คุณอยู่ที่

  • ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • ช่องทางบริการธนาคาร
  • บริการช่วยเหลือ
  • ลิงก์ด่วน
ผลิตภัณฑ์ธนาคาร
  • เงินฝาก
  • บริการธุรกรรมต่างประเทศ
  • บริหารเงินสด
ช่องทางบริการธนาคาร
บริการช่วยเหลือ
ลิงก์ด่วน

คุณลักษณะเด่นและสิทธิประโยชน์

ลดความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
บัญชีที่เลือกตามความต้องการ
บริการหลากหลายสกุลเงิน

รายละเอียดประเภทบัญชีที่ลูกค้าสามารถเลือกเปิดได้ดังนี้

FCD  บัญชีสำหรับนิติบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศ (Resident)
ยอดเงินคงเหลือ แหล่งที่มาของเงินฝาก วิธีการนำฝากเงินเข้าบัญชี  การถอนเงินจากบัญชี
ไม่จำกัดจำนวน

• แหล่งเงินได้ในต่างประเทศ เช่น รับชำระค่าสินค้า ค่าบริการ เป็นต้น 

• รับเงินกู้จากต่างประเทศ 

• รับเงินเดือนจากต่างประเทศ

• เงินที่รับโอนจากบัญชีที่มีรายได้จากต่างประเทศ 

• เงินที่รับโอนจากบัญชี FCD อื่นของตน และบัญชี FCD ของบุคคล / นิติบุคคลไทยอื่น

• เงินตราต่างประเทศมาจากการซื้อ แลกเปลี่ยน หรือกู้ยืมจากธนาคารในประเทศไทย 

วิธีการนำฝากเงิน

• รับเงินโอนเข้าจากต่างประเทศ

• การโอนเงินระหว่างบัญชี FCD

• นำเงินบาทมาซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อฝากเข้าบัญชี FCD

• เงินกู้จากธนาคารในประเทศ 

การถอนเงิน

• ถอนเพื่อชำระภาระผูกพันในต่างประเทศ 

• ถอนเพื่อฝากเข้าบัญชี FCD ของ Non-resident รวมถึงการชำระแทนกิจการในเครือในประเทศ 

• ถอนเพื่อฝากเข้าบัญชี FCD อื่นของตนเอง และบัญชี FCD ของ Resident อื่น

• ถอนเพื่อฝากเข้าบัญชี FCD ของธนาคาร หรือผู้ประกอบธุรกิจปัจจัยชำระเงินตราต่างประเทศตามแต่กรณี รวมถึงการชำระแทนกิจการในเครือในประเทศ 

• ถอนเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นสกุลเงินบาท 

• ถอนเพื่อชำระหนี้เงินกู้และค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องสกุลต่างประเทศ ให้กับธนาคารในประเทศไทย

 

 

วิธีการรับเงิน 

• ถอนเพื่อแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาท

• ถอนเพื่อโอนเงินไปต่างประเทศตามวัตถุประสงค์ที่ ธปท. กำหนด

• ถอนเพื่อโอนเงินระหว่างบัญชี FCD

    เอกสารประกอบการนำฝากเงินเข้าบัญชี เอกสารประกอบการถอนเงินจากบัญชี
    • ไม่ต้องยื่นเอกสารหลักฐาน • กรณีถอนเพื่อชำระภาระผูกพันในต่างประเทศ/กรณีถอนเพื่อฝากเข้าบัญชี FCD ของ Non-resident รวมถึงการชำระแทนกิจการในเครือในประเทศ ต้องแสดงเอกสารภาระผูกพันตามหลักเกณฑ์ที่ธปท. กำหนด
FCD บัญชีสำหรับนิติบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non- Resident)
ยอดเงินคงเหลือ แหล่งที่มาของเงินฝาก วิธีการนำฝากเงินเข้าบัญชี  การถอนเงินจากบัญชี
ไม่จำกัดจำนวน

• แหล่งเงินได้ในต่างประเทศ

• รับโอนมาจากบัญชี FCD อื่นของตน หรือบัญชี FCD ของผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ (Non-Resident : NR) รายอื่น

• เงินตราต่างประเทศมาจากการซื้อ แลกเปลี่ยน หรือกู้ยืมจากธนาคารในประเทศไทย 

• เงินตราต่างประเทศที่ถอนเงินบาทจากบัญชี NRBA หรือ NRBS ไปซื้อเพื่อฝากเข้าบัญชี FCD ของตนเอง

• เงินตราต่างประเทศที่ชาวต่างประเทศนำเงินบาทมาซื้อเพื่อฝากเข้าบัญชี FCD (เฉพาะเงินบาทที่ได้รับจากการทำงานในประเทศไทย) 

วิธีการนำฝากเงิน

• รับเงินโอนเข้าจากต่างประเทศ

• นำเงินบาทมาซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อฝากเข้าบัญชี FCD

• เงินที่โอนระหว่างบัญชี FCD ของบุคคล / นิติบุคคล ที่มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ (Non-Resident : NR) รายนั้น

• เงินที่โอนจากบัญชี FCD ของบุคคล / นิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย เพื่อชำระภาระผูกพันให้แก่บุคคล / นิติบุคคลต่างประเทศโดยฝากเข้าบัญชี FCD

การถอนเงิน

• กรณีถอนรับเป็นสกุลเงินต่างประเทศ ถอนได้ทุกกรณี 

วิธีการรับเงิน 

• ถอนเพื่อแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาท

• ถอนเพื่อโอนระหว่างบัญชี FCD

• ถอนเพื่อโอนไปต่างประเทศ

*กรณีถอนและรับเป็นเงินบาท สามารถทำได้ภายใต้วงเงิน ตามหลักเกณฑ์ที่ธปท. กำหนด ดังนี้

 1. Value Today / Tom ไม่เกิน 200 ล้านบาทต่อกลุ่มบุคคล / นิติบุคคล ที่มีถิ่นฐานอยู่นอกประเทศ (Non-Resident : NR)  โดยรวมธุรกรรมปล่อยสภาพคล่องเงินบาทอื่น

 2. Value Spot ทำได้ไม่จำกัดจำนวน

ไม่เกินภาระผูกพันของ บุคคล / นิติบุคคลไทย • รับชำระจากบุคคล / นิติบุคคลไทยตามหลักเกณฑ์ที่ธปท. กำหนด     
    เอกสารประกอบการนำฝากเงินเข้าบัญชี เอกสารประกอบการถอนเงินจากบัญชี
    กรณีนำเงินบาทมาซื้อเงินตราต่างประเทศ ตั้งแต่ USD 200,000 หรือเทียบเท่าเพื่อฝากเข้าบัญชี FCD ต้องแสดงเอกสารแหล่งที่มาของเงินบาท เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน เป็นต้น   • ไม่ต้องยื่นเอกสารหลักฐาน

 

เอกสารประกอบการเปิดบัญชี

 

บริษัท จำกัด / บริษัท มหาชน

1. บัตรประชาชน แนบสำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้มีความสัมพันธ์กับนิติบุคคล (ในกรณีบุคคลต่างชาติ – หนังสือเดินทาง / ที่อยู่ที่พำนักในประเทศไทย)

  • กรรมการบริหาร กรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
  • ผู้มีอำนาจลงนาม
  • ผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 25 ขึ้นไป

2. รายงานการประชุมที่มีมติให้มีการเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารที่ลงนามรับรองโดยผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทน พร้อมกำหนด ผู้มีอำนาจลงนามสั่งจ่ายและเงื่อนไขในการสั่งจ่าย

3. หนังสือรับรอง/หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล (อายุไม่เกิน 3 เดือน)

4. หนังสือจัดตั้งห้าง หนังสือข้อตกลงของผู้เป็นหุ้นส่วน / ข้อบังคับ (ถ้ามี)

5. เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร

6. หนังสือมอบอำนาจ (ถ้ามี)

ผู้ที่เกี่ยวข้องกับนิติบุคคล เอกสารการแสดงตน

1) ผู้ลงนามในการทำธุรกรรมทางการเงินกับ

ธนาคาร (เช่น เปิดบัญชี) ทุกท่าน

2) ผู้ลงนามในการทำธุรกรรมกับธนาคาร

(เช่น สั่งจ่ายเงินจากบัญชี) ทุกท่าน

- บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ บัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือบัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือใบอนุญาตขับขี่รถยนต์รุ่นใหม่ที่ระบุเลขประจำตัวประชำชนบนบัตรที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ หรือหนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญประจำตัวที่รัฐบาล หรือหน่วยงานของรัฐเจ้าของสัญชาติออกให้ (กรณีบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยให้ขอเอกสารหรือข้อมูลชื่อประเทศเจ้าของสัญชาติ)

 

- ทะเบียนบ้าน (กรณีบัตรแสดงตนของบุคคลสัญชาติไทยไม่ระบุที่อยู่ไว้บนบัตร) และให้ขอเอกสาร/ข้อมูลแสดงถิ่นที่อยู่ปัจจุบันในประเทศไทย หรือที่อยู่ที่สามาถติดต่อได้ (กรณีบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทย)

3) ผู้ถือหุ้นของนิติบุคคลที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 25

ของหุ้นที่ออกจำหน่ายได้แล้วทั้งหมด

*(เฉพาะทอดที่ 1 เท่านั้น)

4) กรรมการผู้มีอำนาจลงนามแทนนิติบุคคลทุกท่าน

5) ผู้บริหารระดับสูงสุดของนิติบุคคล

6) ผู้ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง

บัตรประจำตัวประชาชน หรือ

บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ

บัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจ หรือ

บัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือ

ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์รุ่นใหม่ที่ระบุเลขประจำตัวประชาชนบนบัตรที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ หรือ หนังสือเดินทาง หรือใบสำคัญประจำตัวที่รัฐบาลหรือหน่วยงานของรัฐเจ้าของสัญชาติออกให้ (กรณีบุคคลซึ่งไม่มีสัญชาติไทยให้ขอเอกสารหรือข้อมูลชื่อประเทศเจ้าของสัญชาติ)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย TB Hotline 02 626 7771

ทุกวันทำการ ตั้งแต่เวลา 8:30 – 17:00 น. หรืออีเมล tbhotline@cimbthai.com