คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม

 

วันนี้ CIMB Thai Bank จะพาคุณมารู้จักสองโมเดลทางธุรกิจที่เราคุ้นเคยกันดีอย่าง SMEs และ StartUp มาดูสิว่าทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกันในด้านไหนบ้าง และมีด้านไหนที่คล้ายกันจนแยกแทบไม่ออก มาเริ่มกันเลย!

 

SMEs คืออะไร? 

 

SMEs นั้นย่อมาจากคำว่า Small and Medium Enterprises แปลตรงตัวได้ว่า “ธุรกิจขนาดเล็ก” หรือ “ธุรกิจขนาดกลาง”มักเป็นธุรกิจที่เกิดขึ้นเล็ก ๆ ในครอบครัวแบบแผนสบาย ๆ แล้วต่อยอดมาเรื่อย ๆ จนเป็นธุรกิจที่ใหญ่ขึ้น การวางแผนจัดการจะอยู่ที่เจ้าของเดียวเป็นหลัก หลายคนคิดว่าเป็นธุรกิจที่ต้องยิ่งใหญ่ มีแบบแผน มีคนให้เงินทุน เพราะแต่ละธุรกิจที่ได้ออกรายการ SMEs ตีแตก มักจะเป็นธุรกิจที่เริ่มเติบโตมาก ๆ อย่าง Diamond Grains, Shichida หรือหมูทอดเจ๊จง

 

StartUp คืออะไร?

 

StartUp คือโมเดลธุรกิจอีกรูปแบบหนึ่งที่เริ่มจะซับซ้อนกว่าธุรกิจแบบ SMEs จะมีแบบแผนหลายอย่างมากยิ่งขึ้น เริ่มมีนักลงทุนเข้ามามีบทบาท เป็นธุรกิจที่เติบโตได้แบบก้าวกระโดด มีแผนการขยายในอนาคตแน่นอน ธุรกิจแบบนี้จะต้องมีการรายงานผล การวัดผล ด้วยมีนักลงทุนเข้ามาลงทุนด้วย หรือต้องใช้แผนทางธุรกิจสรุปเพื่อนำเสนอต่อนักลงทุน ดูรูปแบบแล้วคิดถึงซีรีส์เกาหลีชื่อดังอย่าง StartUp การทำโครงการ วางแผน ครีเอทธุรกิจสินค้าหรือบริการให้โดนใจนักลงทุน ในเรื่องนี้เห็นได้ชัดเจนมาก ใครที่อยากเริ่มธุรกิจแบบ StartUp ลองไปดู เผื่อจะได้แรงบันดาลใจดี ๆ มาต่อยอดธุรกิจของคุณได้

ข้อดี ข้อเสียของธุรกิจ SMEs และ StartUp

 

ข้อดีของ SMEs

  • ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษี ความรู้ในการประกอบธุรกิจ หรือแหล่งเงินกู้
  • ได้รับการสนับสนุนจากเอกชนชั้นนำเป็นการสร้างคอมมูนิตี้
  • สามารถปรับเปลี่ยนธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว

 

ข้อดีของ StartUp

  • ยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเหมือน SMEs 
  • ได้รับการสนับสนุนสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมจาก Starup Thailand
  • ได้รับการสนับสนุนสภาพแวดล้อมทางอุตสาหกรรมจากภาคเอกชน 
  • ไม่ต้องเสี่ยงลงทุนด้วยตัวเอง
  • เติบโตไวเพราะได้รับการสนับสนุนจากหลายด้าน

 

ข้อเสียของ SMEs

  • ปรับเปลี่ยนโครงสร้างได้ยาก เพราะมักเกิดจากธุรกิจภายในครอบครัว
  • มีต้นทุนที่สูง
  • ต้องใช้กำลังมากในการสร้างกลุ่มลูกค้า

 

ข้อเสียของ StartUp

  • ทำการตลาดค่อนข้างยาก
  • การลงทุนมีความเสี่ยง
  • ไม่มีทรัพย์สินถาวร ไม่มีมูลค่าทางธุรกิจ

 

 

ความแตกต่างของ SMEs และ StartUp คือ

แน่นอนว่าทั้งสองรูปแบบธุรกิจมีเส้นบาง ๆ กั้นอยู่ เราก็เลยจัดทำตารางมาให้เห็นกันชัด ๆ ว่าข้อแตกต่างมีอะไรบ้าง แบ่งตามขนาดของธุรกิจ การเริ่มต้น เงินทุนและเงินหมุนในการทำธุรกิจ ได้ออกมาว่า

การทำการตลาดของธุรกิจ SMEs และ StartUp

รู้ความแตกต่างของทั้งสองธุรกิจกันไปแล้ว มาดูสิ่งที่เหมือน และคล้ายคลึงกันบ้าง แนวทางการทำการตลาดของธุรกิจ SMEs และ StartUp พูดได้เลยว่ากว่า 90% นั้นล้มเหลวเพราะทำการตลาดไม่ตรงจุด เจ้าของธุรกิจต้องศึกษาการทำการตลาดให้ดี โดยอ้างอิงตามกลยุทธ์ ดังนี้

 

1. เจาะกลุ่มเป้าหมายให้ถูกต้อง

ต้องรู้จักกลุ่มเป้าหมายที่จะกลายเป็นลูกค้าของธุรกิจในอนาคต ศึกษาพฤติกรรม ความพอใจของพวกเขา และยิงโฆษณาไปให้ตรงจุด โดยเฉพาะทางโซเชียลมีเดียต่าง ๆ หากเราวางเป้าหมายได้อย่างชัดเจนก็จะทำให้เราประหยัดค่ายิงโฆษณาลงอีกด้วย

 

2. เพิ่มการติดต่อสื่อสารให้มากกว่า 1 ช่องทาง

พยายามใกล้ชิดกับลูกค้าให้มากขึ้น ด้วยการใช้สื่อหลาย ๆ ช่องทาง หรือหลายแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น Facebook, IG หรือ Line เพื่อสื่อสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการของเรา และสามารถสร้างโอกาสในการขายให้มากยิ่งขึ้น

3. สร้างกระแส

พอเราได้ขึ้นไปอยู่บนสื่อโซเชียลแล้ว การติดกระแสเป็นเรื่องที่สำคัญมาก สร้างกระแสพลังบวกที่จะเพิ่มการแชร์คอนเทนต์ของคุณออกไป ให้แบรนด์เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น คอนเทนต์ต้องสร้างสรรค์ น่าสนใจ และโปรโมตสินค้าหรือบริการได้อย่างตรงประเด็น

 

4. สร้างเครือข่ายผู้บริโภค

คิดหากลยุทธ์ในการตลาดที่น่าสนใจ เพื่อสร้างลูกค้าใหม่จากการบอกต่อ ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชัน การบริการหลังการขายสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่คุณมอบให้ลูกค้าได้ เมื่อลูกค้ารู้สึกคุ้มค่า รู้สึกว่าดี ก็จะเกิดการบอกต่อ นั่นแหละ เครือข่ายของผู้บริโภคของคุณก็เกิดขึ้นแล้ว

5. วิเคราะห์จากสถิติ

ไม่ว่าจะเป็นการทำการตลาด online และ offline ถ้าคุณอยากได้ข้อมูลของผู้บริโภคเพื่อนำไปวิเคราะห์ว่า ข้อมูลสินค้า กลยุทธ์ทางการขาย วิธีที่สื่อสารมีผลต่อลูกค้าอย่างไร การเก็บสถิติมีประโยชน์มาก ในข้อนี้หากคุณทำธุรกิจ SMEs หรือ StartUp บนช่องทาง online ก็จะทำได้ง่ายกว่า แต่ไม่ใช่ว่าแบบ offline จะทำไม่ได้เลย เพราะยังมีช่องทางแบบสอบถามที่คุณสามารถเก็บจากลูกค้าที่ซื้อสินค้าและบริการของคุณได้

ตัวอย่างธุรกิจ SMEs และ StartUp ในประเทศไทย

ในประเทศไทยนั้นมีธุรกิจทั้งสองประเภทนี้อยู่มากมาย บางธุรกิจมีชื่อเสียงไปไกลระดับโลกเลยทีเดียว ถึงบางธุรกิจจะยังเป็นเพียง unicorn startup แต่ก็ได้รับความสนใจจากตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก

อ่านมาจนถึงตรงนี้แล้ว หลายคนอาจจะพอเข้าใจเรื่อง SMEs และ Startup มากขึ้นแล้ว อยากเลือกที่จะเริ่มทำธุรกิจเป็นของตัวเองหรือยัง? เลือกให้ถูกเลือกให้ดีแต่ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบ SMEs หรือ StartUp ทั้งสองสิ่งก็คือการทำธุรกิจที่ต้องลงทุน ลงแรง เสียสละเวลาเพื่อจะคิด วิเคราะห์ แยกแยะ วางแผนต่าง ๆ เพื่อให้กิจการดำเนินไปได้อย่างดีในอนาคต และสำหรับนักลงทุนมือใหม่สิ่งที่ต้องรู้และทำความเข้าใจอีกอย่างคือ “ทุกการทำธุรกิจคือความเสี่ยง และทุกความเสี่ยงคือการลงทุน” ลูกค้าธุรกิจสามารถดูผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก

 

 

 

Ref.

Thewisdom.co

Shortrecap.co

Techsauce.co