เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ณ โรงแรมโอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพ
อัปเดตสภาวะตลาดโลกและมุมมองเศรษฐกิจ เพื่อเสริมกลยุทธ์การลงทุนต่อยอดความมั่งคั่งในปี 2568 โดยผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มธนาคาร ซีไอเอ็มบี และผู้เชี่ยวชาญด้านกลยุทธ์การลงทุนจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนชั้นนำ ดังนี้
• คุณตัน คีท จิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจรายย่อย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
• ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
• คุณแพทริค ชาง ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน ซีไอเอ็มบี กรุ๊ป
• คุณติยะชัย ชอง ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Wealth & Preferred Segment ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย
• คุณศุภจักร เอิบประสาทสุข รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน สายงานการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน พรินซิเพิล จำกัด
• คุณเชาวน์กร โชติบัณฑ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน)
• คุณรณวร ศุกระกาญจน์ หัวหน้าทีมกลยุทธ์และผลิตภัณฑ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนวรรณ จำกัด
01 Nov 2024
อัปเดตภาวะตลาดการเงิน และกลยุทธ์การลงทุนประจำเดือน
เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง
การคาดการณ์ล่าสุดของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้มีการปรับเพิ่มการคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของโลกปี 2024 และ 2025 เป็น 3.2% โดยการคาดการณ์สำหรับปี 2024 มีการปรับเพิ่มขึ้น 30 bps เมื่อเทียบกับการคาดการณ์เดือนตุลาคม อย่างไรก็ดี การคาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจโลกในปี 2024 และ 2025 ยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในอดีต (2000-2019) ที่เติบโตเฉลี่ย 3.8% สะท้อนถึงผลกระทบจากนโยบายการเงินที่เข้มงวด การยกเลิกนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย รวมถึงการเติบโตของ Productivity ที่ต่ำ สำหรับเศรษฐกิจในประเทศพัฒนาแล้ว มีการคาดการณ์การเติบโตเพิ่มขึ้นที่เพิ่มขึ้นจาก 1.6% ในปี 2023 เป็น 1.7% ในปี 2024 และ 1.8% ในปี 2025 ซึ่งเป็นการปรับขึ้น 20 bps สำหรับการคาดการณ์ปี 2024 ขณะที่ด้านเศรษฐกิจของตลาดเกิดใหม่และตลาดกำลังพัฒนา การเติบโตคาดว่าจะคงที่ที่ 4.3% ในปี 2024 และ 2025 อย่างไรก็ตาม คาดว่าการเติบโตอาจจะมีการปรับลดลงในฝั่งเอเชีย ทั้งนี้ ประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์และความสามารถของธนาคารกลางทั่วโลกในการจัดการเศรษฐกิจเพื่อให้เข้าสู่ “Soft-Landing” เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเติบโตของ GDP ทั่วโลกทั้งในปีนี้และปีหน้า
การปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกของเฟดหลังจากที่รอคอยมานานเริ่มต้นด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง 50 bps ในการประชุม FOMC เดือนกันยายน ยิ่งไปกว่านั้น เฟด Dot Plot บ่งชี้ว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกหลายครั้งโดยคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวม 50 bps ในการประชุมสองครั้งสุดท้ายของปีนี้และอีก 100 bps สำหรับปี 2025 โดยเฟดคาดว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะอยู่ที่ประมาณ 3.25% ภายในสิ้นปี 2025 ก่อนหน้านี้ นายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานเฟด ยอมรับในที่ประชุมแจ็คสัน โฮลว่า ความเสี่ยงด้านตลาดแรงงานได้เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายสองอย่าง (Dual Mandate) ของเฟด ได้แก่การจ้างงานที่สูงสุดและเสถียรภาพด้านราคา
การคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยล่าสุดของเฟดมีแนวโน้มผ่อนคลายมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในเดือนมิถุนายน อย่างไรก็ตามการคาดการณ์ของเฟดยัง hawkish หากเทียบกับกับคาดการณ์ของตลาด เนื่องจากตลาดคาดว่าหากเศรษฐกิจไม่สามารถที่จะ “Soft Landing” ได้ จะทำให้เฟดต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้มากขึ้นและเร็วขึ้น อย่างไรก็ดี รายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่แข็งแกร่งและอัตราการว่างงานที่ลดลงเหลือ 4.1% บ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ อีกครั้ง ทำให้ทั้งตลาดและเฟดมีมุมมองที่สอดคล้องกันมากขึ้นสำหรับแนวโน้มการปรับอัตราดอกเบี้ยในอนาคต โดยเฟดคาดการณ์การเติบโตของ GDP จะลดลงเหลือ 2% ทั้งในปี 2024 และ 2025 และคาดว่าอัตราการว่างงานจะคงที่ที่ 4.4% ทั้งในปี 2024 และ 2025 ขณะที่ดัชนีเงินเฟ้อ core PCE จะกลับสู่เป้าหมาย 2% ภายในปี 2026 นอกจากนี้ เฟดย้ำว่า การปรับลดอัตราดอกเบี้ย 50 bps นั้นเรียกว่าเป็นการปรับสมดุล (Recalibration) มากกว่าที่จะเป็นการตอบสนองต่อผลประเมินเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงอย่างไม่คาดคิดหรือตลาดแรงงานที่อ่อนแอ
จากข้อมูลล่าสุดของมาตรวัดที่ใช้ติดตามตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หรือ Atlanta Fed's GDPNow บ่งชี้ว่า GDP ของสหรัฐ ฯ จะเติบโต 3.3% YoY ในไตรมาสที่ 3 และมีความน่าจะเป็นที่สหรัฐ ฯ จะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่จะยังไม่เกิดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ โดยตลาดส่วนใหญ่มองว่ามีโอกาส 15-20% ที่จะเกิด Recession ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า สิ่งที่เห็นได้ชัดในช่วงที่ผ่านมาคือภาคการบริโภคที่น่ากังวลจากการผิดชำระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงกว่าช่วงก่อนโควิด ทั้งสินเชื่อบัตรเครดิต สินเชื่อรถยนต์ โดยเปอร์เซ็นต์ของยอดที่ค้างชำระอย่างน้อย 30 วันอยู่ในระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2011 อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงยังอยู่ในระดับสูงเฟดจึงมีเครื่องมือครบครันในการจัดการภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวโดยที่ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงเงินเฟ้ออีกครั้ง โดยเฟดได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าขณะนี้ Dual Mandate อยู่ในภาวะสมดุลและจะมุ่งไปที่การปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้กลับมาสู่ภาวะปกติอย่างค่อยเป็นค่อยไป
อย่างที่ได้มีการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางยุโรป (ECB) จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงอีก 25 bps เนื่องจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อการเติบโตของ GDP เมื่อไม่นานมานี้ ECB ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ลงเหลือ 0.8% และ 1.3% และคาดการณ์เงินเฟ้อที่ 2.5% และ 2.2% ในปี 2024 และ ปี 2025 ตามลำดับ ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อล่าสุดของยูโรโซนอยู่ที่ 1.7%YoY ในเดือนกันยายน ต่ำกว่าเป้าหมายของ ECB ที่ 2% ภาคการผลิตของยูโรโซนอยู่ภายใต้แรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเป็นเวลานานและการแข่งขันในจากทั่วโลกที่รุนแรงขึ้น อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 3 ปีที่ 1.7% ในเดือนกันยายนเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ตัวเลขดังกล่าวทำให้นายแอนดรูว์ เบลีล์ ผู้ว่าการธนาคารกลางของอังกฤษส่งสัญญาณที่แข็งกร้าวถึงนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น อย่างไรก็ตามคณะกรมการนโยบายการเงินคาดการณ์ดัชนี CPI เพิ่มขึ้นเป็น 2.2% ในเดือนสิงหาคม และ 2.5% ในปี 2025
เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีการขยายตัวที่เร็วกว่าที่คาด โดยไตรมาส 2 ปี 2024 GDP ญี่ปุ่นขยายตัว 3.1% YoY แรงหนุนจากการบริโภคและค่าจ้างที่แท้จริงที่เติบโต โดย BOJ กำลังดำเนินการอย่างระมัดระวังระหว่างการพยายามหลีกเลี่ยงแรงกดดันด้านค่าเงินเยนที่มากเกินไปกับการควบคุมเงินเฟ้อ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของญี่ปุ่น นาย ชิเงรุ อิชิบะ เน้นย้ำถึงความเป็นอิสระของ BOJ หลังจากมีการประกาศต่อสาธารณะว่า ญี่ปุ่นยังไม่พร้อมที่จะสำหรับการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง ด้านเศรษฐกิจจีน มีรายการเติบโตของ GDP ในไตรมาสที่ 3 ที่ 4.6% YoY ซึ่งดีกว่าที่คาดการณ์เล็กน้อย ขณะที่ด้านอินเดียมีการคาดการณ์ GDP เติบโตลดลงเหลือต่ำกว่า 7% หลังจากที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งที่ 8.2% เมื่อปีที่แล้ว จากการหดตัวของการใช้จ่ายภาครัฐ
หุ้นโลก:
การประกาสผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2024 ของ S&P 500 ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ล่าสุดมีบริษัท 14% ที่เริ่มรายได้งานผลประกอบการ ณ วันที่เขียนนี้ แม้จะยังเร็วเกินไป แต่ 79% ของบริษัทที่รายงานผลประกอบการออกมามีผลประกอบการที่สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์การเติบโตของ EPS ของ S&P500 ไตรมาส 3 ปี 2024 อยู่ที่ 3.4% ลดลง จากการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ 7.8% เมื่อสิ้นเดือนมิถุนายน นอกจากนี้ การคาดการณ์ EPS สำหรับปี 2024 ก็ลดลงเช่นกัน แต่ตัวเลขดังกล่าวนี้ ไม่ได้ทำให้ตลาดปรับตัวลดลง เนื่องจากการคาดการณ์ EPS สำหรับปี 2025 ยังคงแข็งแกร่งที่ 14%YoY ด้าน Valuation ของ S&P 500 ยังอยู่ในระดับสูงโดยอัตราส่วน P/E ปัจจุบันอยู่ที่ 25.14 เท่า ซึ่งสูงกว่าทั้งค่าเฉลี่ย 5 ปี และ 10 ปี
แม้ว่าตลาดจะมีการ Rotation แต่หุ้นกลุ่ม Mag-7 ก็ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งจากแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐ ฯ ที่ฟื้นตัวและการเติบโตของรายได้ที่มั่นคง อย่างไรก็ตาม การเติบโตของ EPS ของหุ้นกลุ่ม Mag-7 มีแนวโน้มชะลอตัวลงในปี 2025 นอกจากนี้แผนการของกมลา แฮร์ริส (Kamala Harris) ผู้ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ ฯ ที่จะมีการปรับขึ้นอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของสหรัฐ ฯ จาก 21% เป็น 28% และแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคของสหรัฐ ฯ ที่ยังไม่แน่นอน เป็นความเสี่ยงหลักต่อการคาดการณ์ EPS ของหุ้นทั่วโลกในปีหน้า หนุนให้นักลงทุนมีการกระจายการลงทุนที่สะท้อนการเติบโตจนเกือบจะสมบูรณ์แบบ
ดัชนี NIKKEI 225 เผชิญแรงกดดันหลังจากมีการเทขายหุ้นเทคโนโลยีของสหรัฐ ฯ ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม โดยดัชนียังคงต่ำกว่าระดับ All-time High อยู่ 8% แรงกดดันต่อ BOJ ในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเริ่มลดลงมาเนื่องจากดัชนี Tokyo CPI ของญี่ปุ่นชะลอตัวลงเหลือ 1.8%YoY ในเดือนตุลาคม จาก 2.2% YoY ในเดือนกันยายน ด้านตลาดหุ้นอินเดียเผชิญกับแรงกดดันจากการถูกขายเนื่องจากมีการไหลออกจากเงินทุนเพิ่มขึ้น การร่วงลงล่าสุดของตลาดหุ้นอินเดียส่วนใหญ่เกิดจาการผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2024 ที่อ่อนแอในภาคส่วนที่สำคัญอีกทั้งบริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของการบริโภคในพื้นที่ชนบทรายงานรายได้ต่ำกว่าประมาณการ ขณะที่ด้านธนาคารต้องรับมือกับคุณภาพสินทรัพย์ที่เสื่อมลง ซึ่งทั้งสองประเด็นดังกล่าวส่งผลให้บรรดานักลงทุนเริ่มมีความวิตกกังวล
หุ้นจีน: จีนได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่เกิดโควิด เพื่อต่อสู้กับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่อ่อนแอและภาวะเงินฝืดที่เกิดขึ้น วิกฤตอสังหาริมทรัพย์ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและทำลายความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเนื่องจากการเก็บออมเงินของครัวเรือนจีนกว่า 70% อยู่ในอสังหาริมทรัพย์ รัฐบาลจึงออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นมาตรการสนับสนุนตลาดอสังหา ฯ รวมถึงการลดอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัยลง 50 bps และลดข้อกำหนดการชำระเงินดาวน์ขั้นต่ำเหลือ 15% รวมไปถึงมาตรการอื่น ๆ นอกจากนี้ ธนาคารกลางประชาชนจีน (PBOC) ยังออกมาตรการกระตุ้นตลาดทุน มาตรการแรกคือโปรแกรม Swap มูลค่า 71,000 ล้านเหรียญที่จะช่วยให้กองทุน บริษัทประกัน และนายหน้าสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อซื้อหุ้นได้ง่ายขึ้น และมาตรการที่สอง คือ PBOC ให้เงินกู้แก่ธนาคารพาณิชย์มูลค่า 42,500 ล้านเหรียญในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกเพื่อช่วยให้ธนาคารสามารถระดมทุน เพื่อช่วยเป็นแหล่งเงินทุนให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ในการซื้อหุ้นและซื้อหุ้นคืน ผู้ว่าธนาคารกลางประชาชนจีน (PBOC) ได้มีการปรับลดอัตราส่วนเงินสำรอง (RRR) ลง 50 bps และจะมีการปรับลดอีกหากเงื่อนไขสภาพคล่องเหมาะสม
อย่างไรก็ตาม ความคาดหวังของตลาดที่ต่ำควบคู่กับ Valuations ที่น่าสนใจ อาจส่งผลให้เห็นการปรับตัวขึ้นของตลาดจีนในครึ่งหลังของปี 2024 หากการฟื้นตัวเศรษฐกิจมีทิศทางที่ดีขึ้น หลังจากตลาดปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาปัจจุบันดัชนี HSI ซื้อขายที่ P/E 10.4 เท่าซึ่งยังคงต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี โดยมีการคาดการณ์การเติบโตของ EPS ที่ 6.69% YoY ในปี 2024 และ 5.84% YoY 2025 ด้านดัชนี CSI300 มีการปรับลด EPS ลงมาเล็กน้อยที่ 10%YoY ปี 2024 และ 13%YoY ปี 2025 อย่างไรก็ดี ราคาบ้านใหม่ยังคงปรับตัวลดลงใน 70 เมือง ไม่รวมที่อยู่อาศัยที่ได้รับการอุดหนุนจากรัฐ โดยราคาบ้านปรับลดลง 0.7% MoM ในเดือนกันยายน
สินทรัพย์ทางเลือก: การเปลี่ยนแปลงนโยบายของ FED ทำให้ REITs ให้ผลตอบแทนที่ดีขึ้น โดยดัชนี FTSE EPRA Nareit Developed ซึ่งเป็นตัวแทนของ REITs ทั่วโลกพุ่งสูงขึ้น 16% ในช่วงสามเดือนที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนจัดพอร์ตโดยมองปัจจัยเรื่องอัตราดอกเบี้ยขาลง อย่าไรก็ตาม REITs เผชิญกับแรงขายจากผลตอบแทนของพันธบัตรสหรัฐ ฯ อายุ 10 ปีที่ปรับเพิ่มขึ้น REITs และสินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน ยังคงได้รับประโยชน์จากการจัดสรรเงินลงทุนที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากคาดว่าผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลจะยังคงได้รับแรงกดดันอย่างเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของนโยบายเฟด ในมุมของกลยุทธ์การลงทุน นักลงทุนมองหาสินทรัพย์ที่สร้างรายได้นอกเหนือจากพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ฯ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ต้องการซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสินทรัพย์ที่มีความอ่อนไหวต่ออัตราดอกเบี้ยและมีกระแสเงินสดที่มั่นคงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ความเสี่ยงทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ไม่มีแนวโน้มจะลดลงในระยะเวลาอันใกล้นี้ส่งผลดีต่อราคาทองคำ สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และ อิสราเอล-ฮามาส กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกรวมไปถึงอุปทานพลังงาน อย่างไรก็ตาม ความผันผวนของราคาน้ำมันดิบยังไม่ถึงขั้นกดดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเนื่องจากอุปสงค์จากจีนและยุโรปชะลอจากเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวช้า นอกจากนี้ ตลาดคาดว่ากิจกรรมขุดเจาะน้ำมันและก๊าซในสหรัฐ ฯ จะเพิ่มขึ้นหากทรัมป์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง ขณะเดียวกัน ก็ไม่ได้มีการห้ามการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ภายใต้ชัยชนะของกมลา แฮร์ริส ซึ่งล้วนส่งผลลบต่อราคาน้ำมันและก๊าซ
หุ้นยังคงเป็นสินทรัพย์ที่น่าสนใจและมีโอกาสในการลงทุนมากมายทั่วโลก อย่างไรก็ตามช่วงครึ่งหลังของปี 2024 นักลงทุนควรให้น้ำหนักการลงทุนในหุ้นที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม REITs สินทรัพย์โครงสร้างพื้นฐาน และสินทรัพย์ที่จะได้รับประโยชน์จาก Risk Premiums ที่ต่ำลง เช่นหุ้นขนาดเล็กและหุ้นตลาดเกิดใหม่ แนะนำทยอยเพิ่มน้ำการลงทุนในตราสารหนี้ระยะยาวเข้ามาในพอร์ตโดยเน้นตราสารหนี้ภาคเอกชนมีคุณภาพสูงเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ลดลงในตลาดที่พัฒนาแล้ว โดยเราแนะนำให้นักลงทุนจัดพอร์ตการลงทุนที่ผสมผสานกลยุทธ์ทั้ง Strategic Asset Allocation (SAA) และ Tactical Asset Allocation (TAA) เพื่อโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีที่สุดในทุกสถานการณ์
อรุณ ปาวา, IP, FM, IA, ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ที่ปรึกษาทางการเงิน Investment Strategist
ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)
รายละเอียดเพิ่มเติม