คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม

 

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สนับสนุนการจัดการทรัพยากรทางการเงินเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่า

 

 

    คุณ เจสัน ลี (Jason Lee) ผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืนที่ได้รับการรับรองจาก GRI ซึ่งขับเคลื่อนวาระ ESG และความยั่งยืนในช่วงห้าปีที่ผ่านมา ปัจจุบันดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายความยั่งยืนของธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย หนึ่งในสมาชิกกลุ่มซีไอเอ็มบี กล่าวว่า “ปัญหาการจัดการด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมในปัจจุบัน ล้วนเป็นผลจากการกระทำในอดีต อาทิ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรม ซึ่งต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการแก้ไขและเยียวยาเพื่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการลด ละ เลี่ยงอันตรายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับโลกของเรา และลูกหลานในอนาคต”

 

    การสร้างอนาคตที่ดีขึ้นนั้น ต้องใช้ทรัพยากรทางการเงินจำนวนมาก ตามรายงานที่เผยแพร่ระหว่างการประชุมภาคีแห่งสหประชาชาติ (COP 27) ปี 2565 ระบุว่า ประเทศที่กำลังพัฒนา 1 ประเทศจะต้องใช้เงินทุน 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีเพื่อให้สามารถบรรลุแผนปฏิบัติการด้านสภาพภูมิอากาศที่กำหนดไว้ในข้อตกลงปารีสได้

 

    ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการทรัพยากรทางการเงินเพื่อเป็นทุนในการดำเนินการและเพื่อให้แผนงานบรรลุวัตถุประสงค์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยมี 3 วิธี ดังนี้

 

วิธีแรก การลงทุนในตราสารหนี้ความยั่งยืนและการลงทุนเพื่อสร้างผลกระทบส่งผลให้เกิดแรงขับเคลื่อนในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เร่งด่วนที่สุดในโลก ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีการเพิ่มขึ้นของแรงผลักดันในการสร้างผลกระทบเชิงบวกผ่านตลาดตราสารหนี้ความยั่งยืน ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ให้ความสำคัญต่อธรรมาภิบาล ความโปร่งใส และการวัดผลที่ดีขึ้น

    The Climate Bonds Initiative (CBI) รายงานว่า ตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Bond) ตราสารหนี้เพื่อพัฒนาสังคม (Social Bond) ตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ตราสารหนี้ส่งเสริมความยั่งยืน(Sustainability-Linked Bond) และ ตราสารหนี้การเปลี่ยนผ่าน (Transition Bond) มีปริมาณการซื้อขาย 3.5 ล้านล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ณ วันสิ้นรอบไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ตราสารหนี้เหล่านี้เรียกอีกอย่างว่าตราสารหนี้ "Use of Proceed Bond"

    หน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนสามารถออกตราสารหนี้เพื่อเพิ่มทุนและทรัพยากรทางการเงินที่จำเป็นในการดำเนินการเบื้องต้นเพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมเฉพาะหน้าได้อย่างทันท่วงที และเพื่อเป็นทุนสนับสนุนโครงการเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับนักลงทุนแล้วเครื่องมือทางการเงินเหล่านี้มีไว้ให้ลงทุนเพื่อสภาพคล่องในระยะยาว โดยนักลงทุนจะได้รับดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทน

    หลักการของตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Bond Principles) ของสมาคมตลาดทุนระหว่างประเทศ (ICMA) สนับสนุนให้ผู้ออกตราสารหนี้เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนซึ่งส่งเสริมเศรษฐกิจที่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

    ผู้ออกตราสารหนี้จะต้องรายงานการใช้เงินที่ได้รับจากการระดมทุนจากตราสารหนี้เพื่อสิ่งแวดล้อมเพื่อความโปร่งใสและสร้างความสะดวกในการติดตามเงินทุน เช่นเดียวกับตราสารหนี้เพื่อสังคมและตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืน

    ตราสารหนี้ "Use of Proceed Bonds" เหล่านี้จะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบเช่นเดียวกับตราสารหนี้อื่น ๆ แต่บางครั้งจะมีให้คะแนนด้าน ESG เพิ่มเติมเพื่อแสดงถึงปัจจัยเสี่ยงที่ไม่ได้สะท้อนให้เห็นในการวัดผลการดำเนินงานทางการเงินแบบดั้งเดิม

    ณ สิ้นปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยได้กลายเป็นหนึ่งในแหล่งตราสารหนี้เพื่อความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนเพื่อเป็นทุนสนับสนุนโครงการด้านความยั่งยืน โดยมีปริมาณสะสมอยู่ที่ 5.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ

    ดังนั้น เราสามารถลงทุนในตราสารหนี้ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสังคม หรือเพื่อความยั่งยืน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของทรัพยากรทางการเงินเพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่า

 

วิธีที่สอง เกี่ยวข้องกับรัฐบาลและประชาชน ใช้รายได้จากภาษีส่วนบุคคลและภาษีธุรกิจเป็นทุนสนับสนุนกิจกรรมของรัฐบาล รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ เพื่อให้ประเทศบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (UN-SDGs) อย่างไรก็ตาม ประชาชนบางส่วนอาจกังวลเกี่ยวกับความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของการจัดสรรงบประมาณภาครัฐ หากรัฐบาลจัดสรรงบประมาณไม่รอบคอบอาจทำให้หนี้ของประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งขัดแย้งกับการพัฒนาที่ยั่งยืน

 

วิธีที่สาม การบริจาคให้กับมูลนิธิการกุศลหรือองค์การนอกภาครัฐ (NGO) โดยผู้บริจาคเงินสามารถนำจำนวนเงินบริจาคไปหักเป็นค่าลดหย่อนภาษีได้ จากรายงาน ณ สิ้นปี พ.ศ. 2564 พบว่ามี NGO ในท้องถิ่นมากกว่า 25,000 แห่งและ NGO ต่างประเทศ 87 แห่งในประเทศไทย แม้ว่าจะมีมูลนิธิและ NGO มากมาย แต่ยังไม่มีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการไหลของเงิน ทั้งนี้เนื่องจากแหล่งที่มาของเงินทุนและการใช้เงินที่ได้รับบางครั้งก็ไม่ได้มีการเปิดเผยอย่างครบถ้วน

    เมื่อกล่าวถึงประเด็นด้านภาษีและเงินบริจาคเพื่อการกุศล เราได้แต่หวังว่าเงินจำนวนมากมายที่มอบให้กองทุนของรัฐบาลหรือ NGO จะถูกนำไปใช้อย่างเหมาะสม  และทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งยังมีธรรมาภิบาลที่ดีขึ้น มีความโปร่งใสมากขึ้น และได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน