คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม
อัตราและค่าธรรมเนียม

 

สำหรับใครก็ตามที่เป็นพนักงานประจำ ต้องเคยได้ยินฝ่าย HR พูดถึง กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund (PVD) มาบ้าง ซึ่งข้อดีนั้นมีมากมาย โดยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ สวัสดิการที่นายจ้างมอบให้กับพนักงานบริษัท และยังเป็นอีกหนึ่งในช่องทางการออมเงินที่มีประสิทธิภาพ ไปทำความรู้จักประโยชน์ของ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กันให้มากขึ้น 

 

ทำความรู้จัก กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คืออะไร?

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ Provident Fund คือ เงินกองทุนที่นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้นด้วยความสมัครใจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหลักประกันทางการเงินแก่ลูกจ้าง กรณีลาออกจากงาน เป็นสวัสดิการที่นายจ้างให้แก่ลูกจ้าง เพื่อเป็นแรงจูงใจแก่ลูกจ้างให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เพียงเท่านี้ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คือวิธีการออมเงินที่ดีอีกทางหนึ่งของเหล่ามนุษย์เงินเดือน โดยเงินที่เข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพมาจาก 2 ส่วน 

 

ส่วนที่ 1 เงินสะสมในส่วนของลูกจ้าง

เป็นเงินที่หักจากเงินเดือนของสมาชิกกองทุนโดยทั่วไป สมาชิกสามารถเลือกอัตราการหักเงินสมทบ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ด้วยตัวเอง โดยนายจ้างอาจมีเงื่อนไขเพิ่มเติม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท รวมถึง ข้อบังคับกองทุนของแต่ละกองทุน

 

 

ส่วนที่ 2 เงินสมทบที่มาจากนายจ้าง

เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบให้กับสมาชิกในอัตราตั้งแต่ 2% แต่ไม่เกิน 15% ของเงินค่าจ้าง ซึ่งจำนวนเงินสมทบขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละบริษัท 

 

นอกจากนี้ บางบริษัทอาจมีข้อกำหนดในการจ่าย เงินสมทบ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ในอัตราที่มากขึ้นตามอายุงาน เช่น ทำงานตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ 50% หรือ ทำงาน 10 ปีขึ้นไป ลูกจ้างที่สมัครเข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจะได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบ 100% เป็นต้น โดย เงินสมทบ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ทั้งสองส่วนที่ออมเข้ากองทุนจะถูกนำไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่าง ๆ ที่บริหารจัดการโดยบริษัทหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อหาผลตอบแทนสูงสุดภายใต้ระดับความเสี่ยงที่รับได้หรือตามนโยบายการลงทุน 

 

ประโยชน์ของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีอะไรบ้าง

ต้องบอกว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือ ตัวช่วยที่ทำให้การออมเงินเพื่อ อนาคต ของคุณงอกเงย เมื่อเราเข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เราจะได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง? 

 

1. ประโยชน์สำหรับนายจ้าง

เป็นการเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานของพนักงาน ส่งผลให้ทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่บริษัท ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี โดยเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายของบริษัทได้

2. ประโยชน์สำหรับสมาชิก

เป็นการออมในระยะยาว และช่วยสร้างวินัยในการออมเงิน เพราะเงินสะสมจะถูกหักจากเงินเดือนโดยอัตโนมัติ ตามอัตราที่เราเลือก รวมถึงประเภทการลงทุนก็มีหลากหลายให้เลือก ตามเป้าหมาย และ ความเสี่ยง ที่คุณรับได้ ไม่เพียงเท่านี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ยังเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เนื่องจากสมาชิกจะรับได้เงินเพิ่มจากส่วนที่นายจ้างจ่ายเงินสมทบให้ในทุก ๆ เดือน และ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีทั้งในขณะที่เป็นสมาชิกกองทุน และลาออกจากกองทุน

 

เราควรหัก เงินสมทบ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กี่เปอร์เซ็นต์

เมื่อเราเลือกที่จะสมัครเข้าร่วมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว ทีนี้คำถามต่อมาคือ เราควรหัก เงินสมทบ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กี่ % ดี โดยเราสามารถกำหนดอัตราการหักเงินสมทบ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้เอง ตั้งแต่ 2% สูงสุด15% ของเงินเดือน ยิ่งเราเลือกลงทุนในอัตราสูงเท่าไหร่ ยอดเงินสะสมก็จะสูงตามไปด้วยเช่นกัน ถือเป็นการเพิ่มโอกาสได้ผลตอบแทนจากการออมมากขึ้นตามไปด้วย 

 

 

อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจว่าจะส่งหักเงินสมทบ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ กี่เปอร์เซ็นต์ ให้ลองพิจารณาจากจำนวนเงินเดือนที่เราได้รับ ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของเราในแต่ละเดือน ว่ามีอะไรบ้าง และเหลือสำหรับใช้หักเข้ากองทุนเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้กระทบกับการใช้ชีวิตประจำวันนั่นเอง

 

ถ้าเราลาออก ต้องทำอย่างไรกับ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ

แล้วถ้าเราลาออก เงินสมทบ กองทุนสํารองเลี้ยงชีพ ที่ถูกหักจากบัญชีเงินเดือนในแต่ละเดือนจะจัดการเงินส่วนนี้อย่างไร สรุปมาให้ 3 ทางเลือกดังนี้

 

1. คงเงินไว้ที่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพเดิม 

แม้ว่าเราจะทำเรื่องลาออกแล้ว แต่ยังสามารถฝากไว้กับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของที่ทำงานเดิมได้ โดยจะต้องแจ้งระยะเวลาในการคงเงินไว้กับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ว่าเราต้องการคงเงินไว้ระยะเวลาเท่าไหร่ ในระหว่างที่รอโอนไปกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของบริษัทใหม่ แต่จะไม่มีเงินสมทบเพิ่ม 

 

2. โอนเงินสมทบไปยังกองทุนรวม RMF for PVD 

เป็นวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ที่ลาออกจากงาน แล้วบริษัทใหม่ไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือยังไม่เจอนโยบายกองทุนที่ถูกใจ แนะนำให้โอนย้ายเข้าไปที่กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF for PVD ซึ่งข้อดีคือ ไม่มีค่าธรรมเนียมค่าโอนย้าย สามารถนับอายุต่อไปเปรียบเสมือนการคงเงินไว้ใน PVD แถมยังไม่ถูกหักภาษีอีกด้วย 

 

3. ลาออกจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ 

วิธีนี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการเงินสด หรือต้องการนำเงินออกมาลงทุนต่อเอง โดยลูกจ้างสามารถขอถอนเงินได้ทั้งหมด หลังจากสิ้นสุดสภาพการเป็นสมาชิกแล้ว แต่จะไม่สามารถแบ่งถอนได้ กรณีที่สมาชิกกองทุนน้อยกว่า 5 ปี หรือยังมีอายุยังไม่ครบ 55 ปีบริบูรณ์ จะต้องเสียภาษี

 

ทั้งหมดนี้คือทางเลือกสำหรับการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อเราต้องเปลี่ยนงาน ซึ่งก็มีหลากหลายวิธี สำหรับใครที่เลือกออกจากกองทุน แล้วต้องการสมัครใหม่ อาจจะต้องเช็กเงื่อนไขของบริษัทใหม่ด้วย หากที่บริษัทใหม่มีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเลี้ยงชีพอยู่แล้ว ก็สามารถสมัครใหม่ได้เลย 

 

จะเห็นได้ว่า กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ คือการสร้างวินัยที่ดีในการออมของเหล่ามนุษย์เงินเดือน ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการออมระยะยาว เพื่ออนาคตที่มั่นคง ทั้งนี้ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เปรียบเสมือนการลงทุนที่เราต้องศึกษาถึงรายละเอียดต่าง ๆ รวมไปถึงเงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

 

สำหรับใครที่กำลังมองหากองทุนรวมที่เหมาะกับ คนวัยทำงาน ที่ต้องการออมเงินระยะยาว ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ขอแนะนำการลงทุนกับกองทุนรวม SSF (Super Saving Fund) สามารถลงทุนในกองทุนรวมได้ทุกประเภท ไม่กำหนดขั้นต่ำการซื้อ มีโอกาสได้ผลตอบแทน มากกว่า ฝากเงินออม และสามารถนำเงินที่ลงทุนไปลดหย่อนภาษีได้ คลิกที่นี่ เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม 

 


คุณอาจสนใจ