คุณอยู่ที่

  • ทำไมต้อง CIMB Preferred
  • บริการเพื่อความมั่งคั่ง
  • บทความ
  • วิธีการเข้าร่วมเป็น CIMB Preferred
  • บริการช่วยเหลือสำหรับคุณ
  • ลิงค์ด่วน
CIMB Rewards Program
โปรโมชั่นและสิทธิพิเศษสำหรับคุณโดยเฉพาะ
กิจกรรมและสัมมนา
ค้นหาระดับความเสี่ยงในการลงทุนของคุณ
บริการทางการเงินและการลงทุน
2025 Outlook
มุมมองการลงทุนประจำเดือน
กองทุนแนะนำ
กองทุนรวม (Mutual Fund)
มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนรายไตรมาส
Lifestyle
Structured Debenture
วางแผนทางการเงิน

Covered Call Strategy – เครื่องมือสร้างกระแสเงินสดในวันที่เกษียณ  

 

กระแสเงินสดจากการลงทุนเป็นหนึ่งในผลตอบแทนจากการลงทุนที่ตอบโจทย์นักลงทุนหลายกลุ่ม ซึ่งกระแสเงินสดจากการลงทุนเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้นักลงทุนผ่อนคลายความกังวล หรือบรรเทาผลกระทบต่อผลตอบแทนรวมในวันที่ภาวะการลงทุนมีความผันผวน ในอีกมิติหนึ่งการลงทุนในสินทรัพย์ที่สร้างกระแสเงินสดเป็นอีกเครื่องมือสำคัญที่นักลงทุนสามารถที่จะสร้างรายได้ในวันที่เกษียณอายุแล้ว หรือสร้างกระแสรายได้เพิ่มอีกทางได้เช่นกัน

 

กระแสเงินสดจากการลงทุนที่เราต่างคุ้นเคยกันดีในปัจจุบัน เช่น เงินปันผลจากลงทุนในหุ้นของบริษัท หรือดอกเบี้ยจากการลงทุนในตราสารหนี้ ต่างมีโอกาสที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามวัฏจักรเศรษฐกิจ โดยธรรมชาติของเงินปันผลเป็นเงินที่ธุรกิจปันส่วนคืนกลับมาให้กับผู้ถือหุ้น ซึ่งมีที่มาหลักจากผลประกอบการของธุรกิจ ซึ่งในภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หรือผลประกอบของบริษัทอ่อนแอลง อาจส่งผลให้เงินปันผลที่บริษัทจ่ายออกมาให้กับนักลงทุนมีมูลค่าลดลง หรืออาจขาดความสม่ำเสมอได้ เช่นเดียวกันกับดอกเบี้ยที่ได้รับจากการลงทุนในตราสาหนี้ ไม่ว่าจะเป็น พันธบัตร, หุ้นกู้ หรือเงินฝาก ต่างแปรผันตามวัฏจักรการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย อย่างที่หลายท่านได้ทราบกันว่าในปี 2568 นี้ ธนาคารกลางในหลายประเทศ รวมถึงธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังอยู่ในวัฏจักรการปรับลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าอัตราผลตอบแทนที่นักลงทุนจะได้รับจากดอกเบี้ยรับอาจลดลงได้เช่นเดียวกัน

 

Covered Call Strategy เป็นนวัตกรรมทางการเงินประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางทั่วโลก สำหรับนักลงทุนที่เฟ้นหากระเงินสดจากการลงทุน เพิ่มเติมจากการกระแสเงินสดจากการลงทุนแบบดังเดิม เช่น เงินปันผล หรือ ดอกเบี้ย ซึ่งกลยุทธ์ดังกล่าวจะมีการใช้อนุพันธ์ทางการเงิน (Derivatives) ประเภทสิทธิ์ที่จะซื้อ (Call Option) เข้ามามีส่วนร่วมหลักในการสร้างกระแสเงินสดจากการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เช่น หุ้น หรือดัชนีหุ้น เพิ่มเติมจากการลงทุนในพอร์ทการลงทุนที่ลงทุนในหุ้นสามัญ ซึ่งวิธีการนี้ถูกเรียกว่า Option Overlay หรือเป็นการเอา Option มาก “แปะ” หรือ “ซ้อน” ไว้บนพอร์ทหุ้นอีกทีหนึ่ง เพื่อสร้างผลตอบแทนในมิติที่ต่างออกไป

 

Option Overlay ของ Covered Call Strategy จะทำโดยการขาย Call Option หรือ ขาย “สิทธิ์ที่จะซื้อ” โดยในขั้นตอนนี้จะทำให้พอร์ทการลงทุนมีกระแสเงินสดเข้ามาจากมูลค่าของ Call Option หรือ มูลค่าของ “สิทธิ์ที่จะซื้อ” ที่ขายออกไปนั่นเอง ซึ่งถ้าหากว่า “ราคา” สินทรัพย์อ้างอิงของ “สิทธิ์ที่จะซื้อ” ปรับตัวลดลงหรือไม่ได้ขยับไปไหนจะทำให้ผู้ขายสิทธิ์สามารถรับรู้กระแสเงินสดดังกล่าวที่ได้จากการขาย Call Option หรือ “สิทธิ์ที่จะซื้อ” ได้ทันทีในผลที่อายุของ Call Option สิ้นสุดลง ดังนั้น ในกระบวนการการสร้างกระแสเงินสดจากการลงทุนของกลยุทธ์ Covered Call นั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนแปลงของวัฏจักรเศรษฐกิจ หรือวัฏจักรอัตราดอกเบี้ยเลย จึงส่งผลให้กลยุทธ์นี้เป็นที่นิยมในกลุ่มนักลงทุนที่แสวงหากระแสเงินสดจากการลงทุนที่มีความสม่ำเสมอ

 

แม้กลยุทธ์ Covered Call จะดูน่าสนใจ แต่กระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากการขาย “สิทธิ์ที่จะซื้อ” นั้นต้องแลกมากับผลตอบแทนที่ด้อยกว่าการลงทุนในหุ้น หรือดัชนีนั้น ๆ ที่เป็นสินทรัพย์อ้างอิงเพียงอย่างเดียว หากราคาของสินทรัพย์อ้างอิงปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เปรียบเสมือนการดึงกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอเข้ามาเป็นการนำกำไรใรอนาคตมารับรู้ในปัจจุบันนั่นเอง

 

2 จุดเด่นหลักของกลยุทธ์ Covered Call สำหรับช่วงเกษียณ

 

  1. กระแสเงินสดจากการลงทุน (Income Generation): ผลิตภัณฑ์การลงทุนที่มีกลยุทธ์ Covered Call สามารถที่จะออกแบบการจ่ายกระแสเงินสดได้ในระดับความถี่ที่เป็นรายเดือน (Monthly Payment) เลยทีเดียว โดยในปัจจุบันนักลงทุนสามารถที่จะลงทุนในกลยุทธ์ดังกล่าวผ่านกองทุนรวมได้ด้วยเช่นกัน
  2. บรรเทาผลกระทบขาลง (Partial Downside Protection): มูลค่าของ Call Option ที่ได้รับจากการขายตามกลยุทธ์ Covered Call เป็นการสร้างเบาะรองรับแรงกระแทกต่อผลตอบแทนรวมจากการลงทุน (การเปลี่ยนแปลงของราคา และกระแสเงินสดรับ) หากราคาของหุ้น หรือดัชนีหุ้นปรับลดลง ซึ่งเป็นความสามารถในการรักษาเงินต้น (Capital Preservation) ที่เหมาะกับนักลงทุนที่มีความกังวลต่อความผันผวน หรือนักลงทุนที่เกษียณอายุที่เปราะบางต่อการสูญเสียเงินต้นในการลงทุน

 

กลยุทธ์นี้มีอะไรที่ต้องระวัง

 

  1. กลยุทธ์ Covered Call ไม่มีความสามารถในการคุ้มครองเงินต้น (Principal Protection) มีเพียงความสามารถในรักษาเงินต้น (Capital Preservation) ถ้าหากระดับราคาของหุ้นหรือดัชนีหุ้นในพอร์ทการลงทุนปรับตัวลงอย่างรุนแรงจะยังคงได้รับผลกระทบเชิงลบอยู่เช่นกัน แม้จะน้อยกว่าการลงทุนในหุ้นหรือดัชนีหุ้นเพียงอย่างเดียว
  2. ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) เนื่องจากการข้อแลกเปลี่ยนของกลยุทธ์ Covered Call ในการสร้างกระแสเงินสด และบรรเทากระทบขาลง นั้นคือการสูญเสียความสามารถในการสร้างผลตอบแทนเทียบกับการลงทุนในหุ้นหรือดัชนีหุ้นเพียงอย่างเดียว หากระดับราคาของหุ้นหรือดัชนีหุ้นปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว

 

กองทุน MUSPIN-AR มีนโยบายการลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน JPMorgan ETFs (Ireland) ICAV - US Equity Premium Income Active UCITS ETF เพียงกองทุนเดียว ที่มีนโยบายลงทุนในตราสารทุนประเทศสหรัฐอเมริกา รวมถึงการขายสิทธิในการซื้อตราสารทุน (Equity Call Options) และสิทธิในการซื้อดัชนีที่อ้างอิงกับตราสารทุน (Equity Index Call Options)

 

กองทุนนี้มีให้เลือกทั้งกองทุนที่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และกองทุนที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสามารถใช้เกณฑ์พิจารณาเบื้องต้น ดังนี้

 

  1. รับความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนได้หรือไม่ เช่น ในกรณีที่ความผันผวนเร่งตัวอย่างมีนัยยะสำคัญกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนสามารถแกว่งตัวได้มาก 15% ถึง -15% ในหนึ่งปี แม้ว่าบนค่าเฉลี่ยจะแกว่งตัวราว 5% ถึง -5% โดยประมาณในแต่ละปี หากรับความเสี่ยงในข้อที่ 1. นี้ไม่ได้ นักลงทุนอาจจะเหมาะกับกองทุนที่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
  2. ระยะเวลาการลงทุน หากรับความเสี่ยงในข้อที่ 1. ได้ และมีแนวโน้มที่จะลงทุนที่ระยะเวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป อาจจะเหมาะกับการลงทุนในกองทุนที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากไม่มีต้นทุนการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนส่งผลให้ผลตอบแทนในระยะยาวมีแนวโน้มจะดีกว่าโดยเปรียบเทียบ แต่ถ้าหากเป็นการทดลองลงทุนเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของกองทุนหลักในระยะสั้น อาจเริ่มจากการลงทุนในกองทุนที่ป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนก่อนก็ได้เช่นกัน เพื่อที่จะได้เห็นผลตอบแทนของกองทุนหลักได้อย่างชัดเจน

 

นักลงทุนสามารถดาวน์โหลดหนังสือชี้ชวนกองทุนรวมทั้ง 2 Class ได้ที่

 

1. MUSPIN-H-AR กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ยูเอส อิควิตี้ พรีเมี่ยม อินคัม Hedged ชนิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (ระดับความเสี่ยง 6)

 

 

2. MUSPIN-UH-AR กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ยูเอส อิควิตี้ พรีเมี่ยม อินคัม Unhedged ชนิดรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติ (ระดับความเสี่ยง 6)

 

 

 

นักลงทุนที่สนใจสามารถติดต่อเพื่อขอคำแนะนำการลงทุน หรือ ขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่

  • ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา
  • CIMB THAI Care Center โทร. 02 626 7777
  • LINE  Wealth & Preferred 

 

คำเตือน:

  • ผลการดำเนินงานในอดีต/การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
  • ข้อมูลนี้จัดทำโดยอาศัยที่มาจากแหล่งข้อมูลสาธารณะซึ่งปรากฎขณะจัดทำ ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไปแต่ละขณะ ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน

 

จัดทำข้อมูลโดย

  • คุณจิรไพบูลย์ รัตนภาณุรักษ์ (IP, FM, IA) ผู้อำนวยการที่ปรึกษาทางการเงิน Investment Strategist ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)