คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม

 

เมื่อไม่นานมานี้ ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางในประเทศเมียนมา ส่งผลให้หลายพื้นที่รู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือน สร้างความวิตกกังวลให้กับผู้คนทั่วประเทศ แม้เหตุการณ์จะผ่านพ้นไปแล้ว แต่สิ่งที่หลายครัวเรือนต้องเผชิญคือ รอยร้าวที่ปรากฏขึ้นตามผนังบ้าน คอนโด หรือที่พักอาศัย ซึ่งรอยร้าวเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของอันตรายที่กำลังรอวันปะทุ

 

ผนังแตกร้าวก็มีหลายระดับความรุนแรง บางรอยอาจร้าวแค่ผิวเผิน แต่บางรอยอาจบ่งบอกถึงปัญหาโครงสร้างที่ร้ายแรง รอยร้าวผนังอันตรายมักมีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทรุดตัวของฐานรากหรือที่โครงสร้างเป็นหลัก การซ่อมรอยแตกร้าวผนังปูนจึงควรดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อประเมินสาเหตุที่แท้จริงและซ่อมแซมอย่างถูกวิธี อีกทั้งการทำประกันวินาศภัยเอาไว้ก็เป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในการรับมือกับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด เพราะธรรมชาติไม่เคยบอกล่วงหน้า การเตรียมพร้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด

 

 

สารบัญบทความ

 

  • รอยร้าวมีกี่แบบ แล้วแบบไหนที่อันตรายร้ายแรง?
  • ประเภทต่าง ๆ ของรอยร้าว
  • วิธีเช็กรอยร้าวเบื้องต้นด้วยตัวเอง ดูอะไรบ้าง
  • เจอรอยร้าวอันตราย แจ้งหน่วยงานไหนได้บ้าง?
  • เราสามารถรับเงินเยียวยาจากเหตุแผ่นดินไหวได้ไหม?
  • เรื่องต้องรู้! 5 ขั้นตอนเคลมประกันภัยแผ่นดินไหว
  • เลือกทำประกันที่ใช่กับ CIMB THAI ครอบคลุมความเสี่ยงพร้อมรับมือเหตุการณ์แผ่นดินไหว!

 

 

 

รอยร้าวมีกี่แบบ แล้วแบบไหนที่อันตรายร้ายแรง? 

 

รอยร้าวมีกี่ประเภท? ทั่วไปสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ รอยร้าวที่ส่งผลต่อโครงสร้างหลัก และรอยร้าวที่ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างหลัก ซึ่งบ้านร้าวแบบไหนอันตราย? รอยแตกร้าวผนังที่น่ากังวลมากที่สุดคือรอยร้าวในแนวทแยงมุม 45 องศา รอยร้าวที่มีความกว้างเกิน 3 มิลลิเมตร และรอยร้าวที่ทอดยาวต่อเนื่องจากพื้นถึงเพดาน เพราะเป็นสิ่งที่บอกถึงปัญหาการทรุดตัวของฐานรากหรือความเสียหายของโครงสร้างหลักที่อาจทำให้อาคารทรุดตัวลงได้นั่นเอง ซึ่งควรเรียกช่างมาทำการตรวจสอบและแก้ไขให้อย่างถูกต้อง

 

ประเภทต่าง ๆ ของรอยร้าว 

 

การประเมินลักษณะของรอยร้าวและความรุนแรงที่เกิดขึ้นนับว่าเป็นขั้นตอนสำคัญต่อการพิจารณาความเสียหายของโครงสร้างบ้านและตึกหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว ซึ่งในหัวข้อนี้เราจะมาเจาะลึกรายละเอียดของลักษณะรอยร้าวแต่ละประเภทกันให้มากขึ้น

 

รอยร้าวที่ส่งผลต่อโครงสร้างหลัก

 

รอยร้าวประเภทนี้เกิดจากแรงกระทำที่มีผลต่อโครงสร้างอาคารโดยตรง เช่น แผ่นดินไหว การทรุดตัวของฐานราก หรือการรับน้ำหนักเกินพิกัด สังเกตได้จากผนังร้าวแนวดิ่งที่มีความยาวต่อเนื่อง รอยร้าวเสาบ้านที่เป็นโครงสร้างหลัก หรือรอยร้าวแนวทแยงขนาดใหญ่ที่มีความกว้างเกิน 0.6 มม. โดยเฉพาะกำแพงแตกในแนวเฉียง 45 องศา ซึ่งบ่งบอกถึงการทรุดตัวไม่เท่ากันของฐานราก ทำให้รอยร้าวรูปแบบนี้อันตรายร้ายแรงถึงขั้นทำให้อาคารอาจพังทลายได้ หากไม่ได้รับการซ่อมแซมอย่างทันท่วงที

 

รอยร้าวที่ไม่ส่งผลต่อโครงสร้างหลัก

 

รอยร้าวประเภทนี้มักเกิดบนพื้นผิวอาคารที่ไม่ใช่โครงสร้างรับน้ำหนัก เช่น ปูนฉาบ หรือผนังตกแต่ง สาเหตุมักเกิดจากการหดตัวของวัสดุ การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ หรือเทคนิคการก่อสร้างที่ไม่เหมาะสม โดยสังเกตได้จากรอยร้าวผนังแนวดิ่งมักมีขนาดเล็กไม่เกินกว่า 0.6 มม. เช่น รอยร้าวเส้นผม หรือรอยร้าวตามรอยต่อวัสดุ แม้ไม่ส่งผลต่อความแข็งแรงของบ้านโดยตรง แต่อาจทำให้เกิดปัญหารั่วซึมหรือรอยร้าวขยายตัวได้ในอนาคต จึงควรรีบซ่อมแซม เพื่อรักษาสภาพอาคารและป้องกันไม่ให้เสียหายหนักกว่าเดิม

 

วิธีเช็กรอยร้าวเบื้องต้นด้วยตัวเอง ดูอะไรบ้าง

 

หลังเกิดแผ่นดินไหวมีวิธีเช็กรอยร้าวด้วยตัวเองอย่างไรบ้าง? เบื้องต้นสามารถเช็กลักษณะกำแพงร้าวด้วยการทำตามขั้นตอนต่อไปนี้

 

1. วัดขนาดความกว้าง ใช้ไม้บรรทัดหรือเวอร์เนียร์วัดความกว้างของรอยแตก หากกว้างเกิน 3 มิลลิเมตรถือว่าอันตราย

 

2. ตรวจสอบความลึก ทดสอบโดยใช้บัตรสอดเข้าไปในรอยร้าว หากสามารถสอดเข้าไปได้ลึกแสดงว่ารอยดังกล่าวมีความเสียหายถึงโครงสร้าง

 

3. ติดตามการขยายตัว ทำเครื่องหมายที่ปลายรอยแตกและระบุวันที่เช็ก โดยมีการเช็กรอยดังกล่าวเป็นระยะ ๆ ว่ามีรอยร้าวเพิ่มขึ้นหรือไม่

 

4. สังเกตรูปแบบของรอยร้าว หากเป็นรอยแตกแนวทแยง 45 องศาบอกถึงปัญหาของฐานราก ส่วนรอยแตกแนวดิ่งรอบประตูหน้าต่างอาจเกิดจากการทรุดตัวไม่เท่ากัน

 

สำหรับวิธีซ่อมผนังแตกร้าวเบื้องต้น หากเป็นรอยร้าวหรือรอยแตกขนาดเล็กที่ไม่กระทบโครงสร้าง สามารถใช้วัสดุอุดโป๊วหรือซิลิโคนยาแนวซ่อมแซมได้ แต่หากเป็นการซ่อมรอยร้าวผนังภายนอกควรเลือกใช้วัสดุที่ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความชื้นแทน

 

เจอรอยร้าวอันตราย แจ้งหน่วยงานไหนได้บ้าง?

 

หากคุณกำลังเจอรอยร้าวหรือความเสียหายของอาคารจากแรงแผ่นดินไหวในวันนี้ สามารถแจ้งเหตุผ่าน LINE Official Account: @traffyfondue ไม่ต้องโหลดแอปให้ยุ่งยาก แค่แอดไลน์หรือคลิก https://page.line.me/105rlyvn ก็สามารถแจ้งเหตุได้ทันที

โดยขั้นตอนการแจ้งรอยร้าวอาคาร ผ่าน LINE @traffyfondue มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้

 

1.แอดไลน์ @traffyfondue เพื่อเข้าสู่ระบบแจ้งเหตุผ่านแชต

 

2.เลือกเมนู “แจ้งรอยร้าวอาคาร” เมนูจะปรากฏที่แถบด้านล่างของแชต

 

3.กรอกรายละเอียดและแนบข้อมูลที่จำเป็น โดยระบุข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อความรวดเร็วในการตรวจสอบ ไม่ว่าจะเป็น

 

  • ลักษณะอาคาร เช่น บ้านเดี่ยว, อาคารพาณิชย์, ตึกสูง ฯลฯ
 
  • จำนวนชั้นของอาคาร เช่น 2 ชั้น, 5 ชั้น, 80 ชั้น
 
  • ขนาดของรอยร้าว (ระบุเป็นมิลลิเมตร)
 
  • ชั้นที่พบรอยร้าว ผนังร้าวแนวนอน หรือรอยร้าวคอนกรีต
 
  • ภาพถ่ายหลายมุม ทั้งมุมกว้างและมุมใกล้
 
  • แชร์พิกัด (Location) ที่พบรอยร้าว
 
  • เบอร์โทรศัพท์ สำหรับให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ

 

4. รอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ เจ้าหน้าที่จะตรวจสอบข้อมูลและประสานวิศวกรอาสาเพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบ

 

เราสามารถรับเงินเยียวยาจากเหตุแผ่นดินไหวได้ไหม?

 

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวจนบ้านหรือตึกอาคารเสียหาย เช่น จุดกลางแตก หรือโครงสร้างมีรอยร้าว ผู้ประสบภัยสามารถขอรับเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐได้ โดยไม่จำเป็นต้องเสี่ยงกับเงินกู้นอกระบบที่มีดอกเบี้ยสูงและอาจถูกเอาเปรียบจากเงื่อนไขที่ไม่ชัดเจน

 

  • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ช่วยเหลือค่าที่พักอาศัยที่เสียหายครอบครัวละไม่เกิน 49,500 บาท
  • กรุงเทพมหานคร (สำหรับพื้นที่ กทม.) ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บรายละ 2,000-4,300 บาท และเงินช่วยเหลือค่าจัดการศพกรณีเสียชีวิตรายละ 29,700 บาท
  • องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต./เทศบาล) ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นตามระเบียบของแต่ละพื้นที่
  • ศูนย์พักพิงชั่วคราว จัดเตรียมที่พักอาศัยชั่วคราวให้กับผู้ประสบภัยที่บ้านเสียหายจนไม่สามารถอยู่อาศัยที่อยู่เดิมได้
  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ความช่วยเหลือด้านเครื่องอุปโภคบริโภคและค่าครองชีพชั่วคราว
  • บริษัทประกันภัย หากมีการทำประกันภัยที่ครอบคลุมภัยแผ่นดินไหว สามารถเคลมค่าเสียหายได้ตามเงื่อนไขกรมธรรม์ 

 

เรื่องต้องรู้! 5 ขั้นตอนเคลมประกันภัยแผ่นดินไหว

 

เมื่อบ้านเกิดความเสียหายจากแผ่นดินไหว ไม่ว่าจะเป็นรอยร้าว กำแพงร้าว หรือทรัพย์สินอื่น ๆ เสียหาย หากคุณมีประกันที่ครอบคลุมภัยประเภทนี้ ก็สามารถดำเนินการเคลมได้ตามวิธีเหล่านี้ได้เลย

 

  • ตรวจสอบความคุ้มครองในกรมธรรม์

เช็กให้แน่ใจว่ากรมธรรม์ของคุณมีความคุ้มครองภัยแผ่นดินไหว รวมถึงดูวงเงินและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ระบุไว้

  • เก็บหลักฐานความเสียหายให้ครบถ้วน

ถ่ายภาพและวิดีโอรอยร้าว ผนังแตกร้าว หรือทรัพย์สินที่ได้รับผลกระทบ พร้อมแนบใบเสร็จหรือหลักฐานการซื้อของเสียหายหากมี

  • ติดต่อแจ้งเคลมกับบริษัทประกันภัย

แจ้งเหตุและส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น แบบฟอร์มแจ้งเคลม รูปภาพ และรายการทรัพย์สินที่เสียหาย ไปยังบริษัทประกันหรือตัวแทน

  • รอการตรวจสอบจากบริษัทประกันภัย

บริษัทจะส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อประเมินความเสียหายและตรวจสอบความสอดคล้องกับเงื่อนไขในกรมธรรม์

  • รับผลการพิจารณาและเงินชดเชย

หากเอกสารครบและความเสียหายอยู่ในขอบเขตที่คุ้มครอง จะได้รับเงินชดเชยตามเงื่อนไขและระยะเวลาที่กำหนด (ปกติไม่เกิน 15 วันทำการ)

 

 

เลือกทำประกันที่ใช่กับ CIMB THAI ครอบคลุมความเสี่ยงพร้อมรับมือเหตุการณ์แผ่นดินไหว! 

 

การทำประกันเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยรับมือกับความเสี่ยงและเหตุการณ์ไม่คาดคิดที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ ไม่ว่าจะเป็นอัคคีภัย น้ำท่วม หรือแม้แต่แผ่นดินไหว การมีประกันจะช่วยลดภาระทางการเงินและให้ความอุ่นใจแก่เจ้าของทรัพย์สิน โดยเฉพาะประกันอัคคีภัยจาก CIMB THAI Bank ที่มาพร้อมความคุ้มครองที่ครอบคลุม ทั้งความเสียหายจากไฟไหม้และภัยธรรมชาติอื่น ๆ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วม ลมพายุ เป็นต้น กับเบี้ยประกันราคาคุ้มค่าเริ่มต้นเพียงวันละ 3.5 บาท* และการบริการที่รวดเร็ว ช่วยให้เจ้าของบ้านมั่นใจว่าทรัพย์สินมีหลักประกันรองรับเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน!

 

*คำนวณจากคอนโดมิเนียม ชั้น 1-7, ทุนประกันภัย 1,000,000 บาท โดยมีระยะเวลาคุ้มครอง 1 ปี

 

หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ CIMB THAI Care Center โทร 02 626 7777 หรือติดตามข้อมูลเพิ่มเติมผ่านช่องทางออนไลน์ของธนาคารตามรายละเอียดด้านล่าง