผู้บริหารสูงสุดพาณิชย์ธนกิจ

 

 

สำหรับรายละเอียดและข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อหน่วยงานด้านความยั่งยืนได้ในเวลาทำการ 8:30 – 17:00 น.

Email : sustainability@cimbthai.com

 

ที่ตั้งสาขา

สำนักงานใหญ่ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย

44 ถนนหลังสวน แขวงลุมพินี เขตประทุมวัน กรุงเทพฯ 10330