คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม

 

     วันนี้ CIMB Thai ฺBank จะมาลงลึกเกี่ยวกับธุรกิจ E-Commerce ให้คุณได้เข้าใจกันไปอีกขั้น ธุรกิจนี้ทำไมส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกในไทยเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แนวทางของธุรกิจแนวนี้เป็นอย่างไร เริ่มจากตรงไหน และมาดูสิว่า E-Commerce ในไทยที่ประสบความสำเร็จมีเคล็ดลับยังไงบ้าง!

 

 

E-Commerce คืออะไรกันนะ?

     อีคอมเมิร์ซ คือธุรกิจที่ทำบนโลกออนไลน์ คือซื้อ-ขายผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์ แอปพลิเคชัน แพลตฟอร์มต่าง ๆ ที่ตอนนี้มีออกมาเยอะแยะมากมายให้คุณเลือกซื้อแทบไม่ไหว การแข่งขันของ ธุรกิจแบบ E-Commerce ก็สูงลิบ แพลตฟอร์มต่าง ๆ พากันหากลยุทธ์มาสู้คู่แข่งแบบดุเดือด 

 

     สินค้าและบริการที่ขายบน “E-Commerce” ก็มีตั้งแต่สินค้าปัจจัย 4 ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ไปถึงการบริการในด้านต่าง ๆ เรียกได้ว่าเป็นการค้าขายที่ไร้ขีดจำกัดจริง ๆ ยิ่งในยุคที่อินเทอร์เน็ตมีครอบคลุมทุกพื้นที่แล้ว ก็ส่งผลทำให้ธุรกิจประเภทนี้เติบโตไวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยหรือตลาดการจำหน่ายสินค้าและบริการทั่วโลก

 

 

ประเภทของ E-Commerce มีอะไรบ้าง

     ต่อมาเราก็จะมาดูกันสิว่าประเภทของ  E-Commerce กันว่ามีธุรกิจประเภทไหนบ้าง จัดตามกลุ่มใหญ่ ๆ ให้เห็นภาพง่าย ๆ ประเภท  E-Commerce ที่พูดถึงมีอยู่ 6 ประเภท ด้วยกัน

  1. B2C (Business to Customer)  คือการทำธุรกิจซื้อขายระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภคโดยตรง เช่นการขายสินค้า เสื้อผ้า อาหาร เป็นธุรกิจ E-Commerce ทั่วไปที่เราพบเจอมากที่สุด
  2. B2B (Business to Business) คือการทำธุรกิจซื้อขายกันระหว่างผู้ประกอบการและผู้ประกอบการ เช่น การส่งของจากโรงงานเพื่อไปยังห้างสรรพสินค้า
  3. B2G (Business to Government) คือการทำธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการและภาครัฐ จัดซื้อ จัดจ้าง สินค้าและบริการเพื่อใช้ในหน่วยงาน
  4. C2C (Customer to Customer) คือการทำธุรกิจซื้อขายกันระหว่างผู้บริโภคและผู้บริโภคด้วยกัน เช่นการส่งต่อสินค้ามือ 2 ซึ่งตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมกันมาก
  5. G2C (Government to Customer)  คือการทำธุรกิจซื้อขายกันระหว่างภาครัฐและประชาชน เช่น การดำเนินเรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับภาษี การแจ้งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตเป็นต้น
  6. G2G (Government to Government) คือการทำธุรกิจซื้อขายกันระหว่างภาครัฐและภาครัฐ อันนี้ค่อนข้างไกลตัว เพราะเป็นการทำธุรกิจของหน่วยงานตรงถึงกันโดยผ่านช่องอินเทอร์เน็ต

 

 

รู้ไว้ไม่เสียหายข้อดี ข้อเสีย ของ E-Commerce

     แน่นอนว่าทุกวิธีการในโลกย่อมมี 2 ด้าน คือด้านดีและด้านไม่ดี ธุรกิจ E-Commerce ก็เช่นเดียวกัน วันนี้เราก็เลยเอามาบอกต่อกันอีกสักที เพื่อให้ทั้งผู้ประกอบการและลูกค้าจะได้รู้เท่าทันว่าดีอย่างไร เสียอย่างไร จะได้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ถูกต้อง

 

ข้อดีธุรกิจ  E-Commerce

     มาดูกันก่อน ว่าธุรกิจแบบ  E-Commerce มีข้อดียังไงบ้าง ที่เป็นปัจจัยสำคัญที่ดันในธุรกิจรูปแบบนี้เติบโตอย่างรวดเร็ว นักลงทุนทั้งธุรกิจขนาดใหญ่หรือการค้าปลีกก็สนใจ ข้อดีที่เราพูดถึงกันอยู่นี้ คือ

 

สะดวกเพียงมีอินเทอร์เน็ต

     อย่างแรกของธุรกิจ E-Commerce คือความสะดวกสบายไม่ว่าจะเป็นการเลือกซื้อการติดต่อ หรือการชำระเงิน แล้วยิ่งสะดวกสบายมากเท่าไหร่ การค้าขายก็จะมีโอกาสสำเร็จตามเป้าหมายมากยิ่งขึ้น ไม่จำเป็นต้องเดินทางออกไปซื้อ เพียงแค่มีอินเทอร์เน็ตก็สามารถซื้อขายได้แล้ว

 

 

ความหลากหลายของสินค้าและบริการ

     ธุรกิจ E-Commerce มีสินค้าและบริการที่หลากหลายให้ลูกค้าได้เลือกซื้อเลือกใช้บริการได้แบบไม่จำกัด ดีกว่าร้านค้าออฟไลน์ที่บางครั้งสินค้าไม่หลากหลายเท่า นี่ก็เป็นอีกข้อดีที่ธุรกิจ E-Commerce มี

 

ง่ายมากสำหรับการเปรียบเทียบราคา

     เมื่อต้องการซื้อของผ่านช่องทางโลกออนไลน์ สิ่งที่คุณจะได้อีกอย่างคือ การเปรียบเทียบราคา เพราะทุกร้านค้าที่ขายสินค้าและบริการแบบ E-Commerce จะสามารถเข้าไปดูราคาแล้วเปรียบเทียบกันได้ทันที นี่ยังไม่นับโปรโมชันต่าง ๆ ที่แต่ละร้านจัดขึ้นเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าสนใจในธุรกิจมากขึ้น ไม่ต้องเดินดูทุกร้านค้าเพื่อเปรียบเทียบราคาก่อนซื้ออีกต่อไป

 

 

ลงทุนน้อย เติบโตง่าย

     ธุรกิจ E-Commerce มีต้นทุนในการเปิดร้านน้อยมาก บางร้านไม่เสียเงินเลยด้วยซ้ำ เพียงแค่มีสินค้าหรือบริการที่ต้องการจะขาย โพสต์ลงโลกออนไลน์ ตามแพลตฟอร์มต่าง ๆ ก็สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้แล้ว และยังมีการเติบโตง่าย หากมีการวางแผนการตลาดอย่างรอบคอบรับรองว่าร้านต้องขยายออเดอร์มากขึ้นได้อย่างแน่นอน

 

ช่องทางการค้าขายหลากหลาย

     การขายสินค้าออนไลน์มีช่องทางการกระจายสินค้าเยอะมากกว่าออฟไลน์ ร้านค้าไม่จำเป็นต้องวิ่งส่งของเองทุกที่ แล้วยังสามารถรับโปรโมชันจากแพลตฟอร์มที่ไปเปิดร้านได้อีก กิจกรรมต่าง ๆ ที่ตลาด E-Commerce นั้นจัดให้จะช่วยเพิ่มยอดขายได้มาก เป็นการทำการตลาดที่ไม่ต้องลงทุนเลยด้วยซ้ำไป

 

ข้อเสียธุรกิจ  E-Commerce ที่คุณต้องยอมรับ

     ธุรกิจ E-Commerce ก็มีข้อเสียอยู่บ้าง ซึ่งแต่ละข้อร้านค้าต่าง ๆ ก็จะมีวิธีแก้ไขแตกต่างกันไป ซึ่งถ้าหากต้องการทำธุรกิจแบบออนไลน์แล้ว ต้องรับข้อเสียเหล่านี้ให้ได้ 

 

 

ลูกค้าไม่ได้สัมผัสสินค้าโดยตรง

     ด้วยธุรกิจ E-Commerce เป็นธุรกิจออนไลน์ที่ผ่านอินเทอร์เน็ต ลูกค้าจะเข้าถึงสินค้าได้จากการดูรูปภาพ วิดีโอและรับข้อมูลที่ผู้ขายใส่ไว้เท่านั้น สำหรับสินค้าบางอย่างที่ลูกค้าจำเป็นต้องสัมผัสจริงก่อนที่จะซื้อ ทางร้านต้องใส่ข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อช่วยให้การตัดสินใจของลูกค้าไวขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้ลูกค้ามั่นใจและกดสั่งซื้อเข้ามา

 

การบริการลูกค้าค่อนข้างจำกัด

     เมื่อมีลูกค้าติดต่อเข้ามาการปิดการขายก็จะเริ่มทำงานทันที แต่ด้วยเป็นการค้าขายออนไลน์ การบริการลูกค้าจึงจำกัด ไม่เหมือนกับร้านค้าทั่วไปที่สามารถแนะนำลูกค้าอย่างใกล้ชิด ดังนั้นการอาศัยเทคนิคในการโน้มน้าวใจเป็นเรื่องที่ต้องเรียนรู้ให้มาก ยิ่งเป็นการบริการออนไลน์ผ่านแชตยิ่งต้องมีวิธีการที่จะสามารถปิดการขายให้สำเร็จ

 

 

ข้อจำกัดของบางแพลตฟอร์ม

     การค้าขายในโลกออนไลน์ถึงจะสะดวก ไม่มีขั้นตอนยุ่งยาก แต่จำเป็นมากที่ร้านค้าต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการทำงานของแพลตฟอร์มที่จะลงขายของ เรียนรู้เครื่องมือออนไลน์ต่าง ๆ ว่าทำงานอย่างไร อะไรที่จะช่วยให้ยอดขายพุ่งทะลุฟ้าได้ บางแพลตฟอร์มมีการปิดกั้นไม่ให้สินค้ามีคนพบเห็น แต่ก็จะมีวิธีการแก้ไข นักธุรกิจ E-Commerce จึงจำเป็นต้องเรียนรู้ให้มาก

 

เสี่ยงต่อการฉ้อโกง

     แน่นอนว่าการซื้อขายสินค้าและบนร้านค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อหรือการขายมีโอกาสที่จะโดนฉ้อโกง หากต้องการซื้อสินค้าควรเลือกแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ ร้านค้าที่สามารถตรวจสอบได้ เพื่อลดโอกาสในการถูกโกง ส่วนร้านค้าก็ต้องมีมาตรการในการป้องกันเช่นเดียวกัน

 

 

E-Commerce เจ้าดังในไทย

     สำหรับธุรกิจ E-Commerce ในไทยนั้นที่เราเห็นกันเยอะมาก ๆ จะเป็นแอปพลิเคชันที่สามารถซื้อขายสินค้าได้ บางแอปมีเว็บไซต์รองรับเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้าชมได้ทั้งในคอมพิวเตอร์และสมาร์ตโฟน ธุรกิจ E-Commerce ใน ไทยที่เราคุ้นดี เช่น Shopee และ Lazada แอปพลิเคชันที่ใช้ซื้อขายสินค้าออนไลน์มีชื่อติดลมบนเป็นที่เรียบร้อย ด้วยนโยบายเชิงรุกเต็มที่ การทำการตลาดของ Shopee มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด เพิ่มยอดขายสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นทุกปี การทำโฆษณาลงทุนกับสื่อต่าง ๆ ทุกช่องทาง

 

     ธุรกิจ E-Commerce คือธุรกิจซื้อขายออนไลน์ที่กำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้ เรียกได้เติบโตแบบก้าวกระโดดด้วยข้อดีที่ปฏิเสธไม่ได้ ความสะดวกสบายของการจับจ่ายใช้สอยมีส่วนผลักดันให้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นในไทยหรือต่างประเทศ 

 

 

ลูกค้าธุรกิจ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่

 

 

Ref.

Blog.cariber.co

Fillgoods.co