กลโกงออนไลน์ แก๊งคอลเซ็นเตอร์ เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ในยุคดิจิทัล โดยมีมิจฉาชีพหลายประเภท และมีวิธีการหลอกลวงที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น มิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน หลอกขายสินค้าออนไลน์ หลอกให้ทำงานเสริมออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งหากไม่ระวังให้ดี ก็อาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้ ซึ่งผู้ที่ตกเป็นเหยื่ออาจเสียเงิน หรือเสียชื่อเสียงได้
ถ้าเราโดนหลอกโอนเงินทําไงดี?
หากใครก็ตามที่โดนแก๊งมิจฉาชีพหลอกให้เราลงทุน หลอกให้โอนเงิน สิ่งแรกที่ควรทำคือตั้งสติ และ รวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ข้อความสนทนา หลักฐานการโอนเงิน ฯลฯ เพราะว่าเราสามารถแจ้งความโดนหลอกให้ลงทุนออนไลน์กับเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ เพื่อดำเนินคดีกับมิจฉาชีพ นอกจากนี้ ยังสามารถแจ้งไปยังธนาคารหรือผู้ให้บริการทางการเงินที่โอนไป เพื่อขอระงับการโอนเงิน หรือขอคืนเงินได้ หากเงินยังไม่ถูกโอนออกจากบัญชี
10 วิธีรู้ทันกลโกงออนไลน์
เดี๋ยวนี้แก๊งมิจฉาชีพเขาพัฒนากลโกงออนไลน์ให้เราเผลอตกเป็นเหยื่อได้ทุกเมื่อ ดังนั้น การรู้วิธีป้องกันการหลอกลวงออนไลน์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก และนี่คือ 10 วิธีป้องกันตัวจากมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน และหลอกให้เราเสียทรัพย์ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ปลอดภัยจากการโดนหลอกลวงได้
1. ใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละบัญชี
วิธีป้องกันตัวจากมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน ข้อแรก นั่นก็คือ ไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกันกับทุกบัญชี ไม่ว่าจะเป็น บัญชีอีเมล โมบายแบงก์กิ้ง ฯลฯ แม้ข้อดีของการตั้งรหัสผ่านเดียวกับทุกบัญชีที่เรามี จะสะดวกต่อการจดจำ แต่นี่เป็นการเปิดโอกาสให้มิจฉาชีพเข้าถึงบัญชีของคุณได้ง่ายขึ้น ถ้าหากมีบัญชีใด ๆ หนึ่งที่รหัสผ่านหลุด มิจฉาชีพก็อาจเข้าถึงบัญชีอื่น ๆ ที่ใช้รหัสผ่านเดียวกันได้เลย ดังนั้น เพื่อป้องกัน มิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน ควรใช้รหัสผ่านที่แตกต่างกันในแต่ละบัญชี โดยเฉพาะบัญชีที่เกี่ยวกับการเงินหรือข้อมูลส่วนตัว
2. ตั้งค่าการยืนยันตัวตนแบบสองปัจจัย (Two-Factor Authentication)
การยืนยันตัวตนแบบสองปัจจัย (Two-Factor Authentication) หรือ 2FA เป็นวิธีการเพิ่มความปลอดภัยให้กับบัญชีต่างๆ เช่น บัญชีธนาคาร บัญชีอีเมล บัญชีโซเชียลมีเดีย ฯลฯ โดยนอกจากรหัสผ่านแล้ว ผู้ใช้จะต้องป้อนรหัสยืนยันอีกชุดหนึ่งด้วย รหัสยืนยันชุดที่สองนี้ มักส่งมาทาง SMS หรืออีเมล โดยรหัสจะมีอายุการใช้งานสั้น ๆ ดังนั้น แม้จะมีคนขโมยรหัสผ่านไป ก็ไม่สามารถเข้าถึงบัญชีได้หากไม่มีรหัสยืนยัน
3. ไม่หลงเชื่ออีเมลหลอกลวง
อีเมลหลอกลวงเป็นหนึ่งใน กลโกงออนไลน์ ที่มิจฉาชีพใช้ในการหลอกให้คนเปิดอีเมล แล้วคลิกลิงก์ หรือดาวน์โหลดไฟล์ที่แนบมา โดยอีเมลหลอกลวงอาจแอบอ้างเป็นหน่วยงาน หรือบริษัทที่เรารู้จัก เช่น ธนาคาร การไปรษณีย์ หรือเว็บไซต์ช้อปปิ้ง ซึ่งบรรดาแก๊งมิจฉาชีพก็จะใช้สตอรี่ต่าง ๆ เพื่อหลอกล่อให้เราตกหลุมพราง ซึ่งอีเมลหลอกลวงอาจใช้ที่อยู่อีเมลที่คล้ายกับอีเมลจริง แต่มีการเปลี่ยนอักษรบางตัว หรือมีชื่อแปลก ๆ พ่วงท้าย นอกจากนี้ เนื้อหาในอีเมลหลอกลวงอาจมีการใช้ภาษาที่ไม่เป็นทางการ มีการสะกดคำผิด หรือมีการใช้เครื่องหมายวรรคตอนไม่ถูกต้อง เป็นต้น