You Are In

  • Why Us
  • Wealth Solutions
  • Market Perspective
  • How to become CIMB Preferred
  • Help & Support
  • Quicklink
CIMB Rewards Program
Preferred Promotions
Events and Seminars
Know Your Risk Appetite
Wealth Solution Products
2025 Outlook
Monthly Investment
Highlighted Fund
Mutual Fund
Quarterly Outlook
Lifestyle
Structured Debenture
Financial Planning

Covered Call Strategy – เครื่องมือสร้างกระแสเงินสดในวันที่เกษียณ  

 

กระแสเงินสดจากการลงทุนเป็นหนึ่งในผลตอบแทนจากการลงทุนที่ตอบโจทย์นักลงทุนหลายกลุ่ม ซึ่งกระแสเงินสดจากการลงทุนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนผ่อนคลายความกังวล หรือบรรเทาผลกระทบต่อผลตอบแทนรวมในวันที่ภาวะการลงทุนมีความผันผวน ในอีกมิติหนึ่งการลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดเป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่นักลงทุนสามารถที่จะสร้างรายได้ในวันที่เกษียณอายุแล้ว หรือสร้างกระแสรายได้เพิ่มอีกทางได้เช่นกัน

 

กระแสเงินสดจากการลงทุนที่เราต่างคุ้นเคยกันดีในปัจจุบัน เช่น เงินปันผลจากลงทุนในหุ้นของบริษัท หรือดอกเบี้ยจากการลงทุนในตราสารหนี้ ต่างมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามวัฏจักรเศรษฐกิจ โดยธรรมชาติของเงินปันผลเป็นเงินที่ธุรกิจปันส่วนคืนกลับมาให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งมีที่มาหลักจากผลประกอบการของธุรกิจ ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หรือผลประกอบของบริษัทอ่อนแอลง อาจส่งผลให้เงินปันผลที่บริษัทจ่ายออกมาให้กับนักลงทุนมีมูลค่าลดลง หรืออาจขาดความสม่ำเสมอได้ เช่นเดียวกันกับดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนในตราสาหนี้ ไม่ว่าจะเป็น พันธบัตร, หุ้นกู้ หรือเงินฝาก ต่างแปรผันตามวัฏจักรการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย อย่างที่หลายท่านได้ทราบกันว่าในปี 2568 นี้ ธนาคารกลางในหลายประเทศ รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังอยู่ในวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าอัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับจากดอกเบี้ยรับอาจลดลงได้เช่นเดียวกัน

 

Covered Call Strategy เป็นนวัตกรรมทางการเงินประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั่วโลก สำหรับนักลงทุนที่เฟ้นหากระเงินสดจากการลงทุน เพิ่มเติมจากการกระแสเงินสดจากการลงทุนแบบดังเดิม เช่น เงินปันผล หรือ ดอกเบี้ย ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวจะมีการใช้อนุพันธ์ทางการเงิน (Derivatives) ประเภทสิทธิ์ที่จะซื้อ (Call Option) เข้ามามีส่วนร่วมหลักในการสร้างกระแสเงินสดจากการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น หรือดัชนีหุ้น เพิ่มเติมจากการลงทุนในพอร์ทการลงทุนที่ลงทุนในหุ้นสามัญ ซึ่งวิธีการนี้ถูกเรียกว่า Option Overlay หรือเป็นการเอา Option มาก “แปะ” หรือ “ซ้อน” ไว้บนพอร์ทหุ้นอีกทีหนึ่ง เพื่อสร้างผลตอบแทนในมิติที่ต่างออกไป

 

Option Overlay ของ Covered Call Strategy จะทำโดยการขาย Call Option หรือ ขาย “สิทธิ์ที่จะซื้อ” โดยในขั้นตอนนี้จะทำให้พอร์ทการลงทุนมีกระแสเงินสดเข้ามาจากมูลค่าของ Call Option หรือ มูลค่าของ “สิทธิ์ที่จะซื้อ” ที่ขายออกไปนั่นเอง ซึ่งถ้าหากว่า “ราคา” สินทรัพย์อ้างอิงของ “สิทธิ์ที่จะซื้อ” ปรับตัวลดลงหรือไม่ได้ขยับไปไหนจะทำให้ผู้ขายสิทธิ์สามารถรับรู้กระแสเงินสดดังกล่าวที่ได้จากการขาย Call Option หรือ “สิทธิ์ที่จะซื้อ” ได้ทันทีในผลที่อายุของ Call Option สิ้นสุดลง ดังนั้น ในกระบวนการการสร้างกระแสเงินสดจากการลงทุนของกลยุทธ์ Covered Call นั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรเศรษฐกิจ หรือวัฏจักรอัตราดอกเบี้ยเลย จึงส่งผลให้กลยุทธ์นี้เป็นที่นิยมในกลุ่มนักลงทุนที่แสวงหากระแสเงินสดจากการลงทุนที่มีความสม่ำเสมอ

 

แม้กลยุทธ์ Covered Call จะดูน่าสนใจ แต่กระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากการขาย “สิทธิ์ที่จะซื้อ” นั้นต้องแลกมากับผลตอบแทนที่ด้อยกว่าการลงทุนในหุ้น หรือดัชนีนั้น ๆ ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงเพียงอย่างเดียว หากราคาของสินทรัพย์อ้างอิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนการดึงกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอเข้ามาเป็นการนำกำไรใรอนาคตมารับรู้ในปัจจุบันนั่นเอง

 

2 จุดเด่นหลักของกลยุทธ์ Covered Call สำหรับช่วงเกษียณ

 

  1. กระแสเงินสดจากการลงทุน (Income Generation): ผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีกลยุทธ์ Covered Call สามารถที่จะออกแบบการจ่ายกระแสเงินสดได้ในระดับความถี่ที่เป็นรายเดือน (Monthly Payment) เลยทีเดียว โดยในปัจจุบันนักลงทุนสามารถที่จะลงทุนในกลยุทธ์ดังกล่าวผ่านกองทุนรวมได้ด้วยเช่นกัน
  2. บรรเทาผลกระทบขาลง (Partial Downside Protection): มูลค่าของ Call Option ที่ได้รับจากการขายตามกลยุทธ์ Covered Call เป็นการสร้างเบาะรองรับแรงกระแทกต่อผลตอบแทนรวมจากการลงทุน (การเปลี่ยนแปลงของราคา และกระแสเงินสดรับ) หากราคาของหุ้น หรือดัชนีหุ้นปรับลดลง ซึ่งเป็นความสามารถในการรักษาเงินต้น (Capital Preservation) ที่เหมาะกับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวน หรือนักลงทุนที่เกษียณอายุที่เปราะบางต่อการสูญเสียเงินต้นในการลงทุน

 

กลยุทธ์นี้มีอะไรที่ต้องระวัง

 

  1. กลยุทธ์ Covered Call ไม่มีความสามารถในการคุ้มครองเงินต้น (Principal Protection) มีเพียงความสามารถในรักษาเงินต้น (Capital Preservation) ถ้าหากระดับราคาของหุ้นหรือดัชนีหุ้นในพอร์ทการลงทุนปรับตัวลงอย่างรุนแรงจะยังคงได้รับผลกระทบเชิงลบอยู่เช่นกัน แม้จะน้อยกว่าการลงทุนในหุ้นหรือดัชนีหุ้นเพียงอย่างเดียว
  2. ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) เนื่องจากการข้อแลกเปลี่ยนของกลยุทธ์ Covered Call ในการสร้างกระแสเงินสด และบรรเทากระทบขาลง นั้นคือการสูญเสียความสามารถในการสร้างผลตอบแทนเทียบกับการลงทุนในหุ้นหรือดัชนีหุ้นเพียงอย่างเดียว หากระดับราคาของหุ้นหรือดัชนีหุ้นปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

 

กองทุน MUSPIN-AR มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน JPMorgan ETFs (Ireland) ICAV - US Equity Premium Income Active UCITS ETF เพียงกองทุนเดียว ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงการขายสิทธิในการซื้อตราสารทุน (Equity Call Options) และสิทธิในการซื้อดัชนีที่อ้างอิงกับตราสารทุน (Equity Index Call Options)

 

กองทุนนี้มีให้เลือกทั้งกองทุนที่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และกองทุนที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสามารถใช้เกณฑ์พิจารณาเบื้องต้น ดังนี้

 

  1. รับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้หรือไม่ เช่น ในกรณีที่ความผันผวนเร่งตัวอย่างมีนัยยะสำคัญกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสามารถแกว่งตัวได้มาก 15% ถึง -15% ในหนึ่งปี แม้ว่าบนค่าเฉลี่ยจะแกว่งตัวราว 5% ถึง -5% โดยประมาณในแต่ละปี หากรับความเสี่ยงในข้อที่ 1. นี้ไม่ได้ นักลงทุนอาจจะเหมาะกับกองทุนที่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
  2. ระยะเวลาการลงทุน หากรับความเสี่ยงในข้อที่ 1. ได้ และมีแนวโน้มที่จะลงทุนที่ระยะเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป อาจจะเหมาะกับการลงทุนในกองทุนที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากไม่มีต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลให้ผลตอบแทนในระยะยาวมีแนวโน้มจะดีกว่าโดยเปรียบเทียบ แต่ถ้าหากเป็นการทดลองลงทุนเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนหลักในระยะสั้น อาจเริ่มจากการลงทุนในกองทุนที่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนก่อนก็ได้เช่นกัน เพื่อที่จะได้เห็นผลตอบแทนของกองทุนหลักได้อย่างชัดเจน

 

นักลงทุนสามารถดาวน์โหลดหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมทั้ง 2 Class ได้ที่

 

1. MUSPIN-H-AR กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ยูเอส อิควิตี้ พรีเมี่ยม อินคัม Hedged ชนิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (ระดับความเสี่ยง 6)

 

 

2. MUSPIN-UH-AR กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ยูเอส อิควิตี้ พรีเมี่ยม อินคัม Unhedged ชนิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (ระดับความเสี่ยง 6)

 

 

 

นักลงทุนที่สนใจสามารถติดต่อเพื่อขอคำแนะนำการลงทุน หรือ ขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่

  • ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา
  • CIMB THAI Care Center โทร. 02 626 7777
  • LINE  Wealth & Preferred 

 

คำเตือน:

  • ผลการดำเนินงานในอดีต/การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • ข้อมูลนี้จัดทำโดยอาศัยที่มาจากแหล่งข้อมูลสาธารณะซึ่งปรากฎขณะจัดทำ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปแต่ละขณะ ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน

 

จัดทำข้อมูลโดย

  • คุณจิรไพบูลย์ รัตนภาณุรักษ์ (IP, FM, IA) ผู้อำนวยการที่ปรึกษาทางการเงิน Investment Strategist ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)