ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่แม้การใช้จ่ายจะง่ายแค่ปลายนิ้ว แต่มาพร้อมกับภัยคุกคามจากมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน อีกทั้งยังมีกลโกงต่าง ๆ ที่ทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยตกเป็นเหยื่อ แล้วถ้าเราโดนหลอกโอนเงินทําไงดี นี่คือ 5 วิธีป้องกันการถูกหลอกให้โอนเงินในยุคดิจิทัล
ถ้าเราโดนหลอกโอนเงินทําไงดี?
หากใครก็ตามที่โดนแก๊งมิจฉาชีพหลอกให้เราลงทุน หลอกให้โอนเงิน สิ่งแรกที่ควรทำคือ อย่าตกใจ เพราะเราสามารถแจ้งความโดนหลอกให้ลงทุนออนไลน์ รวมถึง แจ้งความหลอกโอนเงินได้ อย่างไรก็ตามให้รีบรวบรวมหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น เบอร์โทรศัพท์ อีเมล ข้อความสนทนา หลักฐานการโอนเงิน ฯลฯ จากนั้นแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อดำเนินคดีกับมิจฉาชีพ นอกจากนี้ ยังสามารถแจ้งไปยังธนาคารหรือผู้ให้บริการทางการเงินที่โอนไป เพื่อขอระงับการโอนเงิน หรือขอคืนเงินได้ หากเงินยังไม่ถูกโอนออกจากบัญชี
5 วิธีป้องกันมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงิน
ในยุคที่การใช้จ่ายและการทำธุรกรรมผ่านระบบดิจิทัลกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน การหลอกลวงทางการเงินผ่านช่องทางออนไลน์กลับเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินด้วยกลวิธี รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อล่อลวงให้เราหลงกล ลองมาดู 5 วิธีต่อไปนี้
1. หมั่นตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลก่อนทำธุรกรรม
ไม่ว่าจะเป็นการโอนเงินผ่านแอปพลิเคชันธนาคารหรือทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ การตรวจสอบแหล่งที่มาก่อนเสมอเป็นสิ่งสำคัญ เช่น ตรวจสอบชื่อบัญชีหรือหมายเลขโทรศัพท์ว่ามีประวัติการโกงหรือไม่ สามารถใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่เป็นฐานข้อมูลกลาง เช่น ศูนย์รวมข้อมูลผู้กระทำผิดทางการเงินออนไลน์ในการตรวจสอบเพื่อความปลอดภัย
2. อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวแก่บุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือ
มิจฉาชีพมักใช้วิธีการหลอกถามข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขบัตรประจำตัวประชาชน เลขบัญชีธนาคาร หรือรหัส OTP ผ่านทางโทรศัพท์หรือข้อความ อย่าให้ข้อมูลเหล่านี้แก่บุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือ หากมีการแจ้งว่าคุณได้รับรางวัลหรือมีการติดต่อจากธนาคาร ให้คุณติดต่อกลับทางช่องทางที่เป็นทางการเท่านั้น
3. ระมัดระวังการคลิกลิงก์หรือดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ
มิจฉาชีพมักส่งลิงก์หรือไฟล์ที่มีไวรัสหรือมัลแวร์แนบมาในอีเมล ข้อความ หรือแอปพลิเคชันโซเชียลมีเดีย เมื่อติดตั้งไวรัสหรือมัลแวร์แล้ว มิจฉาชีพจะสามารถเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์ของคุณได้ หากได้รับลิงก์หรือไฟล์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ควรลบออกทันที และหลีกเลี่ยงการคลิกหรือดาวน์โหลด
4. ใช้รหัสผ่านที่ปลอดภัยและเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ
การใช้รหัสผ่านที่ซับซ้อนและไม่ซ้ำกันในแต่ละแพลตฟอร์ม เช่น รวมตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก ตัวเลข และสัญลักษณ์ จะช่วยเพิ่มความปลอดภัย แนะนำว่าควรเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำ เพื่อป้องกันการถูกแฮ็กหรือถูกเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต หากเป็นไปได้ ควรเปิดใช้การยืนยันตัวตนสองขั้นตอน (Two-Factor Authentication) เป็นวิธีการเพิ่มความปลอดภัยให้กับบัญชีต่างๆ เช่น บัญชีธนาคาร บัญชีอีเมล บัญชีโซเชียลมีเดีย ฯลฯ โดยนอกจากรหัสผ่านแล้ว ผู้ใช้จะต้องป้อนรหัสยืนยันอีกชุดหนึ่งด้วย รหัสยืนยันชุดที่สองนี้ มักส่งมาทาง SMS หรืออีเมล โดยรหัสจะมีอายุการใช้งานสั้น ๆ ดังนั้น แม้จะมีคนขโมยรหัสผ่านไป ก็ไม่สามารถเข้าถึงบัญชีได้หากไม่มีรหัสยืนยัน
5. ติดตามข่าวสารและเรียนรู้วิธีการหลอกลวงที่เป็นปัจจุบัน
มิจฉาชีพมักปรับเปลี่ยนวิธีการหลอกลวงอยู่เสมอ การติดตามข่าวสารและเรียนรู้เทคนิคการโกงใหม่ ๆ จะช่วยให้เราระวังตัวได้ดียิ่งขึ้น หลายธนาคารและองค์กรด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มักออกประกาศเตือนภัยและให้คำแนะนำในการป้องกันตนเองจากการถูกหลอก