You Are In

  • Why Us
  • Wealth Solutions
  • Market Perspective
  • How to become CIMB Preferred
  • Help & Support
  • Quicklink
CIMB Rewards Program
Preferred Promotions
Events and Seminars
Know Your Risk Appetite
Wealth Solution Products
2025 Outlook
Monthly Investment
Highlighted Fund
Mutual Fund
Quarterly Outlook
Lifestyle
Structured Debenture
Financial Planning

Financial Health Check: สุขภาพการเงินของเรา แข็งแรงแค่ไหน?  

 

หลักสำคัญของการสร้างความยั่งยืนทางการเงินส่วนบุคคล ไม่ใช่การแสวงหาความมั่งคั่งร่ำรวย แต่หมายถึงความมั่นคงทางการเงินมากกว่า (ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย)

 

ในยุคที่ชีวิตเต็มไปด้วยความเร่งรีบ การดูแล “สุขภาพการเงิน” เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการตรวจสุขภาพทางการเงิน (Financial Health Check) จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมสถานะการเงินของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น เพื่อใช้วางแผนอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

 

การมี “สุขภาพการเงินที่ดี” หมายถึง การมีฐานะทางการเงินที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิต ไม่เดือดร้อนเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน และมีพื้นฐานสำหรับสร้างความมั่นคงในระยะยาว

 

หากไม่อยากเจอกับปัญหาทางการเงินในอนาคต การตรวจสุขภาพการเงินตั้งแต่วันนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่เราสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองโดยคำนวณได้จาก 3 สูตรดังต่อไปนี้

 

เงินออมฉุกเฉินเพียงพอหรือไม่?

 

  • สูตรคำนวณ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อเดือน x 6
  • ควรมีอย่างน้อย 3 - 12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน อาจขึ้นอยู่กับอาชีพ เช่น คนที่ทำอาชีพอิสระที่มีรายได้แต่ละเดือนไม่แน่นอน อาจต้องมีอัตราส่วนเงินสำรองฉุกเฉินมากกว่าคนที่มีอาชีพประจำ
  • เงินออมฉุกเฉิน ควรเป็นเงินที่มีสภาพคล่องสูงสามารถถอนออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็วหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น

 

ภาระหนี้สินต่อเดือนเยอะเกินไปหรือเปล่า?

 

  • สูตรคำนวณ ภาระผ่อนหนี้สินต่อเดือน / รายได้ต่อเดือน x 100
  • สมาคมธนาคารไทยได้กำหนดให้ภาระผ่อนชำระหนี้ไม่เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน ดังนั้นหากคำนวณอัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้แล้วผลลัพธ์ออกมามากกว่า 40% ภาระหนี้นั้นจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางการเงิน

 

อัตราส่วนการอยู่รอดยังอยู่ในระดับที่รับได้ใช่ไหม?

 

  • สูตรคำนวณ รายได้ต่อเดือน / รายจ่ายต่อเดือน
  • หากผลลัพธ์มีค่ามากกว่า 1 แสดงว่ารายได้ตอนนี้ทำให้เราอยู่รอดได้ และยังไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางการเงิน เพราะรายได้มากกว่ารายจ่าย แต่หากผลลัพธ์มีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายส่งผลเสียต่อสุขภาพทางการเงิน 

 

แต่ถ้าเราทำถึงเกณฑ์ 2 ด้านแล้วแต่อีก 1 ด้านยังไม่ถึง คำแนะนำของเราคือควรมุ่งเน้นกับด้านที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์พร้อมกับรักษา 2 ด้านที่ดีอยู่แล้วให้ต่อเนื่อง

 

 

 

ถึงเกณฑ์: เงินออมฉุกเฉิน + ภาระหนี้สินต่อเดือน

 

ยังไม่ถึงเกณฑ์: อัตราส่วนการอยู่รอด

 

เป้าหมาย: ทำให้รายได้ > รายจ่าย อย่างสม่ำเสมอ

 

คำแนะนำ:

  • ควบคุมรายจ่ายอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะรายจ่ายไม่จำเป็น  ใช้เครื่องมือช่วยติดตามพฤติกรรมการใช้เงิน เช่น แอปบันทึกรายจ่าย
  • มองหาโอกาสเพิ่มรายได้ เช่น รายได้เสริม

 

ถึงเกณฑ์: เงินออมฉุกเฉิน + อัตราส่วนการอยู่รอด

 

ยังไม่ถึงเกณฑ์: ภาระหนี้สินต่อเดือน

 

เป้าหมาย: ลดภาระหนี้ลงให้ต่ำกว่า 40% ของรายได้ต่อเดือน

 

คำแนะนำ:

  • พิจารณารวมหนี้ หรือ รีไฟแนนซ์ เพื่อลดดอกเบี้ยและภาระผ่อน
  • เร่งชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงก่อน เช่น บัตรเครดิต ไม่ก่อหนี้ใหม่ จนกว่าจะจัดการหนี้ที่มีอยู่เดิมได้อย่างดีแล้ว 

 

ถึงเกณฑ์: "ภาระหนี้สินต่อเดือน" + "อัตราส่วนการอยู่รอด"

 

ยังไม่ถึงเกณฑ์: เงินออมฉุกเฉิน

 

เป้าหมาย: สะสมเงินฉุกเฉินให้ได้อย่างน้อย 6 เท่าของรายจ่ายรายเดือน

 

คำแนะนำ:

  • ตั้งเป้าออมก่อนใช้ อาจเริ่มต้นที่ขั้นต่ำ10% ของรายได้
  • แยกบัญชีออมฉุกเฉินออกจากบัญชีใช้ประจำ เพื่อไม่ใช้เงินส่วนนั้น

 

 

แต่ถ้าเราสามารำถึงเกณฑ์ทั้ง 3 ด้านแล้ว คือ มีเงินออมฉุกเฉินเพียงพอ ภาระหนี้สินอยู่ในระดับที่บริหารได้ และ อัตราส่วนการอยู่รอดมากกว่า 1 ยินดีด้วย! แปลว่าคุณมีสุขภาพการเงินที่แข็งแรงแล้ว คำแนะนำหลังจากนี้คือ ควรป้องกันความเสี่ยงทางการเงินอย่างการทำประกันสุขภาพ เริ่มวางแผนเป้าหมายระยะกลาง-ยาว เช่น แผนเกษียณ เริ่มวางแผนการลงทุนอย่างเป็นระบบ และสุดท้ายให้ทบทวนแผนการเงินปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้สุขภาพการเงินที่แข็งแรงนี้อยู่กับเราอย่างยั่งยืน

 

บัญชีเงินฝากดิจิทัลจาก ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ตัวช่วยเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน อุ่นใจได้ทุกสถานการณ์

 

จุดเด่น

  • ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป เหมาะสำหรับเป็นบัญชีไว้พักเงิน หรือเก็บเงินออมฉุกเฉิน
  • เปิดบัญชีง่าย ผ่านแอปพลิเคชัน CIMB THAI สะดวก ไม่จำเป็นต้องไปเปิดบัญชีที่สาขาของธนาคาร

 

CIMB THAI Chill D

  • อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 2.70% ต่อปี
  • จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

 

CIMB THAI Speed D+

 

  • อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 2.10% ต่อปี
  • จ่ายดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน 

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

 

ดาวน์โหลดแอปเพื่อเปิดบัญชี  

ติดต่อ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา
หรือ CIMB Thai Care Center โทร. 02-626-7777

 

คำเตือน: อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารประกาศกำหนด

 

 

#CIMBTHAIBank #ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย #WealthAdvisorybyCIMBTHAIBank #MOVINGFORWARDWITHYOU

 

เรียบเรียงโดย Wealth Advisory by CIMB THAI Bank