การปรับลดจำนวนพนักงานภาครัฐของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ ซึ่งรวมทั้งแผนที่ประกาศไว้และที่ดำเนินการไปแล้ว ขณะนี้มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 216,000 ตำแหน่ง และยังมีพนักงานอีก 75,000 คนที่ยอมรับข้อเสนอให้ออกจากงานโดยสมัครใจ (Voluntary buyout) ซึ่งจะส่งผลให้มีแรงงานเข้าสู่ตลาดแรงงานที่อยู่ในภาวะสมดุลที่เปราะบางอยู่แล้ว ปัจจุบัน รัฐบาลกลางสหรัฐฯ (ไม่รวมบริการไปรษณีย์) มีพนักงานประมาณ 2.4 ล้านคน คิดเป็น 1.9% ของแรงงานภาคพลเรือนทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งหากดำเนินการตามแผนทั้งหมด การปรับลดครั้งนี้อาจกลายเป็นการปลดพนักงานครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐฯ ล่าสุด ผู้พิพากษาซูซาน อิลสตัน ได้ออกคำสั่งเบื้องต้น ให้ระงับการลดจำนวนพนักงานภาครัฐเพิ่มเติมชั่วคราว โดยรัฐบาลของประธานาธิบดีทรัมป์ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคำตัดสินดังกล่าวแล้ว
ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทรุดตัวลง ท่ามกลางความกังวลที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับอัตราการว่างงานและความคาดหวังเงินเฟ้อ ขณะที่นโยบายภาษีนำเข้ายังคงผันผวนอย่างต่อเนื่อง มาตรการผ่อนปรนภาษีนำเข้าชั่วคราวแบบต่างตอบแทน (Reciprocal tariff reprieve) เป็นเวลา 90 วัน ซึ่งมอบให้แก่ทุกประเทศ และจะหมดอายุในวันที่ 8 กรกฎาคมนี้ ไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดได้อย่างเพียงพอ เนื่องจากยังคงมีการจัดเก็บภาษีนำเข้าหลัก เช่น ภาษี 25% สำหรับรถยนต์และเหล็ก และภาษี 10% สำหรับสินค้าทั่วไป แม้สหรัฐฯ จะปรับลดภาษีนำเข้าจากจีนลงเหลือ 30% แล้วจากเดิมที่สูงถึง 145%
ในการประชุมล่าสุด ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ได้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเป็นครั้งที่แปดติดต่อกัน โดยปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bps ครอบคลุมอัตราดอกเบี้ยหลักทั้งสามประเภท ก่อนหน้านี้ ECB ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในปีงบประมาณ 2025 (CY25) ลงเหลือ 0.9% และคาดว่า GDP ในปี 2026 จะเติบโตช้าลงที่ 1.1% ทั้งนี้ ECB ได้ยุติการนำเงินต้นที่ได้จากหลักทรัพย์ครบกำหนด กลับมาลงทุนใหม่ภายใต้โปรแกรมซื้อสินทรัพย์ (APP) และโปรแกรมจัดซื้อฉุกเฉินช่วงโรคระบาดใหญ่ (PEPP) ECB กำลังเร่งเดินหน้านโยบายการเงินผ่อนคลายเชิงรุกเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างจำกัด ท่ามกลางแรงกดดันจากอุปสงค์ภายนอกที่อ่อนแอ
ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) แอนดรูว์ เบลีย์ ได้ส่งสัญญาณการผ่อนคลายนโยบายการเงินอย่างเร่งด่วน และได้ดำเนินการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง 25 bpsในเดือนกุมภาพันธ์และพฤษภาคม ทำให้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 4.25% BOE ได้ปรับลดคาดการณ์การเติบโตของ GDP ในปี 2025 ลงครึ่งหนึ่ง จากเดิม 1.5% เหลือเพียง 0.75% และคาดว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 1 ครั้งในปี 2025 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (Headline CPI) และเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) ปรับตัวสูงขึ้น 3.4% และ 3.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนในเดือนพฤษภาคม โดยได้รับแรงหนุนจากราคาบริการ BOE คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อจะเคลื่อนไปสู่ระดับเป้าหมายที่ 2% ในระยะยาว
หลังจากธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในที่ประชุมเดือนธันวาคม ล่าสุด BOJ ลงมติ 8 ต่อ 1 เพื่อปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 25 bps เป็น 0.5% ในเดือนมกราคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 17 ปี เงินเฟ้อยังคงทรงตัวเหนือเป้าหมายของ BOJ ที่ 2% อย่างต่อเนื่อง ตลาดคาดการณ์ว่าการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปี 2025 อาจสูงสุดถึง 50 bps เนื่องจากราคาสินค้าอาหารที่พุ่งสูงอาจกดดันให้เงินเฟ้อเกินเป้า อย่างไรก็ตาม BOJ ยังมีทางเลือกในการชะลอความเร็วการปรับขึ้นดอกเบี้ย หากมาตรการภาษีการค้าาก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการเติบโตและแนวโน้มเงินเฟ้อในระยะสั้น ขณะที่เศรษฐกิจจีนปี 2024 ด้วยการเติบโตแข็งแกร่งกว่าคาด โดย GDP ไตรมาส 4 ปี 2024 ขยายตัว 5.4% เมื่อเทียบปีต่อปี และมีการเติบโตที่ดีกว่าคาดในไตรมาส 1 ปี 2025 ที่ 5.4%
GDP อินเดียในปี 2024 เติบโตลดลงเหลือ 6.5% เนื่องจากการหดตัวของงบประมาณภาครัฐ หลังจากที่เติบโตอย่างแข็งแกร่งถึง 8.2% ในปี 2023 ดัชนีหุ้นหลักของอินเดียยังคงต่ำกว่าจุดสูงสุดตลอดกาลประมาณ 4% โดยความกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของรายได้และการบริโภค ทำให้นักลงทุนต่างชาติกลายเป็นผู้ขายสุทธิเพื่อเก็บกำไร อย่างไรก็ตาม การปรับลดอัตราดอกเบี้ยรวม 100 bps จากธนาคารกลางอินเดีย (RBI) ใน 3 การประชุมติดต่อกัน รวมถึงการคาดการณ์ว่าจะมีการเพิ่มงบประมาณภาครัฐและมาตรการลดภาษีในปีงบประมาณถัดไป ได้กระตุ้นความเชื่อมั่นและความหวังในเศรษฐกิจอินเดีย
คลิก เพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม