คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม

 

ใครก็ตามที่กำลังวางแผนซื้อบ้าน หนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายมากที่สุดนั่นก็คือ อัตราดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็น อัตราดอกเบี้ย MLR MRR และ MOR ซึ่งอัตราดอกเบี้ยแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ อัตราดอกเบี้ย แต่ละประเภท มีผลต่อการผ่อนบ้านอย่างไร เพื่อให้คุณสามารถวางแผนการเงินได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น

 

อัตราดอกเบี้ย MRR MLR MOR คืออะไร

คำศัพท์ที่เรามักจะได้ยินบ่อย ๆ โดยเฉพาะใครก็ตามที่วางแผนกู้เงินเพื่อซื้อบ้าน นั่นก็คือ MRR, MLR และ MOR ซึ่งเป็นประเภทของอัตราดอกเบี้ยที่ส่งผลต่อจำนวนเงินที่ต้องชำระในแต่ละเดือน โดยอัตราดอกเบี้ยแต่ละประเภทมีความหมายและการใช้งานที่แตกต่างกัน มาทำความรู้จัก อัตราดอกเบี้ย MRR MLR และ MOR คืออะไร หมายถึงอะไร แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร

 

1. MRR (Minimum Retail Rate)

อัตราดอกเบี้ย MRR คือ อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนดสำหรับลูกค้ารายย่อยทั่วไป เช่น สินเชื่อบ้าน สินเชื่อส่วนบุคคล สินเชื่อรถยนต์ เป็นต้น MRR เป็นอัตราดอกเบี้ยที่ปรับเปลี่ยนได้ตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มักถูกนำมาใช้เป็นฐานในการคำนวณอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อประเภทต่าง ๆ 

2. MLR (Minimum Loan Rate)

อัตราดอกเบี้ย MLR คือ อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำที่ธนาคารกำหนดสำหรับลูกค้ารายใหญ่ที่มีความน่าเชื่อถือสูง เช่น บริษัท หรือลูกค้าที่มีหลักประกันเพียงพอ โดย MLR มักจะมีอัตราที่ต่ำกว่า MRR เนื่องจากลูกค้ากลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่ำ

3. MOR (Minimum Overdraft Rate)

อัตราดอกเบี้ย MOR หมายถึงอะไร เป็นอัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับวงเงิน OD (Overdraft) หรือประเภทเงินเบิกเกินบัญชี โดย MOR มักถูกนำมาใช้สำหรับลูกค้าที่ต้องการเงินด่วน และไม่มีหลักประกันเพียงพอ รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า MRR และ MLR เนื่องจากเป็นการกู้เงินแบบฉุกเฉิน และมีความเสี่ยงสูง

อัตราดอกเบี้ย MRR MLR MOR ต่างกันอย่างไร

อัตราดอกเบี้ย MRR เป็นอัตราดอกเบี้ยที่เราพบเจอบ่อยที่สุด และเป็นฐานในการคำนวณอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อส่วนใหญ่ เหมาะสำหรับกลุ่มลูกค้าทั่วไป ส่วนอัตราดอกเบี้ย MLR อัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่า MRR โดยจะเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าที่มีความน่าเชื่อถือสูง และสุดท้าย อัตราดอกเบี้ย MOR เป็นอัตราดอกเบี้ยสำหรับกรณีฉุกเฉิน และมีอัตราสูงที่สุด

 

วิธีคิดดอกเบี้ย แบบเงินต้นคงที่ กับ ลดต้นลดดอก คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

หลังจากที่เราได้ทำความรู้จักกับดอกเบี้ย MRR MLR MOR กันไปแล้ว ทีนี้ก็มาถึงวิธีการคิดดอกเบี้ย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อจำนวนเงินที่เราต้องจ่ายคืนให้กับธนาคาร โดยหลัก ๆ แล้วดอกเบี้ยเงินกู้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ ดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่ กับ ดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก แต่ละแบบมีวิธีการคิดอย่างไร มาดูกัน

 

ดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่ (Flat Rate)

คือการคำนวณดอกเบี้ยจากเงินต้นทั้งหมดในตอนแรก และนำดอกเบี้ยที่คำนวณได้มาหารด้วยจำนวนงวดที่ต้องผ่อนชำระ ทำให้ ยอดผ่อนชำระต่อเดือนเท่ากันตลอดทั้งระยะเวลาการกู้ ซึ่งข้อดีของดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินต้นคงที่ นั่นก็คือ ง่ายต่อการคำนวณและวางแผนการเงิน เนื่องจากยอดผ่อนในแต่ละเดือนเท่ากันตลอด 

 

ตัวอย่างการคำนวณ : ลูกค้าทำการยื่นขอสินเชื่อวงเงิน 1,000,000 บาท โดยมีอัตราดอกเบี้ยคงที่ 5% ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี วิธีคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้แบบเงินคงที่ ให้ใช้สูตร “เงินต้น x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x ระยะเวลาผ่อนชำระ = ดอกเบี้ยทั้งหมดที่ต้องชำระให้ธนาคาร” นั่นก็คือ 1,000,000x5%x5 = 250,000 บาท

 

ดอกเบี้ยเงินกู้แบบลดต้นลดดอก (Effective Rate)

คือการคำนวณดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นคงเหลือในแต่ละงวด เมื่อผู้กู้ชำระเงินต้น ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็จะลดลงตามสัดส่วนเงินต้นที่เหลืออยู่ กล่าวคือ ยิ่งเงินต้นลดลงเท่าไหร่ ดอกเบี้ยก็จะน้อยลงเท่านั้น 

 

สูตรการคำนวณ

  • สูตรที่ 1 ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้นๆ = (เงินต้นคงเหลือในงวดนั้นๆ x อัตราดอกเบี้ยต่อปี x จำนวนวันในงวด) ÷ จำนวนวันใน 1 ปี (365)

  • สูตรที่ 2 เงินต้นที่ตัดในงวดนั้นๆ = ค่างวด - ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดนั้นๆ

  • สูตรที่ 3 เงินต้นคงเหลือ = วงเงินกู้ - เงินต้นที่ตัดในงวดนั้นๆ

 

ตัวอย่าง เช่น ถ้าเรากู้ซื้อบ้านในราคา 2,000,000 บาท ธนาคารคิดดอกเบี้ยที่ 4% ต่อปี รวมระยะเวลา 30 ปีตามสัญญา และได้กำหนดการผ่อนชำระรายเดือนงวดละ 8,500 บาท

  • ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในงวดแรก จะอยู่ที่ (2,000,000 x 0.04 x 31) ÷ 365 = 6,805.70 บาท

  • เงินต้นที่ตัดในงวดนี้ จะอยู่ที่ 8,500 - 6,794.52 = 1,694.30 บาท

  • เงินต้นคงเหลือ จะอยู่ที่ 2,000,000 - 1,694.30 = 1,998,305.70 บาท

ตารางการคำนวณสินเชื่อบ้าน จะเป็นดังนี้

 

งวด

เงินต้นคงเหลือ

เงินต้น

ดอกเบี้ย

คงเหลือ

1

2,000,000

1,694.30

6,805.70

1,998,305.70

2

1,998,305.70

1,919.78

6,580.22

1,996,385.92

3

1,996,385.92

1,706.60

6,793.40

1,994,679.33

359

747,877.04

5,955.09

2,544.91

741,921.95

360

741,921.95

6,056.92

2,443.08

735,865.03

 

นี่ก็เป็นสูตรคำนวณ ที่จะทำให้เรารู้ว่าแต่ละงวดที่เราได้จ่ายไปถูกเอาไปหักเป็นค่าอะไรบ้างทั้งนี้เงินต้นจะลดลงตามจำนวนงวดการผ่อน หากนำเงินก้อนมาผ่อนชำระต่องวดก็จะทำให้เงินต้นทั้งหมดลดลง

 

 

เคล็ดลับในการกู้เงินผ่อนบ้านให้ผ่านฉลุย

สำหรับใครที่กำลังจะกู้เงินซื้อบ้าน แต่อาจจะยังรู้สึกลังเลว่าจะกู้ผ่านไหม นี่คือเทคนิคกู้เงินผ่อนบ้านให้คุณได้รับอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ได้วงเงินตามที่ต้องการ มาแนะนำ

 

1. ประเมินสถานะทางการเงิน

ก่อนที่จะตัดสินใจยื่นกู้เงินซื้อบ้าน ควรประเมินสถานะการเงินของตนเองก่อนว่ามีความสามารถในการผ่อนชำระได้มากน้อยเพียงใด สิ่งที่ต้องพิจารณาคือรายได้รายเดือน ภาระหนี้สินที่มีอยู่ ค่าใช้จ่ายรายเดือน และเงินสำรองฉุกเฉิน โดยปกติแล้ว ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าค่าผ่อนบ้านไม่ควรเกิน 30-40% ของรายได้ทั้งหมด เพื่อให้คุณยังคงมีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและกรณีฉุกเฉิน

 

2. เตรียมเอกสารให้ครบถ้วน

การยื่นกู้สินเชื่อบ้านกับธนาคารต้องเตรียมเอกสารต่อไปนี้ให้ครบถ้วนดังนี้ 

  • บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน 

  • สลิปเงินเดือน 

  • รายการเดินบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (Statement)

  • หลักฐานการเสียภาษี ภ.ง.ด. 90/91

 

3. ตรวจสอบเครดิตบูโร

ธนาคารจะพิจารณาข้อมูลเครดิตของผู้กู้จากเครดิตบูโร ซึ่งจะแสดงถึงประวัติการชำระหนี้ต่าง ๆ ของคุณ หากมีประวัติการชำระหนี้ดี ไม่มีการค้างชำระ ธนาคารจะมีแนวโน้มที่จะอนุมัติสินเชื่อให้คุณมากขึ้น ในทางกลับกัน หากมีประวัติค้างชำระ หรือเครดิตไม่ดี อาจทำให้คุณไม่ได้รับอนุมัติสินเชื่อหรือได้รับเงื่อนไขที่ไม่ดีนัก

 

4. พิจารณาอายุการผ่อนชำระ

การเลือกระยะเวลาการผ่อนชำระเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การผ่อนชำระนานจะช่วยให้ยอดผ่อนต่อเดือนน้อยลง แต่จะทำให้คุณจ่ายดอกเบี้ยมากขึ้นในระยะยาว ในทางกลับกัน การผ่อนชำระสั้นจะช่วยลดดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย แต่ยอดผ่อนต่อเดือนจะสูงขึ้น การเลือกระยะเวลาการผ่อนที่เหมาะสมกับรายได้และภาระทางการเงินของคุณจึงเป็นสิ่งสำคัญ

 

5. คำนวณค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่มากับการซื้อบ้าน

นอกจากค่าผ่อนชำระบ้านรายเดือนแล้ว คุณต้องคำนึงถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ค่าบำรุงรักษาบ้าน ค่าประกันภัยบ้าน และค่าตกแต่งบ้าน การเตรียมเงินสำรองสำหรับค่าใช้จ่ายเหล่านี้จะช่วยให้คุณบริหารจัดการการเงินได้ดีขึ้นและไม่เกิดภาระเกินตัว

 

6. โปะเงินต้นเมื่อมีโอกาส

การโปะเงินต้นเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยลดดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายในระยะยาวได้ ยิ่งชำระเงินต้นมากเท่าไร ดอกเบี้ยที่คำนวณจากยอดเงินต้นก็จะน้อยลง ดังนั้น หากคุณมีเงินเหลือจากการออม หรือได้รับโบนัส การนำเงินเหล่านั้นไปโปะเงินต้นก็เป็นทางเลือกที่ดีในการลดภาระหนี้สิน

 

ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจสำหรับใครที่กำลังจะวางแผนกู้เงินซื้อบ้าน การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย MRR, MLR และ MOR เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะช่วยให้คุณสามารถตัดสินใจเลือกสินเชื่อที่เหมาะสมกับความต้องการและกำลังทรัพย์ของคุณได้มากที่สุด ก่อนตัดสินใจทำสัญญากู้บ้าน ควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้ได้คำแนะนำที่ถูกต้อง

 

สำหรับใครที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง หรือต้องการรีไฟแนนซ์บ้าน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ผลิตภัณฑ์ สินเชื่อบ้านที่หลากหลาย ตอบโจทย์ความต้องการของคุณ กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง CIMB Thai Care Center 02 626 7777 หรือ คลิกที่นี่

 


คุณอาจสนใจ