คุณอยู่ที่

  • บทความ
  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • เกี่ยวกับเรา
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
เกี่ยวกับเรา
Financial Guru
Business Maker
Lifestyle Tips
ลงทุน
บริการโอนเงินระหว่างประเทศ
CIMB THAI App
ข่าวและกิจกรรม
อัตราและค่าธรรมเนียม

 

 

เจสัน ลี ผู้บริหารฝ่ายความยั่งยืน ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารพร้อมเดินหน้าสนับสนุน การเงินเปลี่ยนผ่าน (Transition Finance) เปลี่ยนโลกให้สะอาดขึ้น โดยเน้นกลุ่มธุรกิจน้ำมัน & ก๊าซ (Oil & Gas) และพลังงาน (Power) เพราะด้วยลักษณะธุรกิจเป็นกลุ่มที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในสัดส่วนมากที่สุด ประมาณ 70% ของอุตสาหกรรมทั้งหมด

 

ธุรกิจกลุ่ม Oil & Gas ได้แก่ โรงกลั่นน้ำมัน แท่นขุดเจาะน้ำมัน ขณะที่ธุรกิจกลุ่ม Power คือ โรงไฟฟ้า ซึ่งขณะนี้ ธนาคารเล็งเห็นภาคธุรกิจ 2 กลุ่มนี้ มีความต้องการเงินทุนเพื่อนำไปลงทุนในทรัพยากร คน อุปกรณ์ เครื่องมือ องค์ความรู้ และเทคโนโลยี ที่จะส่งผลให้การดำเนินธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำ ตลอดจนปลายน้ำ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงอย่างเป็นรูปธรรม

 

“ธนาคารให้ความสำคัญกับ 2 กลุ่มนี้เป็นอันดับแรก เพราะจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงกว้างและช่วยการลดก๊าซเรือนกระจกปริมาณมาก ที่น่ายินดีคือจากการสำรวจพบว่าธุรกิจ 2 กลุ่มนี้มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจโดยเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นรูปธรรม และมีความต้องการการสนับสนุนทางการเงินอย่างชัดเจน (Committed  Demand) วงเงินรวมกันจำนวน 20,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคาร CIMB Thai พร้อมตอบสนอง Transition Finance ในส่วนนี้ ภายใน 24 เดือน ด้วยผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan) ตราสารหนี้เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน (Transition Bond) และสินเชื่อเปลี่ยนผ่านเพื่อความยั่งยืน (Transition Loan) เพื่อสอดคล้องกับเป้าหมายตามหลักวิทยาศาสตร์ (Science-based Targets) หรือเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่บริษัทต่างๆ กำหนดขึ้นเพื่อจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก (1.5 องศาเซลเซียส)” เจสัน ลี กล่าว

 

           นอกจากความพร้อมให้การสนับสนุนด้านการเงิน CIMB Thai ยังมี ESG Advisory ที่พร้อมให้คำแนะนำการเปลี่ยนผ่านอย่างมีหลักการ แก่กลุ่มธุรกิจอีกด้วย เพื่อให้การเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมบรรลุเป้าหมาย โดยการสนับสนุนทางการเงินในครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม (Just Transition) อีกด้วย

 

          ทั้งนี้ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ได้ลงนามความร่วมมือ Sustainability Linked Loan จำนวน 3,000 ล้านบาท กับ บริษัท แอสเสท เวิรด์ คอร์ป (AWC) เมื่อปี 2566 โดยมีลักษณะสอดคล้องกับเป้าหมายของผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน (Sustainability Performance Targets: SPTs) รวมถึงการลดการปล่อยคาร์บอน Scope 1 (ทางตรง) และ Scope 2 (ทางอ้อม) ต่อปี จนได้รับรางวัล Best Sustainability Linked Loan จาก The Digital Banker: Global Finance Awards 2024 นอกจากนี้ ธนาคารกำลังเสนอการจำหน่ายตราสารหนี้สีเขียว (Green bond) วงเงิน 2,000 ล้านบาท เพื่อระดมเงินทุนสำหรับปล่อยกู้ให้โครงการสีเขียว ขณะที่กลุ่มซีไอเอ็มบี บริษัทแม่ของซีไอเอ็มบี ไทย ประกาศชัดว่าความยั่งยืนเป็นกลยุทธ์หลักของธุรกิจ ไม่ใช่เพียงคำศัพท์ พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายด้านการเงินเพื่อส่งเสริมความยั่งยืนเป็น 1 แสนล้านริงกิต หรือ 7.7 แสนล้านบาท ภายใน ปี 2564-2567.