คุณอยู่ที่

  • ทำไมต้อง CIMB Preferred
  • บริการเพื่อความมั่งคั่ง
  • บทความ
  • วิธีการเข้าร่วมเป็น CIMB Preferred
  • บริการช่วยเหลือสำหรับคุณ
  • ลิงค์ด่วน
CIMB Rewards Program
โปรโมชั่นและสิทธิพิเศษสำหรับคุณโดยเฉพาะ
กิจกรรมและสัมมนา
ค้นหาระดับความเสี่ยงในการลงทุนของคุณ
บริการทางการเงินและการลงทุน
2025 Outlook
มุมมองการลงทุนประจำเดือน
กองทุนแนะนำ
กองทุนรวม (Mutual Fund)
มุมมองเศรษฐกิจและการลงทุนรายไตรมาส
Lifestyle
Structured Debenture
วางแผนทางการเงิน
Weekly Wealth Insights

S&P 500 (Standard & Poor's 500 Index)

 

ดัชนีที่สะท้อนภาพรวมของตลาดหุ้นสหรัฐ ฯ โดยรวมบริษัทขนาดใหญ่ 500 บริษัท ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ NYSE และ Nasdaq
 

ลักษณะเด่น 

 

  • ครอบคลุมหลายอุตสาหกรรม เช่น เทคโนโลยี การเงิน พลังงาน สาธารณูปโภค
  • ใช้น้ำหนักตามมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (market cap weighted)
  • ถือเป็นตัวแทนของเศรษฐกิจสหรัฐ ฯ ในภาพรวม
  • ความผันผวนน้อยกว่า กระจายดี มี Defensive Stock 

  • เหมาะกับผู้ที่ต้องการการกระจายความเสี่ยงในหุ้นสหรัฐ ฯ แบบสมดุล
     

ตัวอย่างบริษัทที่อยู่ในดัชนี S&P 500

 

  • Microsoft - ผู้นำซอฟต์แวร์และคลาวด์ บริการ Windows, Office, Azure และ AI

  • Apple - บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ ผู้ผลิต iPhone, Mac, iPad และบริการดิจิทัลครบวงจร

  • Nvidia - เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่เชี่ยวชาญผลิตชิปกราฟิกและเทคโนโลยี AI ใช้ในเกม ศูนย์ข้อมูล และยานยนต์

  • Berkshire Hathaway - บริษัทโฮลดิ้งของ Warren Buffett ลงทุนในธุรกิจหลากหลาย เช่น ประกันภัย พลังงาน และสินค้าอุปโภคบริโภค

  • PepsiCo - บริษัทอาหารและเครื่องดื่มที่ผลิตสินค้าแบรนด์ดัง เช่น Pepsi, Lay’s

  • Johnson & Johnson - บริษัทด้านสุขภาพและเวชภัณฑ์ระดับโลก 

  • Exxon Mobil - หนึ่งในบริษัทพลังงานและน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก

 

 

Nasdaq Composite

 

ดัชนีที่รวมหุ้นทั้งหมดที่ซื้อขายในตลาด Nasdaq (มีมากกว่า 3,000 บริษัท) ซึ่งเน้นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยี นวัตกรรม และธุรกิจที่เติบโตเร็ว เช่น ซอฟต์แวร์ อินเทอร์เน็ต ไบโอเทค และอีคอมเมิร์ซ

 

ลักษณะเด่น

 

  • เน้นหุ้นเทคโนโลยีเป็นหลัก
  • รวมบริษัทขนาดกลางและเล็กด้วย ไม่จำกัดเฉพาะบริษัทใหญ่
  • มักถูกใช้เป็นตัวชี้วัดความเคลื่อนไหวของหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในสหรัฐอเมริกา
  • มีความผันผวนสูงกว่าดัชนี S&P 500
  • เหมาะกับผู้ที่ต้องการลงทุนในหุ้นเติบโต เทคโนโลยี และนวัตกรรม

 

ตัวอย่างบริษัทที่อยู่ในดัชนี Nasdaq

 

  • Apple - บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำ ผู้ผลิต iPhone, Mac, iPad และบริการดิจิทัลครบวงจร
  • Microsoft - ผู้นำซอฟต์แวร์และคลาวด์ บริการ Windows, Office, Azure และ AI
  • Nvidia - เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่เชี่ยวชาญผลิตชิปกราฟิกและเทคโนโลยี AI ใช้ในเกม ศูนย์ข้อมูล และยานยนต์
  • Meta - เจ้าของ Facebook และ Instagram แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียและนวัตกรรม Metaverse
  • Amazon - ยักษ์ใหญ่ e-commerce และคลาวด์ ให้บริการทั่วโลกผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และ AWS
  • Tesla - ผลิตรถยนต์ไฟฟ้า


_________________________________________________________________________________________________



หุ้นหลายตัวก็อยู่ทั้งในดัชนี S&P 500 และ Nasdaq

 

หลายคนอาจสงสัยว่า หุ้นแต่ละตัวจะอยู่ได้แค่ในดัชนีเดียวหรือไม่ ?

 

ความจริงคือมีหุ้นของบริษัทประมาณ 80–90 แห่งที่อยู่ทั้งในดัชนี S&P 500 และ Nasdaq Composite (จำนวนนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามการปรับองค์ประกอบของดัชนีในแต่ละช่วงเวลา)

 

บริษัทที่ซ้ำกันส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นเทคโนโลยีขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนในตลาด Nasdaq ซึ่งมีมูลค่าตลาดใหญ่จนเข้าเกณฑ์ของ S&P 500 ด้วย

 

ซึ่งแม้ในเชิง ‘จำนวนหุ้น’ ที่ซ้ำกันจะดูมีไม่เยอะมากเมื่อเทียบกับจำนวนหุ้นทั้งหมดใน Nasdaq Composite (ที่มีมากกว่า 3,000 บริษัท) และ S&P500 (ที่มี 500 บริษัท) แต่หากเทียบในเชิง ‘มูลค่า (market-cap)’ แล้ว หุ้นที่ซ้ำกันถือว่ามีน้ำหนักสูงมาก ในทั้งสองดัชนี ส่งผลให้ทั้งสองดัชนีเคลื่อนไหวในทิศทางใกล้เคียงกันอยู่บ่อยครั้ง 

 

 

ตัวอย่าง บริษัทที่อยู่ทั้งในดัชนี S&P 500 และ Nasdaq Composite ได้แก่  Apple, Microsoft, Amazon , Meta Platforms, Alphabet, Nvidia และ Tesla 
 

ดังนั้นแล้ว การลงทุนทั้งใน S&P500 และ NASDAQ อาจจะไม่ได้กระจายความเสี่ยงอย่างที่คิดเพราะอย่างที่เล่าไปก่อนหน้า หุ้นกลุ่ม Big Tech อย่าง Apple, Microsoft, Amazon, Meta, Alphabet มีน้ำหนักมากทั้งใน S&P 500 และ NASDAQ จึงทำให้พอร์ตของเรายังถือว่า "กระจุกตัว" อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยีสหรัฐฯ  ถ้าเกิดแรงเทขายในกลุ่มนี้หรือเศรษฐกิจสหรัฐฯชะลอตัว พอร์ตการลงทุนของเราก็ยังมีความเสี่ยงสูงอยู่ดี
 

นักลงทุนอาจพิจารณากองทุนที่เน้นตลาดอื่น ๆ  ร่วมด้วย เช่น Europe, Asia, Emerging Markets หรือเลือกสินทรัพย์อื่นเช่น ตราสารหนี้, REITs, ทองคำ และใช้กลยุทธ์ Asset Allocation ที่เหมาะสมกับเป้าหมายและความเสี่ยงที่รับได้

 

 

รู้หรือไม่❗️กองทุน Passive ที่เกี่ยวกับ NASDAQ ในไทย ส่วนใหญ่จะอ้างอิง NASDAQ-100 ไม่ใช่ NASDAQ Composite 
 

NASDAQ-100 คือดัชนีที่รวมหุ้น 100 บริษัทนอกภาคการเงิน ที่มีขนาดใหญ่และซื้อขายในตลาด Nasdaq ส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทเทคโนโลยี เช่น Apple, Microsoft, Nvidia, Meta ฯลฯ
 

ต่างจาก NASDAQ Composite ซึ่งมีหุ้นมากกว่า 3,000 ตัว ครอบคลุมทุกอุตสาหกรรมที่จดทะเบียนในตลาด Nasdaq

 

กองทุนน่าสนใจที่มีการลงทุนในหุ้นขนาดใหญ่ในสหรัฐ ฯ
 

1.  กองทุน MUSPIN-H และ MUSPIN-UH  
 

กองทุนเน้นลงทุนหุ้น US เพื่อสร้างรายได้อย่างสม่ำเสมอจากเงินปันผล และ Premium จากการขาย Options เพิ่มโอกาสในการรับผลตอบแทน และมีความผันผวนที่ต่ำกว่าดัชนี S&P500 ผ่านกองทุนหลัก JPM US Equity Premium Income Active UCITS ETF  ตัวอย่างทรัพย์สินที่ลงทุน  ได้แก่ Microsoft Corporation / NVIDIA Corporation / AMAZON.COM INC (United States) / Visa Inc Class A / Mastercard Inc  (กองทุนมีความเสี่ยงระดับ 6)
 

คลิกเพื่อดาวน์โหลดหนังสือชี้ชวน

_________________________________________________________________________________________________
 

2. กองทุน ES-NDQPIN-UH และ  ES-NDQPIN
 

กองทุนลงทุนในกองทุนหลักชื่อ JPMorgan ETFs (Ireland) ICAV – Nasdaq Equity Premium Income Active UCITS ETF  โอกาสในการสร้างการเติบโตไปพร้อมกับบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ด้วยความผันผวนที่ต่ำกว่าดัชนี Nasdaq-100 โอกาสรับกระแสเงินสดสูงจากหุ้น กลุ่มคุณภาพดีและสัญญาออปชั่นที่มีการขาย  ตัวอย่างสินทรัพย์ที่ลงทุนได้แก่ NVIDIA Corporation / Microsoft Corporation / Apple Inc / Amazon.com Inc / Broadcom Inc  (กองทุนมีความเสี่ยงระดับ 6)  
 

คลิกเพื่อดาวน์โหลดหนังสือชี้ชวน 
_________________________________________________________________________________________________


 

นักลงทุนที่สนใจสามารถติดต่อเพื่อขอคำแนะนำการลงทุน หรือ ขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่
 

  • ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ทุกสาขา

  • CIMB THAI Care Center โทร. 02 626 7777

คำเตือน: ผลการดำเนินงานในอดีต/การเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต ผู้ลงทุนโปรดทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน ความเสี่ยงและขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนตัดสินใจลงทุน
 

ตรวจสอบและแนะนำการลงทุนโดย คุณจิรไพบูลย์ รัตนภาณุรักษ์ (IP, FM, IA) ผู้อำนวยการที่ปรึกษาทางการเงิน Investment Strategist ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)