คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม

 

 

3 เทคนิคเพิ่มเงินออม

ให้มีเงินนอนในบัญชี คุณเองก็ทำได้

 

เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนหลายคนอาจจะใช้เงินเดือนชนเดือนกันจนเคยชิน ทั้งนี้เพราะแต่ละคนย่อมมีค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนที่แตกต่างกันออกไป และนอกจากค่าใช้จ่ายหลักๆ ที่คุณต้องจ่ายกันอยู่แล้วทุกเดือน คุณอาจจะคิดไม่ถึงว่า ค่าใช้จ่ายเล็กๆ น้อยๆ ที่คุณทำด้วยความเคยชินทุกวัน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณมีเงินไม่พอใช้ในแต่ละเดือนเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น การดื่มกาแฟ ชานมไข่มุก การพบปะสังสรรค์ ค่าสมัครแอปสตรีมมิ่งที่สมัครไว้แต่อาจจะไม่ได้ดูจนคุ้ม เป็นต้น

 

รวมถึง การซื้อของที่ไม่จำเป็น ด้วยคติที่ว่า “ของมันต้องมี” ทำให้หลายคนมีพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตจนเกินความจำเป็น และหาทางออกด้วยการจ่ายค่าบัตรเครดิตขั้นต่ำในทุกๆ เดือน ทำให้ต้องแบกรับภาระดอกเบี้ยจากหนี้บัตรเครดิตเพิ่มไปอีก และหากคุณเป็นหนึ่งคนที่กำลังเผชิญสภาวะ เงินไม่พอใช้เพราะหนี้บัตรเครดิต วันนี้ เรามี 3 เทคนิคการบริหารเงินในแต่ละเดือน เพื่อให้คุณหลุดจากสภาวะใช้เงินเดือนชนเดือน และมีเงินเหลือเก็บมาฝาก

 

3 เทคนิคเพิ่มเงินออม ประกอบไปด้วย

 

1. เทคนิคบริหารเงินแบบ 20-50-30

 

1.1.  เงินออม 20%
    สูตรนี้ให้กันไว้ที่ 20% ของเงินเดือน หรือ หักเก็บ 20% ของรายได้ โดยมีข้อแม้ว่า เราต้องหักเงินส่วนนี้เก็บทันทีที่ได้รับมา เพื่อใช้สำหรับเป็นตัวช่วยในยามฉุกเฉิน เป็นเงินเก็บระยะยาวไว้ใช้หลังเกษียณ หรือเป็นทุนที่เราจะใช้ทำตามความฝันตัวเอง เช่น เปิดร้านกาแฟ หรือเอาไว้ลงทุนสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติม เช่น การซื้อกองทุน เป็นต้น 

 

1.2. ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในการใช้ชีวิต 50% 
    หลังจากหักเงินออมแล้ว คุณควรกันเงินไว้ใช้จ่ายในเรื่องที่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น ค่าเช่าบ้าน  ค่าอาหาร  ค่าเดินทาง  ค่าเสื้อผ้า โดยควรแบ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้อยู่ที่ 50% ของเงินเดือน จะได้ไม่มีปัญหาเงินไม่พอใช้ตอนปลายเดือน
 

1.3. ความสุขส่วนตัว 30%

    สำหรับคนที่อยากให้รางวัลตัวเองหลังเงินเดือนออก เราแนะนำให้คุณแบ่งเงินเพื่อใช้สำหรับความสุขส่วนตัวไว้ 30% ของเงินเดือน เอาไว้ใช้จ่ายเพื่อความสุขเล็กๆ น้อย ๆ ให้กับตัวเอง แต่ถ้าเดือนไหน มีค่าใช้จ่ายจำเป็นฉุกเฉินเพิ่มขึ้นก็อาจลดส่วนของเงินก้อนนี้ลงได้ หรือถ้าเดือนไหนเงินส่วนนี้เหลือก็สามารถเอาไปสมทบกับก้อนของเงินออมก็ได้

 

2. เทคนิคปรับลดค่าใช้จ่าย

นอกจากการแบ่งส่วนการบริหารจัดการเงินตามข้างต้นแล้ว เราขอแนะนำเทคนิคดีๆ ที่จะช่วยให้คุณปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้ นั่นคือ

 

2.1. ออมก่อนใช้

    หลายคนชอบคิดว่าเงินเก็บหรือเงินออม คือ เงินที่เหลือจากการใช้จ่าย (รายได้ – รายจ่าย = เงินออม)  แต่จริงๆ นั่นคือความคิดที่ผิด เพราะเงินออมจะต้อง “เก็บก่อนจ่าย”  ไม่ใช่  “จ่ายก่อนเก็บ”

 

2.2. จดบันทึกให้เป็นนิสัย

    การจดบันทึกนอกจากจะช่วยย้ำเตือนให้เราทำตามแผนการเงินที่วางไว้แล้ว ยังทำให้เราพบ “ค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย” ที่ทำให้เงินรั่วไหลออกจากกระเป๋าแบบไม่รู้ตัวอีกด้วย

 

2.3. ยั้งใจ 2 วัน ชั่งใจตัวเอง

    หากคุณอยากซื้อของชิ้นใด อย่าเพิ่งรีบซื้อ วางคติ “ของมันต้องมี” ลงก่อน และเราอยากให้คุณลองหยุดคิดสัก 2-3 วัน ว่าของสิ่งนั้นมีความจำเป็นขนาดไหน แล้วจึงค่อยเวียนกลับมาซื้ออีกครั้ง เพราะถึงเวลานั้น คุณอาจจะไม่อยากซื้อของสิ่งนั้นแล้วก็ได้

2.4. หยุดใช้บัตรเครดิต “จ่ายล่วงหน้ากับสิ่งที่ยังไม่มีความจำเป็น”

    แม้ว่าการใช้บัตรเครดิตอย่างถูกต้องจะเกิดความคุ้มค่าอย่างมาก ทั้งได้คะแนนสะสม มีระยะเครดิตที่ไม่ต้องชำระเงินก้อน แต่หากคุณใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเกินความจำเป็น เน้นคติ “รูดก่อน ผ่อนทีหลัง” พฤติกรรมแบบนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาหนี้สะสมตามมาได้

    ดังนั้น หากคุณไม่อยากตกอยู่ในวังวนภาระหนี้ที่ไม่สามารถรับผิดชอบได้ เราแนะนำให้คุณ “คิดก่อนรูด” ทุกครั้ง และควรชั่งน้ำหนักให้ดีทุกครั้งก่อนรูดบัตรเครดิตว่า สิ่งของเหล่านั้นมีความจำเป็นหรือไม่? และสามารถรับผิดชอบยอดค่าบัตรเครดิตที่จะตามมาภายหลังได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้คุณสามารถใช้บัตรเครดิตได้อย่างสบายใจ ไม่มีหนี้กองโตตามมาภายหลัง

 

2.5. ออมเงินแบบก้าวกระโดด

    การออมเงินแบบก้าวกระโดด คือ การสร้างผลตอบแทนให้กับเงินออมของคุณนั่นเอง  อาทิ การเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร การออมรูปแบบประกัน หรือจะเลือกออมเงินกับกองทุนต่างๆ  เป็นต้น

 

3 เทคนิคเพิ่มเงินออม ให้มีเงินนอนในบัญชี

 

1. เพิ่มบัญชีเงินออมโดยเฉพาะ 

    เปิดบัญชีเงินออมแยกออกจากบัญชีที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน แต่ต้องเป็นบัญชีที่สามารถถอนมาใช้ได้ทันทีที่ต้องการ โดยอาจเป็น บัญชีออมทรัพย์ หรือบัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูงที่มีเงื่อนไขพิเศษ เช่น จำกัดจำนวนในการถอนต่อเดือน ซึ่งการแยกบัญชีจะทำให้เราไม่เผลอนำเงินออมมาใช้จ่าย และจัดการเงินได้อย่างมีระบบมากขึ้น

 

2. เพิ่มรายการโอนอัตโนมัติหลังได้รับเงินเดือน

    เนื่องจากเงินออมถือเป็นเงินก้อนใหญ่ เพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน หรือเงินออมสำหรับใช้หลังเกษียณ จึงไม่สามารถเก็บได้ในครั้งเดียว เราอาจเพิ่มรายการโอนอัตโนมัติซึ่งทำได้จากแอปพลิเคชันใน Mobile Banking ให้โอนเงินจากบัญชีเงินเดือนไปยังบัญชีเงินออมทุกๆ เดือน โดยอาจเริ่มต้นที่ 10% ของเงินเดือน แล้วจึงค่อยๆ ปรับเป็น 20% หรือปรับตามความเหมาะสม และทยอยสะสมเงินออมจนครบตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ได้โดยที่ไม่ลำบากจนเกินไป

 

3. เพิ่มเงินคืนในบัญชีเงินออมหากมีการถอนไปใช้

    หลายคนคุ้นเคยกับการยืมเงินตัวเองเป็นอย่างดี ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดแปลกอะไร แต่เมื่อใช้เงินในบัญชีเงินออมไปแล้ว คุณจะต้องทยอยคืนเงินให้เต็มตามจำนวนเดิม เพื่อให้มีเงินสำรองฉุกเฉินพร้อมใช้งานเสมอ เพราะเหตฉุกเฉินในชีวิต อาจเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดฝัน เช่น การเจ็บป่วย การตกงาน และถึงแม้เหตุร้ายจะยังไม่เกิดขึ้น ในชีวิต แต่การมีเงินออมไว้จะช่วยลดความเสี่ยงลงได้  

    มาถึงตรงนี้คุณจะรู้ได้เลยว่า การลดค่าใช้จ่ายและการเก็บออมเงินนั้นทำได้ไม่ยากอย่างที่เคยคิด และการลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงนั้นสามารถเริ่มต้นทำได้ทันที เพราะเมื่อลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้ เราก็จะมีเงินในกระเป๋าเพิ่มมากขึ้น และมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน

    และสำหรับใครที่กำลังเผชิญปัญหามีหนี้บัตรเครดิตหลายใบ หรือเงินเดือนไม่พอใช้เพราะต้องจ่ายหนี้บัตรเครดิต เราแนะนำให้คุณทำการรีไฟแนนซ์บัตรเครดิต หรือ รวมหนี้เป็นก้อนเดียว เพื่อลดภาระการผ่อนจ่ายหนี้ต่อเดือนให้ลดลง ลดความสับสนในการจ่ายค่าบัตรเครดิตแต่ละใบ ทั้งยังช่วยเสริมสภาพคล่อง ช่วยให้เก็บเงินได้มากขึ้นอีกด้วย 

    สำหรับผู้ที่กำลังมองหา สินเชื่อปิดหนี้บัตรเครดิต เราขอแนะนำ สินเชื่อบุคคล เพอร์ซันนัลแคช ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สินเชื่อ ดอกเบี้ยต่ำ สมัครง่ายโดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์หรือบุคคลค้ำประกัน สามารถแบ่งชำระคืนธนาคารเป็นรายเดือน เดือนละเท่าๆ กัน คิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก

 

สมัครสินเชื่อบุคคล เพอร์ซันนัลแคช

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ 3 ช่องทาง 

 

หมายเหตุ

  • วงเงินอนุมัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาสินเชื่อของทางธนาคาร
  • อัตราดอกเบี้ยและ ข้อกำหนดเงื่อนไขเป็นไปตามธนาคารประกาศกำหนด
  • รายละเอียดเพิ่มเติมที่ : https://www.cimbthaionlinecampaign.com/personalloan/selfapply.html    
  • ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม CIMB Thai Care Center โทร. 02 626 7777