วิธีการคำนวณภาษีเบื้องต้น
เมื่อรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษี คุณสามารถคำนวณภาษีคร่าว ๆ ได้โดยใช้ขั้นตอนดังนี้
1.คำนวณรายได้รวม
ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โบนัส หรือรายได้เสริมอื่น ๆ
2.หักค่าลดหย่อนต่าง ๆ
เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว (60,000 บาท), ค่าลดหย่อนคู่สมรส, ค่าลดหย่อนบุตร, เบี้ยประกันชีวิต, เบี้ยประกันสุขภาพ, กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (SSF), และอื่น ๆ ที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
3.คำนวณภาษีตามอัตราภาษีขั้นบันได
หลังจากหักค่าลดหย่อนเรียบร้อยแล้ว จะเหลือเป็น “เงินได้สุทธิ” ซึ่งจะนำมาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีขั้นบันไดที่กรมสรรพากรกำหนด (0-35%)
รายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี
รายได้สุทธิตั้งแต่ 150,001 บาท - 300,000 บาท อัตราภาษีจะอยู่ที่ 5%
รายได้สุทธิตั้งแต่ 300,001 บาท - 500,000 บาท อัตราภาษีจะอยู่ที่ 10%
รายได้สุทธิตั้งแต่ 500,001 บาท - 750,000 บาท อัตราภาษีจะอยู่ที่ 15%
รายได้สุทธิตั้งแต่ 750,001 บาท - 1,000,000 บาท อัตราภาษีจะอยู่ที่ 20%
รายได้สุทธิตั้งแต่ 1,000,001 บาท - 2,000,000 บาท อัตราภาษีจะอยู่ที่ 25%
รายได้สุทธิตั้งแต่ 2,000,001 บาท - 5,000,000 บาท อัตราภาษีจะอยู่ที่ 30%
รายได้สุทธิตั้งแต่ 5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษีจะอยู่ที่ 35%
ยื่นภาษีครั้งแรก ใช้เอกสารอะไรบ้าง
มาถึงขั้นตอนของการยื่นภาษี หลายคนอาจสงสัยว่าต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างและขั้นตอนการยื่นภาษีต้องทำยังไง
1. การยื่นภาษีเงินได้จากเงินเดือน (ภ.ง.ด. 91)
สำหรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะมี 2 แบบด้วยกัน นั่นก็คือ
เอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
1.1 หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ)
เป็นเอกสารที่แสดงจำนวนเงินที่นายจ้างหักภาษี ณ ที่จ่ายจากเงินเดือนของพนักงาน โดยหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) สามารถใช้ยื่นภาษีได้ทั้งแบบกระดาษและแบบออนไลน์
1.2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี
อาทิเช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัว ค่าลดหย่อนคู่สมรส ค่าลดหย่อนบุตร ค่าลดหย่อนบิดามารดา ค่าลดหย่อนกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ค่าลดหย่อนอื่นๆ เช่น ค่าเบี้ยประกันชีวิต ค่าบริจาค เป็นต้น
2. การยื่นภาษีเงินได้สำหรับฟรีแลนซ์ (ภ.ง.ด. 90)
สำหรับผู้ที่มีรายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ เช่น นักเขียน นักแปล นักออกแบบ ฯลฯ จะต้องยื่นภาษีด้วยแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 โดยเอกสารที่ต้องเตรียมมีดังนี้
2.1 หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) จากผู้ว่าจ้าง (ถ้ามี)
สำหรับใครก็ตามที่เป็นพนักงานฟรีแลนซ์ที่เงินค่าจ้างเกิน 1,000 บาท ขึ้นไป อย่าลืมขอหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย จากนายจ้างได้ กรณีที่ค่าจ้างต่ำกว่า 1,000 บาท อาจจะเก็บหลักฐานเป็นสลิปการโอนเงิน เนื่องจากจะต้องนำมาคิดรวมเป็นเงินได้พึงประเมิน สำหรับใช้คำนวณเงินได้สุทธิ โดยสูตรการคิดเงินได้สุทธิมาจาก "เงินได้สุทธิ = เงินได้พึงประเมิน – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน"
2.2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี
ฟรีแลนซ์ สามารถลดหย่อนภาษีจากการซื้อสินค้าและบริการ โดยใช้ใบกำกับภาษีที่ได้จากร้านค้านำมาเป็นหลักฐานในการลดหย่อนภาษี, ลดหย่อนภาษีจากการทำประกัน การลงทุน