คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม

 

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลายคนอาจจะเคยได้ยินคำว่า Social Enterprise หรือ ธุรกิจเพื่อสังคม ที่ถือเป็นธุรกิจใหม่ที่กำลังมาแรง ซึ่งธุรกิจดังกล่าวมุ่งเน้นในการสร้างประโยชน์ต่อสังคมในด้านใดด้านหนึ่งควบคู่ไปกับการทำธุรกิจเพื่อหากำไร ซึ่งต่างจากการทำ CSR ขององค์กรใหญ่ ๆ ที่เป็นเพียงแค่โครงการเท่านั้น ไม่ได้มีการต่อยอดเป็นรูปแบบธุรกิจ บทความนี้ เราจะมาทำความรู้จักกับ ธุรกิจเพื่อสังคม กันให้มากขึ้น ว่ามีอะไรบ้าง และเราสามารถสร้างความยั่งยืนต่อการสร้างรายได้และช่วยเหลือสังคมได้อย่างไร

 

Social Enterprise คืออะไร?

 

ธุรกิจเพื่อสังคม หรือที่รู้จักในชื่อ Social Enterprise (SE) เป็นธุรกิจที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างผลลัพธ์ทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม แตกต่างจากธุรกิจทั่วไปที่เน้นเรื่องของผลกำไรเป็นหลัก โดยกิจการเพื่อสังคมจะมีอยู่ 2 ประเภท นั่นก็คือ

  • องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (Non-profit organization)
  • องค์กรหวังผลกำไรที่ต้องแบ่งปันในสังคม (For-profit organization) 

 

     ซึ่งจะต้องมีระบบการจัดการทางธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้สามารถสร้างรายได้ให้กับธุรกิจในระดับที่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ด้วยตนเอง และมีความยั่งยืนทางการเงิน จากสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นจากการจัดตั้งธุรกิจดังกล่าว

 

ลักษณะของกิจการเพื่อสังคม Social Enterprise เป็นอย่างไร

 

ธุรกิจเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise เป็นอีกหนึ่งแนวทางธุรกิจที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน โดยลักษณะของกิจการเพื่อสังคม จะมีเป้าหมายที่ชัดเจน นั่นก็คือมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมีรูปแบบการดำเนินการที่มีความยั่งยืนทางการเงิน มีแนวทางการหารายได้ด้วยตนเอง นั่นก็คือมีรายได้จากการขาย การผลิตสินค้า หรือการให้บริการเป็นสำคัญ สำหรับสินค้าหรือบริการจะต้องเป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สามารถช่วยแก้ปัญหาการดำเนินงานได้อย่างได้ผล ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ มีกระบวนการผลิตที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมในระยะยาว 

 

อย่างไรก็ตามธุรกิจเพื่อสังคมนี้จะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืนแค่ไหน ขึ้นอยู่กับการใช้แนวคิดธุรกิจยั่งยืนและการใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการสร้างเครือข่ายและพันธมิตรที่เข้มแข็งกับองค์กรภาคเอกชนและภาครัฐที่จะช่วยส่งเสริมให้ Social Enterprise เติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในอนาคต

 

 

ตัวอย่างไอเดียธุรกิจเพื่อสังคม

 

อย่างที่กล่าวไปว่า Social Enterprise คือธุรกิจที่มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนว่าต้องการสร้างผลประโยชน์ที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ปัจจุบัน ในประเทศไทยมีธุรกิจเพื่อสังคมมากมายหลายรูปแบบ เพื่อเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์ธุรกิจแบบแสวงหาผลกำไรไปพร้อมกับการรับผิดชอบต่อสังคม นี่คือบางส่วนของธุรกิจต้นแบบที่มอบสิ่งดี ๆ คืนสู่สังคม มาดูกันว่ามีธุรกิจอะไรกันบ้าง

 

Start Up แนะแนวอาชีพ

ในประเทศไทยมีธุรกิจเพื่อสังคมที่ให้บริการด้านการแนะนำอาชีพผ่านช่องทางออนไลน์ เพื่อให้ทุกคนได้ค้นหาและรู้จักตัวเอง รวมถึงได้ทำงานที่เหมาะสมกับคุณสมบัติและทักษะที่แท้จริงของตัวเองผ่านหลากหลายวิธี อาทิ หลักสูตรพัฒนาความเป็นมืออาชีพนอกห้องเรียน หรือจะเป็น กิจกรรมที่ให้คุณได้ฟังประสบการณ์ทำงานจริงจากบุคคลหลากสาขาอาชีพอีกด้วย

 

แพลตฟอร์มไลฟ์สไตล์เพื่อสังคม

เป็นธุรกิจที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ ผ่านการซื้อของออนไลน์ จะดีแค่ไหน ถ้าเราสามารถ ชอปปิง และ ร่วมช่วยเหลือสังคมไปพร้อม ๆ กัน ปัจจุบันมีแพลตฟอร์มที่จะมาเปลี่ยนไลฟ์สไตล์คนยุคใหม่ภายใต้แนวคิดเพียงแค่ ‘ชอป’ ก็เท่ากับ ‘ช่วย’ สังคม เปลี่ยนรูปแบบการชอปปิงแบบเดิม ๆ ให้กลายเป็นการส่งต่อสิ่งดี ๆ กลับคืนสู่สังคมผ่านการซื้อสินค้าหรือบริการต่าง ๆ 

 

แพลตฟอร์มท่องเที่ยวส่งเสริมวิถีชุมชน

สายเที่ยวต้องถูกใจสิ่งนี้ เพราะปัจจุบันมีแพลตฟอร์มออนไลน์ที่นำเสนอเส้นทางท่องเที่ยววิถีชุมชน ที่ส่งเสริมให้เกิดคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น วิถีชีวิต เอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแพลตฟอร์มท่องเที่ยวนี้ให้บริการด้านการท่องเที่ยวที่ให้คุณได้สัมผัสกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่ถูกคิดขึ้นมาให้สอดคล้องกับจุดเด่นของแต่ละชุมชน ยกตัวอย่างเช่น หมู่บ้านจะทำท่องเที่ยวชุมชน ต้องมีความรู้อะไรบ้าง ผ่านการทำเวิร์กช็อป อีกทั้งยังมีการนำสินค้าและบริการของแต่ละชุมชนนำมาขายผ่านแพลตฟอร์ม โดยรายได้บางส่วนของชุมชนรวมกับกำไร สำหรับนำมาแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อม ระบบสาธารณูปโภคของชุมชน

 

สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพ

เดี๋ยวนี้ สมุนไพรไทย ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เพราะว่ามีแบรนด์ที่ขึ้นชื่อเรื่องการนำสมุนไพรไทยมาใช้ในการดูแลสุขภาพ และได้รับการรับรองจากคณะกรรมการสร้างเสริมกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติเมื่อปี พ.ศ. 2561 ซึ่งมีเป้าหมายหลักในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนไทย นั่นก็คือ "สมุนไพร" มาแปรรูปเป็นตำรับยา เช่น แคปซูลฟ้าทะลายโจร ยาแก้ไอมะขามป้อม ฯลฯ รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ยาสระผม โลชั่น เจลอาบน้ำ เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพโดยนำสมุนไพรมาใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานในการพัฒนาสังคม ทั้งต้นทาง คือ การทำงานกับเกษตรกรและหมอยาพื้นบ้าน

 

และนี่ก็คือเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Social Enterprise ธุรกิจเพื่อการแก้ไขปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ถือเป็นแนวทางที่ดีในการเริ่มต้นเป็นเจ้าของธุรกิจที่มากกว่าแค่การแสวงหาผลกำไร แต่เรายังได้ความสุขใจที่ได้นำเสนอ นวัตกรรม แนวคิด และผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาสังคม อีกทั้งยังมีผลกระทบที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่าคุณจะเป็นนักธุรกิจ นักวิจัย หรือผู้ที่สนใจในการสร้างสังคมที่ดี อีกทั้งเงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท การเริ่มต้นธุรกิจเพื่อสังคมคือการทำสิ่งที่ดีและมีคุณค่าในการสร้างสังคมที่ดีขึ้นสำหรับทุกคนในโลกใบนี้

 

ลูกค้าธุรกิจ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่