คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม

 

ธุรกิจสามารถเป็นพลังในการส่งเสริมการสร้างความดีให้เกิดขึ้นได้ โดยปัจจัยสำคัญคือการทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงความหมายของคำว่าความยั่งยืนในบริบทของที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยการดำเนินการในขั้นแรกจะเริ่มจากการจัดลำดับความสำคัญทางธุรกิจให้สอดคล้องกับความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย นอกจากนี้ เรายังมองหาโอกาสอย่างต่อเนื่องในการขยายพอร์ตธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน และในขณะเดียวกัน ก็จะสร้างผลกระทบเชิงบวกสุทธิต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเรา ในกระบวนการนี้ เป้าหมายและแรงจูงใจในระยะยาวของเราคือการสร้างแรงบันดาลใจและสนับสนุนให้ลูกค้านำหลักการด้านความยั่งยืนและแนวทางการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนไปปฏิบัติด้วย

 

สถาบันการเงินมีลักษณะการดำเนินธุรกิจเฉพาะที่สำคัญที่สามารถระดมเงินทุนเพื่อนำมาต่อยอดให้กับธุรกิจต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการใช้ดำเนินงานเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ที่มากขึ้น รวมทั้งสามารถตอบสนองความต้องการทางธุรกิจในด้านต่าง ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งการให้บริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืนจะทำให้เราสามารถพิจารณาพอร์ตเงินให้สินเชื่อและเงินลงทุนที่เหมาะสม โดยมีการคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมร่วมด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มีความแข็งแกร่งต่อวิกฤตการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น (Resilient) และสร้างผลกระทบเชิงบวกตามมาได้

 

ตามกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เราตระหนักดีว่ากลุ่มลูกค้าในแต่ละประเภทธุรกิจ ที่เราได้ให้บริการทางการเงินนั้น จะมีระดับความเสี่ยงและประเภทความเสี่ยงทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป โดยหากเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีระดับความเสี่ยงสูงหรืออยู่ในประเภทธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง เราได้กำหนดให้มีระบบควบคุมที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงกระบวนการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะด้านความยั่งยืนโดยละเอียด (Enhanced Sustainability Due Diligence) ระดับอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติที่สูงขึ้น และการจัดให้มีเอกสารคู่มือการพิจารณาความเสี่ยงของลูกค้าจำแนกตามประเภทธุรกิจเพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ (Relationship Managers: RM) ในการปฏิบัติงาน

 

 

นโยบายการให้บริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืน

 

นโยบายการให้บริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืน

 

ในฐานะสถาบันการเงินที่มีความรับผิดชอบ ธนาคารมีบทบาทหน้าที่ในการบริหารจัดการความเสี่ยงและผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นจากธุรกิจที่ธนาคารให้สินเชื่อ ธนาคารจะประเมินว่าจะเกิดความเสี่ยงมากน้อยเพียงใดต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจโดยรวม นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นใช้ผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินของธนาคารในการผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนและก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย กำหนดนโยบายการให้บริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืน เพื่อให้เป็นแนวทางในการลดความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจให้สินเชื่อของธนาคาร โดยนโยบายนี้ได้นำมาใช้กับธุุรกิจขนาดใหญ่ของธนาคารด้วย ซึ่งต้องมีการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะด้านความยั่งยืน (Sustainability Due Diligence) ในทุกกระบวนการของบริการทางการเงินกับผู้ขอกู้ที่ไม่ใช่บุคคลธรรมดาที่มาจากประเภทธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูง โดยในรายที่มีความเสี่ยงสูง จะต้องมีการตรวจสอบวิเคราะห์สถานะด้านความยั่งยืนโดยละเอียด (Enhanced Sustainability Due Diligence) ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ธนาคารต้องดำเนินการอย่างระมัดระวัง

 

 

ธุรกิจ/กิจกรรมที่ธนาคารงดให้บริการทางการเงิน

 

ธุรกิจ/กิจกรรมที่ธนาคารงดให้บริการทางการเงิน

 

นอกจากการทำ Sustainability Due Diligence แล้ว ธนาคารยังกำหนดธุรกิจหรือกิจกรรมที่ธนาคารงดให้บริการทางการเงิน โดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาเบื้องต้นด้วยวิธีการประนีประนอมเป็นศูนย์ (Zero-tolerance) ไม่ทำธุรกิจกับกิจการใด ๆ ที่มีความเชื่อมโยงโดยตรง (โดยมีหลักฐานปรากฏ) กับธุรกิจหรือกิจกรรมใด ๆ ต่อไปนี้

 

  • กิจกรรมที่ผิดกฎหมาย
  • การติดสินบนและการทุจริตคอร์รัปชั่น
  • การลับลอบตัดไม้หรือไฟป่าลุกลาม
  • การก่อการร้าย
  • การลับลอบขนสินค้า
  • กิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากองค์การยูเนสโก
  • การรณรงค์ทางการเมือง (ผ่านเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักการเมือง ผู้ลงสมัครทางการเมือง หรือองค์กรทางการเมืองโดยตรง)
  • อาวุธยุทโธปกรณ์
  • แหล่งคาสิโนและเกมการพนัน

 

ทั้งนี้ อาจมีการพิจารณายกเว้นสำหรับธุรกิจหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับอาวุธยุทโธปกรณ์ คาสิโนและเกมการพนัน และกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกขององค์การยูเนสโก (UNESCO) ในกรณีที่มีเกณฑ์ที่เข้มงวดมากขึ้นและระดับอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติที่สูงขึ้น

 

คู่มือการพิจารณาความเสี่ยงของลูกค้าจำแนกตามประเภทธุรกิจ

 

คู่มือการพิจารณาความเสี่ยงของลูกค้าจำแนกตามประเภทธุรกิจ 

 

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้มีการระบุประเภทธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนในระดับที่ค่อนข้างสูง พร้อมทั้งจัดทำคู่มือการพิจารณาความเสี่ยงของลูกค้าจำแนกตามประเภทธุรกิจเพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้กับผู้จัดการธุรกิจสัมพันธ์ (Relationship Managers: RM) ให้สามารถดำเนินงานได้อย่างสอดคล้องตามนโยบายการให้บริการทางการเงินเพื่อความยั่งยืน โดยธนาคารได้กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับการให้สินเชื่อกับลูกค้าในแต่ละประเภทธุรกิจ ซึ่งหากลูกค้าไม่สามารถดำเนินการได้ตามเกณฑ์ขั้นต่ำเหล่านี้ในช่วงกระบวนการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อหรือทบทวนวงเงินสินเชื่อ ธนาคารจะมีการหารือกับลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าปฏิบัติตามแผนงานที่มีกรอบเวลาที่ชัดเจนและมีการกำหนดเป้าหมายอย่างสมเหตุสมผลให้สำเร็จก่อน นอกจากนี้ ยังได้รวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดไว้ในคู่มือการพิจารณาความเสี่ยงของลูกค้าจำแนกตามประเภทธุรกิจสำหรับในบางธุรกิจที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูง เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนลูกค้าในการดำเนินการตามเส้นทางที่จะปรับปรุงผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนต่อไป

 

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย มุ่งพัฒนาลูกค้าของเราด้วยความพยายามที่จะสนับสนุนลูกค้าผ่านแนวปฏิบัติในการดำเนินกิจการธนาคารอย่างยั่งยืน โดยเราเห็นลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญในทุกกระบวนการดำเนินงานของเรา และมุ่งมั่นที่จะส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า

 

ทั้งนี้ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับความมุ่งมั่นของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ในการปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างธรรมได้ที่ลิงค์นี้ https://www.cimbthai.com/th/personal/help-support/cimb-thai-s-treating-customers-fairly-commitment.html