ราคาทองโซน 3,000 เหรียญต่อออนซ์
กลยุทธ์การลงทุนและปัจจัยหนุน
ปัจจัยส่งผลกระทบราคาทองคำ
ความไม่แน่นอนที่เพิ่มสูงขึ้นจากประเด็นด้านภาษีการค้าจากสหรัฐฯ สร้างความผันผวนอย่างรุนแรงต่อสภาวะการลงทุน โดยสินทรัพย์เสี่ยงต่าง ๆ เผชิญแรงเทขายรุนแรงตั้งแต่ต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา ในทางตรงกันข้ามสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe Haven Asset) อย่างเช่น ทองคำกลับปรับตัวสูงขึ้นแตะระดับสูงสดเป็นประวัติการณ์
การลงทุนในทองคำมีคุณลักษณะที่ช่วยกระจายความเสี่ยงต่อพอร์ทการลงทุนรวมได้ดี โดยเฉพาะในภาวะที่นักลงทุนมีความกังวลต่อความไม่แน่นอน รวมถึงความกังวลต่อแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ
ปัจจัยหนุนราคาทองคำ
- สงครามการค้าและนโยบายภาษีของสหรัฐฯ: หัวใจหลักที่สร้างความผันผวนและความไม่แน่นอนต่อภาวะการลงทุนและการเติบโของเศรษฐกิจ ส่งผลให้นักลงทุนเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินทรัพย์ปลอดภัย
- การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย: แนวโน้มการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางทั่วโลก ผ่านการปรับลดอัตราดอกเบี้ย สะท้อนต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) ของทองคำที่มีแนวโน้มลดลง
- การสะสมทองคำของธนาคารกลาง: แนวโน้มการเพิ่มสัดส่วนการถือครองทองคำในเงินทุนสำรองระหว่าประเทศของธนาคารกลางทั่วโลก สร้างอุปสงค์ (Demand) ที่ช่วยหนุนระดับราคาทองคำ
3 ทางเลือกการลงทุนในทองคำ
1. ลงทุนในทองคำโดยตรง
การลงทุนในทองคำเหมาะสำหรับนักลงทุนที่มีเงินลงทุนจำนวนมากและต้องการทองคำที่จับต้องได้ เช่น ทองคำแท่งหรือทองรูปพรรณ (เครื่องประดับ) แต่ต้องคำนึงถึงการเก็บรักษาทองคำเพื่อป้องกันการสูญหาย สำหรับทองคำแท่งสามารถขายคืนได้ตามน้ำหนักทองคำจริง ๆ แต่ทองรูปพรรณมีราคาซื้อคืนที่ต่ำกว่า เพราะมีค่ากำเหน็จที่ต้องจ่ายในขั้นตอนการซื้อและผลิต
2. ลงทุนผ่านกองทุนรวมทองคำ
กองทุนรวมทองคำในไทยส่วนมากจะลงทุนในกองทุนหรือ ETF ทองคำต่างประเทศ เช่น SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุนทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก วิธีนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องทยอยสะสมทองคำโดยไม่ต้องการเก็บทองคำจริง ๆ และมีเงินลงทุนไม่มาก
กองทุนเปิดไทยพาณิชย์โกลด์ THB เฮดจ์ (ชนิดสะสมมูลค่า) หรือ SCBGOLDH เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในทองคำ กองทุนนี้มีนโยบายสร้างผลตอบแทนตามความเคลื่อนไหวของราคาทองคำแท่ง โดยลงทุนในหน่วยลงทุนของ SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุน ETF ทองคำต่างประเทศที่มีความน่าเชื่อถือ กองทุนอาจใช้สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Derivatives) เพื่อบริหารการลงทุนและความเสี่ยง รวมถึงป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างสกุลเงินต่างประเทศและเงินบาท โดยจะลงทุนในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าทรัพย์สิน กองทุนมีระดับความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 8 ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงมาก จึงเหมาะสำหรับนักลงทุนที่สามารถรับความเสี่ยงได้และมองหาผลตอบแทนจากการเคลื่อนไหวของราคาทองคำในตลาดโลก
3. หุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง (Structured Debentures)ที่อ้างอิงกับ SPDR Gold Shares ETF (GLD)
Maxi EQ SPDR Gold Shares เป็นหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝงที่อ้างอิงกับการเปลี่ยนแปลงของราคาหลักทรัพย์ SPDR Gold Shares ETF (GLD ETF) พร้อมกับการคุ้มครองเงินต้น 100% และมีอายุตราสารที่ 2 ปี ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในกรณีที่การเคลื่อนไหวของราคาไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง โดยมีโอกาสรับผลตอบแทนสูงขึ้น หากราคาหลักทรัพย์อ้างอิงปรับตัวขึ้นหรือลงไม่เกินกรอบที่กำหนดไว้ (Knock-out Price) นับจากราคาปิดของหลักทรัพย์อ้างอิง ณ วันออกหุ้นกู้ที่มีอนุพันธ์แฝง นอกจากนี้ ยังมีการคุ้มครองเงินต้น 100% โดย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือที่ AA- โดย ฟิทช์ เรทติ้ง ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2567 ทำให้นักลงทุนมั่นใจได้ในความปลอดภัยของเงินลงทุน ซึ่งนักลงทุนสามารถใช้ Maxi EQ SPDR Gold Shares : Bullish เพื่อเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในทองคำ พร้อมเงื่อนไขคุ้มครองเงินต้นได้ หรือจะใช้ Maxi EQ SPDR Gold Shares : Bearish เพื่อลดความเสี่ยงของสถานะการลงทุน (Hedge) ทองคำที่มีอยู่ได้ หากราคาทองคำปรับตัวลง
กลยุทธ์การลงทุน
แนะนำเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในทองคำเพื่อเป็นเครื่องมือในการช่วยกระจายความเสี่ยง และป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวน (Volatility Hedge) ต่อผลตอบแทนรวมของพอร์ทการลงทุน จากแนวโน้มความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นต่อเนื่องตลอดช่วง 1 – 2 ไตรมาสข้างหน้า
การเลือกลงทุนผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับทองคำ ตามมุมมองของผู้ลงทุน
หากมองราคาทองคำมีแนวโน้มขาขึ้น (Bullish)
- ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง/ปรับตัวขึ้นแรง (Strong Bullish) -> เน้นลงทุนในกองทุนทองคำ หรือ ซื้อทองคำโดยตรง
- ปรับตัวขึ้นจำกัด/แกว่งตัวขึ้นในกรอบ -> ลงทุนใน MAXI EQ SPDR Gold Shares (Bullish)
หากมองราคาทองคำมีแนวโน้มขาลง (Bearish)
- ปรับตัวลงต่อเนื่อง/ปรับตัวลงแรง -> ขายเพื่อทำกำไร
- ปรับย่อตัวจำกัด/แกว่งตัวลงในกรอบ -> ลงทุนใน MAXI EQ SPDR Gold Shares (Bearish)