คุณอยู่ที่

  • ทำไมต้อง CIMB Preferred
  • บริการเพื่อความมั่งคั่ง
  • บทความ
  • วิธีการเข้าร่วมเป็น CIMB Preferred
  • บริการช่วยเหลือสำหรับคุณ
  • ลิงค์ด่วน
CIMB Rewards Program
โปรโมชั่นและสิทธิพิเศษสำหรับคุณโดยเฉพาะ
กิจกรรมและสัมมนา
ค้นหาระดับความเสี่ยงในการลงทุนของคุณ
บริการทางการเงินและการลงทุน
2025 Outlook
มุมมองการลงทุนประจำเดือน
กองทุนแนะนำ
กองทุนรวม (Mutual Fund)
มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนรายไตรมาส
Lifestyle
Structured Debenture
วางแผนทางการเงิน

Financial Health Check: สุขภาพการเงินของเรา แข็งแรงแค่ไหน?  

 

หลักสำคัญของการสร้างความยั่งยืนทางการเงินส่วนบุคคล ไม่ใช่การแสวงหาความมั่งคั่งร่ำรวย แต่หมายถึงความมั่นคงทางการเงินมากกว่า (ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย)

 

ในยุคที่ชีวิตเต็มไปด้วยความเร่งรีบ การดูแล “สุขภาพการเงิน” เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม เพราะการตรวจสุขภาพทางการเงิน (Financial Health Check) จะช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมสถานะการเงินของตัวเองได้ชัดเจนขึ้น เพื่อใช้วางแผนอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ

 

การมี “สุขภาพการเงินที่ดี” หมายถึง การมีฐานะทางการเงินที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิต ไม่เดือดร้อนเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน และมีพื้นฐานสำหรับสร้างความมั่นคงในระยะยาว

 

หากไม่อยากเจอกับปัญหาทางการเงินในอนาคต การตรวจสุขภาพการเงินตั้งแต่วันนี้ถือเป็นก้าวสำคัญที่เราสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองโดยคำนวณได้จาก 3 สูตรดังต่อไปนี้

 

เงินออมฉุกเฉินเพียงพอหรือไม่?

 

  • สูตรคำนวณ ค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อเดือน x 6
  • ควรมีอย่างน้อย 3 - 12 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน อาจขึ้นอยู่กับอาชีพ เช่น คนที่ทำอาชีพอิสระที่มีรายได้แต่ละเดือนไม่แน่นอน อาจต้องมีอัตราส่วนเงินสำรองฉุกเฉินมากกว่าคนที่มีอาชีพประจำ
  • เงินออมฉุกเฉิน ควรเป็นเงินที่มีสภาพคล่องสูงสามารถถอนออกมาใช้ได้อย่างรวดเร็วหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น

 

ภาระหนี้สินต่อเดือนเยอะเกินไปหรือเปล่า?

 

  • สูตรคำนวณ ภาระผ่อนหนี้สินต่อเดือน / รายได้ต่อเดือน x 100
  • สมาคมธนาคารไทยได้กำหนดให้ภาระผ่อนชำระหนี้ไม่เกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน ดังนั้นหากคำนวณอัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้แล้วผลลัพธ์ออกมามากกว่า 40% ภาระหนี้นั้นจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางการเงิน

 

อัตราส่วนการอยู่รอดยังอยู่ในระดับที่รับได้ใช่ไหม?

 

  • สูตรคำนวณ รายได้ต่อเดือน / รายจ่ายต่อเดือน
  • หากผลลัพธ์มีค่ามากกว่า 1 แสดงว่ารายได้ตอนนี้ทำให้เราอยู่รอดได้ และยังไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพทางการเงิน เพราะรายได้มากกว่ารายจ่าย แต่หากผลลัพธ์มีค่าน้อยกว่า 1 แสดงว่ารายได้น้อยกว่ารายจ่ายส่งผลเสียต่อสุขภาพทางการเงิน 

 

แต่ถ้าเราทำถึงเกณฑ์ 2 ด้านแล้วแต่อีก 1 ด้านยังไม่ถึง คำแนะนำของเราคือควรมุ่งเน้นกับด้านที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์พร้อมกับรักษา 2 ด้านที่ดีอยู่แล้วให้ต่อเนื่อง

 

 

 

ถึงเกณฑ์: เงินออมฉุกเฉิน + ภาระหนี้สินต่อเดือน

 

ยังไม่ถึงเกณฑ์: อัตราส่วนการอยู่รอด

 

เป้าหมาย: ทำให้รายได้ > รายจ่าย อย่างสม่ำเสมอ

 

คำแนะนำ:

  • ควบคุมรายจ่ายอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะรายจ่ายไม่จำเป็น  ใช้เครื่องมือช่วยติดตามพฤติกรรมการใช้เงิน เช่น แอปบันทึกรายจ่าย
  • มองหาโอกาสเพิ่มรายได้ เช่น รายได้เสริม

 

ถึงเกณฑ์: เงินออมฉุกเฉิน + อัตราส่วนการอยู่รอด

 

ยังไม่ถึงเกณฑ์: ภาระหนี้สินต่อเดือน

 

เป้าหมาย: ลดภาระหนี้ลงให้ต่ำกว่า 40% ของรายได้ต่อเดือน

 

คำแนะนำ:

  • พิจารณารวมหนี้ หรือ รีไฟแนนซ์ เพื่อลดดอกเบี้ยและภาระผ่อน
  • เร่งชำระหนี้ที่ดอกเบี้ยสูงก่อน เช่น บัตรเครดิต ไม่ก่อหนี้ใหม่ จนกว่าจะจัดการหนี้ที่มีอยู่เดิมได้อย่างดีแล้ว 

 

ถึงเกณฑ์: "ภาระหนี้สินต่อเดือน" + "อัตราส่วนการอยู่รอด"

 

ยังไม่ถึงเกณฑ์: เงินออมฉุกเฉิน

 

เป้าหมาย: สะสมเงินฉุกเฉินให้ได้อย่างน้อย 6 เท่าของรายจ่ายรายเดือน

 

คำแนะนำ:

  • ตั้งเป้าออมก่อนใช้ อาจเริ่มต้นที่ขั้นต่ำ10% ของรายได้
  • แยกบัญชีออมฉุกเฉินออกจากบัญชีใช้ประจำ เพื่อไม่ใช้เงินส่วนนั้น

 

 

แต่ถ้าเราสามารำถึงเกณฑ์ทั้ง 3 ด้านแล้ว คือ มีเงินออมฉุกเฉินเพียงพอ ภาระหนี้สินอยู่ในระดับที่บริหารได้ และ อัตราส่วนการอยู่รอดมากกว่า 1 ยินดีด้วย! แปลว่าคุณมีสุขภาพการเงินที่แข็งแรงแล้ว คำแนะนำหลังจากนี้คือ ควรป้องกันความเสี่ยงทางการเงินอย่างการทำประกันสุขภาพ เริ่มวางแผนเป้าหมายระยะกลาง-ยาว เช่น แผนเกษียณ เริ่มวางแผนการลงทุนอย่างเป็นระบบ และสุดท้ายให้ทบทวนแผนการเงินปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อให้สุขภาพการเงินที่แข็งแรงนี้อยู่กับเราอย่างยั่งยืน

 

บัญชีเงินฝากดิจิทัลจาก ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ตัวช่วยเก็บเงินสำรองฉุกเฉิน อุ่นใจได้ทุกสถานการณ์

 

จุดเด่น

  • ดอกเบี้ยสูงกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไป เหมาะสำหรับเป็นบัญชีไว้พักเงิน หรือเก็บเงินออมฉุกเฉิน
  • เปิดบัญชีง่าย ผ่านแอปพลิเคชัน CIMB THAI สะดวก ไม่จำเป็นต้องไปเปิดบัญชีที่สาขาของธนาคาร

 

CIMB THAI Chill D

  • อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 2.70% ต่อปี
  • จ่ายดอกเบี้ยทุกเดือน

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

 

CIMB THAI Speed D+

 

  • อัตราดอกเบี้ยสูงสุด 2.10% ต่อปี
  • จ่ายดอกเบี้ยทุกสิ้นเดือน 

 

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

 

ดาวน์โหลดแอปเพื่อเปิดบัญชี  

ติดต่อ ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา
หรือ CIMB Thai Care Center โทร. 02-626-7777

 

คำเตือน: อัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขเป็นไปตามที่ธนาคารประกาศกำหนด

 

 

#CIMBTHAIBank #ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย #WealthAdvisorybyCIMBTHAIBank #MOVINGFORWARDWITHYOU

 

เรียบเรียงโดย Wealth Advisory by CIMB THAI Bank